H1N1 โรคไข้หวัดหมู ไข้หวัดใหญ่

รู้เท่าทัน โรคไข้หวัดหมู | H1N1 | อาการและการป้องกัน

Home / สุขภาพทั่วไป / รู้เท่าทัน โรคไข้หวัดหมู | H1N1 | อาการและการป้องกัน

ตามที่มีการรายงานข่าวว่า ไข้หวัดใหญ่ H1N1 หรือ ไข้หวัดหมู กำลังระบาดในประเทศเพื่อนบ้านอย่างพม่า มีผู้เสียชีวิตแล้วถึว 23 ราย และในประเทศไทยเองก็มีคนที่ข้ามฝั่งเดินทางไปทำธุรกิจที่พม่า กลับมาป่วยไข้ขึ้นสูง และเสียชีวิตในวันเดียว วันนี้แคมปัส-สตาร์ ขอนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับเรื่อง โรคไข้หวัดหมู ให้ทุกคนได้ทรา่บถึงวิธีป้องกัน เพื่อที่จะได้ลดความเสี่ยงในการเสียชีวิตค่ะ

รู้จัก! ไข้หวัดใหญ่ H1N1 หรือ โรคไข้หวัดหมู

ไข้หวัดหมูเกิดขึ้นได้อย่างไร?

“โรคไข้หวัดหมู” หรือ Swine influenza เป็นไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ ตามปกติมีการระบาดในหมูเท่านั้น สามารถพบได้ทั้งในหมูเลี้ยง และหมูป่า ซึ่งมีหลากหลายสายพันธุ์ ทั้ง H1N1, H1N2 และ H3N2

อนึ่ง ไข้หวัดใหญ่ทั้งในหมู ในนก และในคน สามารถติดต่อกันได้ และสามารถเปลี่ยน แปลงสายพันธุ์ผสมกันได้ เช่น ที่เคยมีไข้หวัดนกระบาดในหมู ในจีน และในเวียดนาม โดยเป็นไข้หวัดนกสายพันธุ์ H3N2 และต่อมาพบว่ามีหมูติดเชื้อไวรัสไข้หวัดนกสายพันธุ์ H5N1 ในจีน และในอินโดนีเซีย ล่าสุดพบผู้ติดโรคในประเทศพม่า มีผู้เสียชีวิตจากเชื้อไวรัส H1N1 แล้ว 23 ราย หลังจากพบการระบาดใน 10 ภูมิภาคจาก 15 ภูมิภาคทั่วประเทศ ตั้งแต่เมื่อ 21 ก.ค.ที่ผ่านมา ขณะที่มีผู้ป่วย ขณะที่มีผู้ป่วยมีอาการติดเชื้อเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลอยู่ที่ 535 ราย ในจำนวนนี้ยืนยันการติดเชื้อ 204 ราย

ไข้หวัดหมูในคน

ไข้หวัดหมูในหมูจะติดต่อสู่คนได้มักต้องเป็นคนที่ใกล้ชิด คลุกคลีกับหมู และมีโอกาสสัมผัสน้ำมูกน้ำลาย และละอองการไอ จามของหมู ซึ่ง คือ คนเลี้ยงหมูนั่นเอง นอกจากนั้นผู้ที่มีโอกาสติดไข้หวัดหมูจากหมูรองลงมา คือ สัตวแพทย์ที่ดูแลหมู ซึ่งเมื่อติดไข้ หวัดหมูจากหมูแล้ว คนๆ นั้นก็แพร่กระจายเชื้อไวรัสไข้หวัดหมูสู่คนอื่นๆ ด้วยวิธีการเดียวกับการแพร่กระจายติดต่อของไข้หวัดใหญ่ที่เรารู้จักกันดี ซึ่งคือไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล และถ้าเกิดเป็นสายพันธุ์ที่รุนแรง ก็อาจก่อให้เกิดการระบาดของไข้หวัดหมูไปในสถานที่ต่างๆได้ ทั้งนี้การติดต่อระบาดจากคนสู่คน คือ การสัมผัสน้ำมูกน้ำลาย การคลุกคลี และการสัมผัสไวรัสในละอองอากาศจากการไอ จาม หัวเราะ ของคนเป็นโรคนี้

อาการไข้หวัดหมูในคน

มักเกิดภายใน 18-72 ชั่วโมงหลังสัมผัสเชื้อ (ระยะฟักตัวของโรค) และไวรัสจะแพร่ติดต่อได้ตั้งแต่ร่างกายติดโรค โดยทั่วไปประมาณ 1 วันก่อนเกิดอาการไปจนอาการต่างๆ หายไป (โดยทั่วไปประมาณ 5-7 วันหลังมีอาการ) ซึ่งอาการไข้หวัดหมูในคน จะเหมือนกับอาการจากไข้หวัดใหญ่ทั่วไป ได้แก่ มีไข้ อาจเป็นไข้สูง ไข้ต่ำ หรือบางคนอาจไม่มีไข้ ไอ (ไม่มาก) คัดจมูก มีน้ำมูกใสๆ เจ็บคอ ปวดเมื่อยตัว ปวดศีรษะ รู้สึกหนาวสั่น อ่อนเพลีย บางรายอ่อนเพลียมาก ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน ซึ่งทั้ง 3 อาการหลังพบได้ในไข้ หวัดหมูบ่อยกว่าในไข้หวัดธรรมดา

การป้องกันโรคไข้หวัดหมู

  • รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน (สุขบัญญัติแห่งชาติ)
  • ล้างมือด้วยสบู่และน้ำสะอาดเสมอ เพราะมือจะเป็นตัวสัมผัสเชื้อ และเมื่อมือสัมผัส จมูก ปาก และตา เชื้อจะเข้าสู่ร่างกาย ก่อการติดโรค
  • หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัส ปาก จมูก ตา
  • ไม่ใช้ ช้อน ส้อม แก้วน้ำ ร่วมกับผู้อื่น
  • พักผ่อนให้เพียงพอ กินอาหารมีประโยชน์ 5 หมู่ให้ครบถ้วนทุกวัน ในปริมาณเหมาะสมที่ไม่ทำให้เกิดโรคอ้วนและน้ำหนักตัวเกิน กินผักและผลไม้ให้มากๆในทุกมื้ออาหาร
  • หลีกเลี่ยงที่แออัด หรือที่สาธารณะ โดยเฉพาะในช่วงมีการระบาดของโรค
  • ไอ จาม ต้องปิดปาก ปิดจมูก สั่งน้ำมูกโดยใช้ทิชชูเสมอ และทิ้งในถังขยะเสมอ
  • รู้จักใช้หน้ากากอนามัย ซึ่งในหลักการ คนที่ควรใช้หน้ากากอนามัย คือ คนที่ป่วย แต่ในบ้านเรา คนป่วยยังไม่ยอมใช้ ดังนั้นปลอดภัยไว้ก่อน ด้วยการใช้หน้ากากอนามัยในช่วงมีการระบาดของโรค และเราต้องเข้าไปอยู่ในที่แออัด
  • ดูแลสังคมเพื่อป้องกันการระบาดของโรค โดยเมื่อมีไข้ไม่ว่าจากสาเหตุใด ควรอยู่กับบ้าน (ยกเว้นไปหาแพทย์) จนกว่าไข้จะลงปกติแล้วอย่างน้อย 1 วัน และเมื่อมีอาการไอ ควรใช้หน้ากากอนามัยเสมอทั้งเมื่ออยู่ในบ้านและเมื่อออกจากบ้าน
  • รับฟังข่าวสารเสมอเพื่อการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดต่างๆ ตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข

ข้อมูลบางส่วนจาก:www.haamor.com/th, www.thairath.co.th