ดูแลสุขภาพในที่ทำงาน ท่านั่ง ออฟฟิศซินโดรม

ป้องกันอาการ ‘ออฟฟิศซินโดรม’ ได้ง่ายๆ ด้วยการปรับวิธีนั่งทำงาน

Home / สุขภาพทั่วไป / ป้องกันอาการ ‘ออฟฟิศซินโดรม’ ได้ง่ายๆ ด้วยการปรับวิธีนั่งทำงาน

อาการ ‘ออฟฟิศซินโดรม’ เป็นอาการที่เกิดจากการนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ หรือทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยท่าทางซ้ำๆ ต่อเนื่องเป็นเวลานาน จนอาจส่งผลให้เกิดโรค และอาการผิดปกติในระบบต่างๆ ของร่างกาย มักจะเกิดกับกลุ่มพนักงานออฟฟิศ แต่อาการออฟฟิศซินโดรมไม่ได้เกิดกับคนวัยทำงานเท่านั้น แต่เด็ก และเยาวชนที่ใช้ชีวิตอยู่กับแท็บเล็ต สมาร์ทโฟนเป็นประจำ ก็เป็นเหตุปัจจัยก่อให้เกิดอาการออฟฟิศซินโดรมได้

ป้องกันอาการ ‘ออฟฟิศซินโดรม’ ได้ง่ายๆ ด้วยการปรับวิธีนั่งทำงาน

ดังนั้นในวันนี้เราจึงมีท่านั่งทำงานที่ถูกต้องมาฝากทุกคนกัน ใครที่ต้องนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์นานๆ ลองปรับท่านั่งดูนะคะ จะได้ช่วยลดอาการปวดหลัง ปวดตามข้อต่างๆ

วิธีนั่งทำงาน ที่ถูกต้อง

เรามาเริ่มปรับ จัดสรีระร่างกาย ไปที่ละส่วน

  • ศีรษะเอนไปข้างหน้าเล็กน้อย ขนานกับลำตัว
  • ตาต้องอยู่ระดับเดียวกับจอ ห่างประมาณ 45-60 ซม.
  • นั่งหลังตรง ยืดไหล่ ซึ่งการรนั่งให้หลังชนผนักพิงด้านหลัง หรืออาจจะหาหมอนมาหนุนเอาไว้ ก็ช่วยทำให้นั่งหลังตรงมากขึ้นได้
  • การนั่ง สะโพกและขาต้องตั้งฉากกัน
  • การวางข้อศอก และข้อมือ ควรตั้งตรงเป็นแนวเดียวกัน และขนานกับพื้น
  • ข้อศอกแนบลำตัวงอประมาณ 90-120 องศา
  • วางเท้าแนบพื้น

แต่นอกจากการจัดสรีระท่านั่งของเราแล้ว ก็ยังต้องจัดองค์ประกอบของสภาพแวดล้อมในการทำงานด้วย ความสูงของโต๊ะ และเก้าอี้ต้องอยู่ในระดับที่เหมาะสม สามารถนั่งทำงานในท่าที่สบายได้ คนที่ใช้โน้ตบุ๊กก็ควรหาหนังสือมารองโน้ตบุ๊กให้สูงขึ้น จนจอโน้ตบุ๊กอยู่ในระดับสายตา และถ้าหากต้องนั่งทำงานนานๆ ก็ควรมีหมอนนุ่มมาวางพักข้อมือ และลุกเดิน เปลี่ยนท่าทาง ก็จะช่วยลดอาการออฟฟิศซินโดรมได้

รู้ได้อย่างไรว่ามีอาการออฟฟิศซินโดรม?

ใครที่สงสัยว่าอาการปวดเมื่อยที่กำลังเป็นอยู่นั้น ใช่อาการออฟฟิศซินโดรมหรือไม่ มาลองดูกัน

อาการผิดปกติอย่างหนึ่งของออฟฟิศซินโดรมคือ ความผิดปกติของกล้ามเนื้อ อาการที่แสดงออกมาจะมี อาการปวด เจ็บ ชา หรืออ่อนแรงตามบริเวณต่างๆ ของร่างกายที่ถูกใช้งาน มีการเคลื่อนไหวซ้ำๆ เป็นประจำ บริเวณที่พบบ่อย มักจะเป็นกล้ามเนื้อที่ใช้ในการทรงท่าทางระหว่างการทำงาน เช่น กล้ามเนื้อบริเวณคอ บ่า หลัง หรือเส้นประสาทบริเวณหน้าข้อมือ และเอ็นกล้ามเนื้อหน้าข้อมือที่ถูกกดทับขณะใช้เมาส์ หรือใช้คีย์บอร์ดเวลาพิมพ์งาน หรือข้อมืออยู่ในท่าบิดเอียงผิดจากแนวธรรมชาติ เป็นต้น

ที่มา : thairath.co.th , สสส. , เอกสารคณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ , bumrungrad.com

บทความแนะนำ