ชา ประสาทสัมผัส ระบบประสาท สมอง อาการ

อาการ ชา อย่าปล่อยเฉย

Home / สุขภาพทั่วไป / อาการ ชา อย่าปล่อยเฉย

อาการ “ชา” คงเป็นอาการหนึ่งที่หลายคนนั้นอาจเคยประสบอยู่ มีคนจำนวนไม่น้อยที่คิดว่าคงเป็นอาการทั่วไปไม่ได้หนักหนาสาหัส จึงละเลยไม่ใส่ใจที่จะไปตรวจหาข้อเท็จจริง ซึ่งอาการชาเป็นอาการสำคัญที่เป็นสัญญาณของการผิดปกติของร่างกาย ควรรีบเข้ารับการรักษา ก่อนที่จะมีอาการแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมา

อาการ ชา ตรงไหนที่น่าห่วง

อาการชา (Numbness) คือ อาการที่เนื้อเยื่อรับความรู้สึกต่างๆ ได้ลดลงโดยเฉพาะอาการ เจ็บและการสัมผัส อาการชาเกิดได้กับเนื้อเยื่อทั่วร่างกาย แต่มักเกิดกับนิ้วมือ นิ้วเท้า มือ เท้า แขน

อาการชา เกิดจากมีการบาดเจ็บของเส้นประสาท ไขสันหลัง และ/หรือสมอง ในส่วนที่รับ รู้ความรู้สึกนั้นๆ ซึ่งมีสาเหตุได้หลายสาเหตุที่พบบ่อยเช่น

  • ปลายประสาทอักเสบ/โรคเส้นประสาท (เช่น ในโรคเบาหวาน)
  • การถูกกดทับของเส้นประสาท
  • โรคปวดหลังจากหมอนรองกระดูก
  • โรคหลอดเลือดสมอง
  • โรคหลอดเลือดแดงแข็ง
  • ภาวะร่างกายเสียสมดุลของเกลือแร่
  • ร่างกายขาดวิตามินบางชนิดโดยเฉพาะวิตามิน บี 2
  • ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน
  • ดื่มสุราเรื้อรัง
  • ติดบุหรี่
  • การได้รับสารพิษต่างๆเช่น แพ้อาหาร การแพ้ยาบางชนิด
  • แมลงบางชนิดกัด/ต่อย
  • การได้รับโลหะหนักในปริมาณสูงจากอาหารและน้ำดื่มเช่น ตะกั่ว

เมื่อเกิดอาการ “ชา” แขน ขา และ/หรือใบหน้า ร่วมกับมีกล้ามเนื้อในส่วนนั้นๆอ่อนแรงควร รีบไปโรงพยาบาลให้ด่วนที่สุด เพราะเป็นสัญญาณร้ายที่บ่งบอกว่าเป็นอาการของโรคหลอดเลือดสมอง อาจส่งผลให้เกิดการเป็นโรคอัมพฤกษ์อัมพาตได้

แนวทางการรักษาและป้องกัน

  1. กำจัดจากสาเหตุ เช่น
  • หากเกิดจากเส้นประสาทถูกกดทับควรลดหรือเลี่ยงพฤติกรรมที่ทำให้เกิดการกดทับเส้นประสาทเป็นเวลานาน โดยพยายามไม่อยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนานจนเกินไป
  • ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานควรรักษาระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติอย่าปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงต่อเนื่องนานๆ
  1. การรักษาด้วยยา

นอกจากจะต้องรับประทานยาสำหรับโรคประจำตัวของผู้ป่วยแต่ละรายแล้ว อาจมีการใช้ยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์, ยาแก้ปวดในกรณีที่มีอาการปวด และควรรับประทานวิตามิน เช่น มีโคบาลามินในขนาดสำหรับการรักษาเพื่อส่งเสริมในกระบวนการซ่อมแซมเส้นประสาทบรรเทาอาการชาและอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้น

  1. การผ่าตัด ในกรณีที่มีอาการรุนแรง
  2. การทำกายภาพบำบัด เพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพของกล้ามเนื้อและเส้นประสาท

ซึ่งเมื่อเราทราบแบบนี้แล้วเราต้องรู้จักดูแลตนเอง สังเกตอาการของโรค ลดพฤติกรรมที่เป็นปัจจัยเสี่ยงของโรค เพื่อที่จะได้ป้องกันและเข้ารับการรักษาได้อย่างทันท่วงที

ขอบคุณข้อมูลจาก haamor.com , www.anyapedia.com , www.thairath.co.th , https://www.facebook.com/qvitzvitamin