สมอง

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับมันสมอง 3 ข้อ ดังนี้

Home / สุขภาพทั่วไป / ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับมันสมอง 3 ข้อ ดังนี้

มีความรู้เรื่องสมองมาฝาก

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับมันสมอง 3 ข้อ

1. มันสมองเหนื่อย หรือเพลียกับใครไม่เป็น

คนที่ทำงานใช้ความคิดติดต่อกันนาน ๆ จะรู้สึกมึนงง เพลีย ทำงานช้าลง เข้าใจเอาเองว่า ใช้สมองมาก จนสมองเพลีย จึงต้องหยุดพักสมอง เมื่อได้พักแล้วก็รู้สึกแจ่มใส ทำงานได้ดีขึ้น พวกนักวิทยาศาสตร์ได้ทดลองเรื่องนี้ว่าจริงไม่จริงอย่างไร ก็พบว่า ไม่จริง สมองเพลียกับใครไม่เป็น เพราะสมองไม่เหมือนกล้ามเนื้อ ไม่ทำงานอย่างกล้ามเนื้อ พลังของสมองเกิดจากไฟฟ้าเคมี (Electrochemical) ในสมอง มันจึงไม่เพลีย เช่นเดียวกับเราเปิดไฟห้าสิบแรงเทียน เปิดไว้นานเท่าใดมันก็สว่างอยู่เท่านั้น ถ้ามันจะดับมันก็จะดับไปเลย

อาการที่ใกล้เคียงกับความเพลียของสมอง ก็คือ ความเบื่อ อย่างเช่นเวลาท่องตำรายาก ๆ สักเล่มหนึ่ง พอดึกเข้าสักหน่อยใจหนึ่งอยากอ่านต่อไป อีกใจหนึ่งอยากนอน เช่นนี้ทำให้ท่านหมดความตั้งใจตที่จะอ่าน ดังนี้ พอจะพูดได้ว่าสมองเพลียนั้นหมายความว่า ท่านหย่อนความตั้งใจที่จะทำงาน และไม่สามารถที่จะบังคับความคิดไม่ให้ฟุ้งซ่านไปในทางอื่น

2. กำลังไม่มีที่สิ้นสุด

สมองเป็นส่วนหนึ่งของร่างกาย มีหน้าที่เกี่ยวกับการจดจำการคิด และความรู้สึกต่าง ๆ สมองประกอบด้วยตัวเซลล์ประมาณ 10 พันล้านตัว ถึง 12 พันล้านตัว แตละตัวมีเส้นใยที่เรียกว่า แอกซอน (Axon) และเดนไดรต์ (Dendrite) สำหรับให้กระแสไฟฟ้าเคมี (Electrochemical) แล่นผ่านถึงกันการที่เราจะคิดหรือจดจำสิ่งต่าง ๆ นั้น เกิดจากการเชื่อมต่อของกระแสไฟฟ้าในสมอง คนที่ฉลาดที่สุดก็คือคนที่สามารถใช้กำลังไฟฟ้าได้เต็มที่

3. อัตราส่วนเชาวน์ (ไอคิว “I.Q.”) นั้นที่จริงไม่ใช่ของสำคัญ

นักจิตวิทยา เช่น อัลเฟรดและบิเนต์ มีวิธีการวัดความฉลาดของคน โดยการวัดอัตราส่วนเชาว์ หรือไอคิว แล้วกำหนกว่าคนนั้น ๆ มีไอคิวเท่านั้น ๆ ถ้าใครวัดแล้วได้ไอคิวต่ำกว่าร้อย ก็ออกจะเสียใจสักหน่อย แต่นักจิตวิทยาเขาว่าอย่าไปสนใจกับไอคิวนักเลย เพราะการทดสอบนั้นมันไม่ค่อนแน่นัก อาจทดสอบผิดพลาดได้ง่าย เท่าที่เขาค้นพบนั้นว่าใครมีร่องยู่ยี่หยุกหยิกตอนกลางกระหม่อมมาก ๆ มักจะฉลาดกว่าคนอื่น

แต่คนที่ธรรมชาติไม่ได้สร้างสิ่งพิเศษมาให้ จะไม่มีทางฉลาดกับเขาบ้างหรือ นักวิทยาศาสตร์ตอบว่ามีได้แน่ ๆ คนที่มีไอคิวปานกลางอาจจะเป็นคนฉลาดปราดเปรื่อง มีความรู้ดีได้โดยการหมั่นฝึก ตัวเซลล์ในสมองให้มันทำงาน ไม่ปล่อยให้มันขี้เกียจอยู่เฉย ๆ เขาพบว่าคนที่มีชื่อเสียงมากมายหลายคนมีไอคิวเท่า ๆ กับคนธรรมดา อย่างเช่น จอห์น อาดัมส์, อับราฮัม ลินคอร์น, นโปเลียน, เนลสัน เหล่านี้มีสมองธรรมดา ๆ แต่ว่าเป็นคนมีลักษณะพิเศษ คือ อุตสาหะพากเพียรอย่างไม่หยุดยั้ง คนสมองดี ๆ ถ้าไม่หมั่นใช้ มันก็จะฝ่อได้

ผู้ช่วยศาสตราจารย์รณชัย  คงสกนธ์ : ผู้รวบรวมและเรียบเรียง