ปัสสาวะ ปัสสาวะรดที่นอน

ปัสสาวะรดที่นอน เกิดจากอะไร?

Home / สุขภาพทั่วไป / ปัสสาวะรดที่นอน เกิดจากอะไร?

ในตอนวัยเด็ก หลายๆ คนอาจจะเคย ปัสสาวะรดที่นอน หรือโตมาแล้วก็ยังมีพฤติกรรมแบบนั้นอยู่ จริงๆ แล้วสาเหตุของการ ปัสสาวะรอที่นอน เกิดจากอะไร บ่งบอกถึงสุขภาพของตัวเราในด้านไหนได้บ้าง วันนี้เรามีเกร็ดความรู้มาฝากกันค่ะ

สาเหตุของภาวะ ปัสสาวะรดที่นอน

ภาวะปัสสาวะรดที่นอน หรือ Enuresis หมายถึง ภาวะที่กลั้นปัสสาวะไม่ได้ช่วงกลางคืน ทำให้มีปัสสาวะเร็ดลอดออกมาโดยที่ไม่รู้สกึตัว อาจมีอาการปัสสาวะผิดปกติอย่างอื่นร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้ เช่น อาจจะมีอาการปัสสาวะบ่อย กลั้นไม่ได้ตอนกลางวัน ปัสสาวะลำบากต้องเบ่ง เป็นต้น

ในสหรัฐฯ พบว่ามีเด็กที่ปัสสาวะรดที่นอนมากกว่า 7 ล้านคน พบในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง โดยในเด็กที่อายุ 5 ปี พบภาวะนี้สูงถึง 15% แต่เมื่อเด็กโตขึ้นจะพบภาวะนี้น้อยลง โดยเด็กอายุ 15 ปี จะพบเพียง 1-2% ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเกิดภาวะนี้ที่สำคัญอย่างหนึ่ง คือ พันธุกรรม ถ้าพ่อหรือแม่เพียง 1 คนเคยปัสสาวะรดที่นอนตอนเด็ก พบว่าลูกมีโอกาสปัสสาวะรดที่นอน 43% แต่ถ้าทั้งพ่อและแม่เคยมีปัสสาวะรดที่นอนตอนเด็กมาก่อนทั้งคู่ ลูกจะมีโอกาสพบภาวะนี้สูงถึง 77%

ภาวะปัสสาวะรดที่นอนในเด็กแบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่

1. ภาวะปัสสาวะรดที่นอนแบบปฐมภูมิ (Primary Enuresis) คือมีปัสสาวะรดที่นอนตั้งแต่เล็ก และไม่เคยมีช่วงที่ไม่มีอาการเลย
2. ภาวะปัสสาวะรดที่นอนแบบทุติยภูมิ (Secondary Enuresis) คือ ผู้ป่วยกลับมามีภาวะปัสสาวะรดที่นอนใหม่หลังจากที่เคยหายไปแล้วติดต่อกันนานเกิน 6 เดือน

ต้นเหตุ ปัสสาวะรด

1) กระเพาะปัสสาวะที่ทำงานบีบตัวมากเกินกว่าปกติ เชื่อว่าเกิดจากการที่กระเพาะปัสสาวะในเด็กยังเจริญเติบโตไม่สมบูรณ์ รวมถึงการควบคุมการขับถ่ายที่ยังไม่ดี
2) การผลิตน้ำปัสสาวะของไตที่เพิ่มมากขึ้นกว่าปกติในช่วงเวลากลางคืน มักจะเกิดจากการหลั่งฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองที่ควบคุมปริมาณการสร้างน้ำปัสสาวะผิดปกติไป
3) ความผิดปกติของการนอนหลับ ซึ่งเด็กกลุ่มนี้มักจะหลับลึกมากกว่าปกติ ทำให้ไม่รู้สึกปวดปัสสาวะเมื่อน้ำปัสสาวะเต็มกระเพาะปัสสาวะหรือไม่รู้สึกตัวตื่นเมื่อปัสสาวะรดจนกางเกงเปียก

สำหรับการรักษา การปัสสาวะรดที่นอนนั้น สามารถหายได้เอง  เพียงแต่รอให้ระบบประสาทและระบบปัสสาวะทำงานอย่างสมบูรณ์ จะเริ่มรักษาหลังเด็กอายุ 6 ปี  ส่วนใหญ่จะเลือกใช้ยาก็ต่อเมื่อทำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเต็มที่แล้วแต่อาการยังไม่ดีขึ้น

ขอบคุณสาระความรู้จาก: หนังสือพิมพ์นิวร้อยแปด, www.thaihealth.or.th

ภาพจาก:espanol.babycenter.comcasaquiropractica.com