กระเจี๊ยบเขียว คุณประโยชน์ ผัก

5 สรรพคุณของ กระเจี๊ยบเขียว – ผักดี ๆ ที่กินสด หรือกินสุกก็ได้

Home / สุขภาพทั่วไป / 5 สรรพคุณของ กระเจี๊ยบเขียว – ผักดี ๆ ที่กินสด หรือกินสุกก็ได้

กระเจี๊ยบเขียว อีกหนึ่งผักที่มีสรรพคุณดี ๆ หลายประการ สามารถทานได้ทั้งผู้ใหญ่และวัยรุ่น ดีต่อการบำรุงร่างกาย อีกทั้งยังสามารถนำไปประกอบเมนูอาหารได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น กระเจี๊ยบต้มทานคู่กับน้ำพริก, นำไปแก้งส้ม, นำไปผัด นำไปย่างก็ได้ เป็นต้น หรือจะนำมาทานสด ๆ ก็ได้เช่นกัน

5 สรรพคุณของ กระเจี๊ยบเขียว

1. ช่วยควบคุมน้ำตาลในเลือด

ในกระเจี๊ยบมีเส้นใยเยอะ สามารถช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ได้ เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานด้วย

2. ลดไขมันและคอเลสเตอรอล

นอกจากนี้เส้นใยอาหารในกระเจี๊ยบเขียว ยังช่วยกำจัดไขมันปริมาณสูงที่น้ำดีได้ ซึ่งจะดีตรงที่สามารถช่วยลดไขมัน คอเลสเตอรอล และกำจัดสารพิษออกจากร่างกาย ได้ด้วยนั่นเอง สารเมือกในฝักยังช่วยจับสารพิษ และขับออกมาทางอุจจาระ ทำให้ไม่เหลือสารพิษตกค้างอยู่ในลำไส้

3. ช่วยรักษาโรคกระเพาะ/ ป้องกันอาการท้องผูก

กระเจี๊ยบ ช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหาร เยื่อบุกระเพาะและลำไส้อักเสบ ช่วยในการขับถ่าย ทำให้ถ่ายอุจจาระได้คล่อง ช่วยป้องกันอาการท้องผูกได้เป็นอย่างดี ลดความเสี่ยงของโรคแผลในกระเพาะอาหาร ป้องกันมะเร็งกระเพาะอาหารและมะเร็งลำไส้ใหญ่  ช่วยบรรเทาอาการปวดท้องของโรคกระเพาะ ฝักกระเจี๊ยบต้มเกลืออ่อนๆ แก้อาการกรดไหลย้อนกลับได้

4. ผิวหนังชุ่มชื้นไม่แห้งแตก

ผลกระเจี๊ยบมีเมือกลื่น ๆ ที่ช่วยทำให้ผิวหนังชุ่มชื้นไม่แห้งแตก บางคนจึงนิยมนำผลอ่อนมาพอกผิวเมื่อมีอาการแสบร้อน

5. เสริมสร้างเม็ดเลือดแดง

กระเจี๊ยบมีโฟเลตสูง ฝักแห้ง 40 ฝักจะเทียบเท่ากับปริมาณที่แนะนำให้รับประทานในแต่ละวัน ทานเป็นประจำช่วยเสริมสร้างพัฒนาการของทารกในครรภ์และช่วยเสริมสร้างเม็ดเลือดแดงได้

เกร็ดความรู้เพิ่มเติม

กระเจี๊ยบเขียวมีชื่อสามัญหลายชื่อ อาทิ Okra, Lady’s finger, Gombo, Gumbo, Bendee, Quimbamto แต่ในอินเดียเรียกบินดี (Bhindi) ประเทศแถบเมดิเตอร์เรเนียนเรียก บามี (Bamies)

สำหรับในประเทศไทยก็มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นแบ่งออกไปด้วย เช่น กระต้าด (สมุทรปราการ), กระเจี๊ยบ กระเจี๊ยบมอญ มะเขือ มะเขือมอญ มะเขือทะวาย ทวาย (ภาคกลาง), มะเขือมอญ มะเขือพม่า มะเขือละโว้ มะเขือขื่น มะเขือมื่น (ภาคเหนือ), ถั่วเละ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) เป็นต้น

ในไทยนิยมปลูกในภาคกลาง เช่น นครปฐม ปทุมธานี นนทบุรี นครนายก ราชบุรี ระยอง พิจิตร สุพรรณบุรี สมุทรสาคร และกาญจนบุรี

ที่มาจาก : medthai.com

บทความแนะนำ