Dyslexia ความบกพร่องด้านการอ่าน วิธีการรักษา โรคดิสเล็กเซีย

รู้จักกับโรค Dyslexia โรคความบกพร่องในการอ่าน อ่านหนังสือไม่ได้

Home / สุขภาพทั่วไป / รู้จักกับโรค Dyslexia โรคความบกพร่องในการอ่าน อ่านหนังสือไม่ได้

เพื่อนๆ หลายคนอาจจะเคยได้ยินชื่อโรคดิสเล็กเซีย (Dyslexia) กันมาบ้างแล้ว ว่ามันคือโรคเกี่ยวกับการอ่านหนังสือไม่ออก เขียนไม่ได้ แต่จริงๆ แล้วไม่ถึงกับอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ แต่เป็นความบกพร่องทางการมองเห็นตัวสะกดต่างๆ ซึ่งคนที่มีอาการของโรคนี้จะสะกดคำไม่ได้ เนื่องจากการมองเห็นตัวอักษรสลับตำแหน่งกันไปมาตลอด

Dyslexia โรคความบกพร่องในการอ่าน อ่านหนังสือไม่ได้

ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว โรคดิสเล็กเซีย (Dyslexia) เป็นความบกพร่องในการอ่าน สะกดคำติดขัด ผสมคำไม่ได้ จัดเป็นความผิดปกติเฉพาะด้านการเรียนรู้ (Learning Disorder) มีสาเหตุจากความผิดปกติของการทำงานที่เซลล์สมองซีกซ้าย

ทั้งนี้จากการวิจัยพบว่า โรคดิสเล็กเซียอาจสามารถถ่ายทอดได้ทางพันธุกรรม เพราะอาการนี้มีความเกี่ยวข้องกับความผิดปกติในโครโมโซมตัวที่ 7 แต่ก็ยังไม่มีผลการยืนยันอย่างแน่ชัด และนอกจากนี้โรคดิสเล็กเซียยังสามารถเชื่อมโยงกับโรคทางพันธุกรรมอื่นๆ ได้อีกด้วย เช่น โรคสมาธิสั้น โรคออทิสติก หรือความบกพร่องทางสติปัญญา ขณะที่สิ่งแวดล้อมภายในบ้านก็อาจทำให้เด็กเกิดความผิดปกติได้อีกด้วย เช่น บ้านที่ไม่มีการส่งเสริมในเรื่องการอ่านหนังสือ หรือผู้ที่มีโอกาสทางการศึกษาน้อย ก็อาจจะมีการพัฒนาของเซลล์สมองที่ไม่ดีเท่าที่ควรและทำให้การเรียนรู้บกพร่องได้

โรคดิสเล็กเซีย (Dyslexia) โรคความบกพร่องในการอ่าน

และนี่ก็เป็น 3 บุคคลอัจฉริยะของโลกที่มีอาการของ Dyslexia ความบกพร่องทางการอ่านเขียน ได้แก่

คนที่ 1 อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein) เติบโตมาพร้อมกับโรคดิสเล็กเซียจนดูโง่ในสายตาครู แต่เขาก็ได้เป็นนักฟิสิกส์อัจฉริยะที่สุดในโลก

คนที่ 2 จอห์น เลนนอน (John Lennon) หนึ่งในสมาชิก The Beatles แม้ว่าเขาจะมีอาการบกพร่องด้านการอ่าน แต่เขากลับเขียนโน้ตดนตรีและเนื้อเพลงได้อย่างไพเราะสวยงาม

คนที่ 3 ปิกัสโซ่ (Pablo Picasso) ศิลปินนักวาดภาพชื่อดัง ถึงแม้ว่าเขาจะสะกดตัวอักษรไม่เป็น อ่านหนังสือแทบไม่ได้ แต่การรับรู้ที่ผิดปกตินี้ก็ทำให้เขาได้สร้างภาพวาดที่มีจินตนาการไม่เหมือนใครออกมาให้เราได้ชื่นชมกัน

แบบจำลองการมองเห็นตัวหนังสือ รูปแบบหนึ่งของคนที่เป็นดิสเล็กเซีย
ตัวอย่างแบบจำลองการมองเห็นตัวหนังสือ รูปแบบหนึ่งของคนที่เป็นดิสเล็กเซีย

โดยในประเทศไทยแบ่งโรค Dyslexia ออกเป็น 3 ด้านดังนี้

1. ความบกพร่องทางด้านการอ่าน (Reading Disorder) เป็นความผิดปกติที่เกิดกับด้านทักษะการอ่าน ผู้ป่วยจะมีความสามารถในการอ่านต่ำกว่าคนอายุเท่าๆ กัน โดยอาการที่เห็นได้ชัดคือ จะไม่สามารถอ่านหนังสือได้อย่างคล่องแคล่วเช่นเดียวกับคนทั่วไป หรืออาจจะสามารถอ่านได้แต่ไม่สามารถจับใจความได้ จึงทำให้ผู้บกพร่องทางด้านนี้มีระดับสติปัญญาที่ต่ำกว่าคนอายุเท่าๆ กันอยู่ประมาณ 2 ระดับชั้นเรียน โดยความบกพร่องนี้จะพบในเด็กมากที่สุด

2. ความบกพร่องทางทักษะการเขียน การสะกดคำ การสร้างคำ หรือการสร้างประโยค (Written expression disorder) ผู้ป่วยกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่มีทักษะในด้านการเขียน การสะกดคำ รวมทั้งการสร้างประโยคที่บกพร่อง โดยจะไม่สามารถสะกดคำได้ถูกต้อง รวมทั้งยังไม่สามารถสร้างประโยคที่มีความหมายเข้าใจได้ หรือเขียนแล้วอ่านไม่รู้เรื่องเป็นต้น โดยอาการนี้สามารถพบร่วมกับความบกพร่องทางด้านการอ่านได้อีกด้วย

3. ความบกพร่องทางด้านทักษะการคำนวณ (Mathematic disorder) ความบกพร่องนี้เป็นความบกพร่องทำให้ผู้ป่วยขาดทักษะในด้านการคำนวณ และทำให้ไม่เข้าใจถึงกระบวนการในการคำนวณต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการบวก ลบ คูณ หรือหาร โดยผู้ป่วยจะไม่เข้าใจว่าการบวกเลขจะต้องทำอย่างไร ลบออกจะต้องหักออกอย่างไร นอกจากนี้ยังอาจมีบางกลุ่มที่มีปัญหาเรื่องการทดเลขและการตีโจทย์ปัญหากล่าวคือ สามารถแก้โจทย์เลขบวกลบได้ตามปกติ แต่หากเป็นโจทย์ปัญหาที่เป็นสถานการณ์สมมติ ผู้ป่วยก็จะไม่เข้าใจว่าจะต้องแก้โจทย์อย่างไรนั่นเอง

วิธีการรักษาโรคดิสเล็กเซีย (Dyslexia) ทำอย่างไรได้บ้าง?

โรคดิสเล็กเซียแม้จะเป็นอาการบกพร่องที่เกิดขึ้นจากความผิดปกติทางพันธุกรรม แต่ก็สามารถรักษาด้วยวิธีทางการแพทย์ได้ คือการบำบัดโดยใช้วิธี Phonological Intervention ซึ่งวิธีนี้ยังไม่เป็นที่แพร่หลายมากสักเท่าไหร่ ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดคือ การปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยและคนรอบข้าง โดยเฉพาะต้องเปลี่ยนทัศนคติไม่ว่าจะผู้ป่วยหรือคนรอบข้างว่าภาวะความบกพร่องนี้ไม่ได้เกิดจากระดับสติปัญญาหรือปัญหาเรื่องความรับผิดชอบ แต่เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม…. ไม่แน่นะเราอาจจะได้อัจฉริยะคนใหม่ของโลกเพิ่มขึ้นมาอีกก็ได้

อ่านบทความน่าสนใจ : Over 96% of Government Websites Hide Disabled Men and Women on Their Site

ข้อมูลจาก : www.creativemove.com , www.disabled-world.com , www.dyslexia.com , geon.github.io

บทความแนะนำ