อาการยอดฮิตของผู้หญิงแทบทุกคน เวลามีประจำเดือน จะรู้สึกปวดท้อง อาการส่วนใหญ่ก็จะมีความรู้สึก ปวดแบบหน่วงๆ เกร็งบริเวณหน้าท้อง บางรายอาจมีอาการปวดหลังร่วมด้วย สาเหตุเป็นเพราะอะไร มีความผิดปกติอันตรายร้ายแรงหรือไม่ และมีทางรักษาให้หายได้มั้ย วันนี้เรามีคำตอบมาให้ทุกคนได้อ่านเป็นสาระความรู้
ปวดท้องประจำเดือน สาเหตุเพราะอะไร
ก่อนอื่นมาทำความรู้จัก ประเภทของการปวดประจำเดือน ขะได้แยกออกมาคุณอยู่ในประเภทไหน
1.การปวดประจำเดือนแบบปฐมภูมิ
สาเหตุมาจากสารพรอสตาแกลนดินที่ถูกสร้างขึ้นบริเวณเยื่อบุโพรงมดลูก ทำให้กล้ามเนื้อมดลูกหดตัว เกิด
อาการปวดเกร็งบริเวณท้องน้อย มักจะมีอาการก่อนที่จะมีรอบเดือน เพราะระดับพรอสตาแกลนดินสูงขึ้น โดย
เฉพาะวันแรกของรอบเดือนจะปวดท้อง แต่เมื่อเยื่อบุโพรงมดลูกหลุดลอกออกมาเป็นรอบเดือน ระดับพร
อสตาแกลนดินก็จะลดลง อาการปวดก็จะทุเลาลง
2.การปวดประจำเดือนแบบทุติยภูมิ
สาเหตุการปวดท้อง เกิดจากความผิดปกติของมดลูก หรืออวัยวะภายในอุ้งเชิงกราน โดยระยะเวลาการปวดจะ
มีเวลานานกว่าการปวดแบบปฐมภูมิ ซึ่งอาจจะมีอาการปวดก่อนรอบเดือนมา 2-3 วัน และปวดมากขึ้นใน
ช่วงที่มีรอบเดือน และอาการปวดอาจไม่หายแม้ว่ารอบเดือนจะหมดแล้ว หมายความว่าการปวดแบบนี้รุนแรง
กว่า โดยคุณอาจมีภาวะต่อไปนี้เป็นสาเหตุ
- เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (endometriosis)
- เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญเข้าไปในกล้ามเนื้อมดลูก
- เนื้องอกมดลูก
- ผู้ป่วยที่ใช้ห่วงคุมกำเนิด copper IUD
- การอักเสบในเชิงอุ้งกราน
วิธีดูแลตัวเองเพื่อบรรเทาอาการปวดประจำเดือน
- กระเป๋าน้ำร้อนวางบริเวณท้องน้อยที่ปวด
- นวดเบาๆ เป็นวงกลมบริเวณท้องน้อย
- ดื่มน้ำอุ่น หรือเครื่องดื่มอุ่นๆ
- ไม่รับประทานอาหารมื้อหนักๆ ปรับมาทานมื้อเบาๆ แต่บ่อยๆ
- เลือกทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เช่น แป้งไม่ขัดขาว อย่าง ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ขนมปัง ธัญพืช เช่น ขนมปัง โฮลวีต รวมไปจนถึง เมล็ดพืช ธัญพืชเผือก มัน ผัก ผลไม้ ฯลฯ
- ให้หนุนขาเมื่อนอนลง หรือนอนตะแคงและงอเข่า
- ออกกำลังกายเพื่อการผ่อนคลาย อาทิ เล่นโยคะ นั่งสมาธิ หรืออาบน้ำอุ่น ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- ควบคุมน้ำหนักอย่าให้เกินมาตราฐานมากนัก
การรักษาอาการปวดประเดือน
1.ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตรียรอยด์ (NSAIDs) ยากลุ่มนี้เหมาะกับผู้ไม่ต้องการคุมกำเนิด เพราะยาไม่ยับยั้งการตกไข่ แต่จะไปช่วยลดปริมาณของสารพรอสตาแกลนดินนี่ร่างกายสร้างขึ้น ช่วยลดอาการปวดท้องได้ แต่ถ้าจะให้ได้ผลดีต้องกินตั้งแต่เริ่มมีอาการ ยกตัวอย่างยากลุ่มนี้ เช่น ไดโคลฟิแนค เมฟินามิคเอซิด ไอบูโพรเฟน เป็นต้น ยามีฤทธิ์ระคายเคืองกระเพาะ อาหาร ควรรับประทานยาป้องกันการระคายเคืองกระเพาะร่วมด้วย
2.การให้ฮอร์โมนคุมกำเนิด ไม่เหมาะกับผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ ไม่ว่าจะเป็นยาคุมกำเนิดรุปแบบใด สามารถนำมาปรับระดับฮอร์โมนทำให้ไม่
มีการตกไข่ หรือไม่มีประจำเดือน และลดปริมาณการสร้างพรอสตาแกลนดิน ทำให้อาการปวดน้อยลง ได้
3.ยากลุ่ม GnRH agonist เป็นยาฉีดช่วยระงับการปวดทำให้ไม่มีการตกไข่ เยื่อบุโพรงมดลูกฝ่อ ยากลุ่มนี้มีผลข้างเคียง ทำให้เกิดอาการร้อนวูบวาบ และกระดูกพรุน จึงควรใช้ในระยะเวลาสั้นๆ ไม่ควรใช้ในผู้ป่วยที่มีอายุน้อย หรือในวัยรุ่น
4.ฝังเข็ม, ผ่าตัด นอกจากนี้ยังมีวิธีอื่นๆ อีก อาทิ การฝังเข็ม หรือการผ่าตัดในกรณีที่เป็นอาการปวดแบบทุติยภูมิ เพื่อรักษาที่สาเหตุของอาการปวด เช่น การผ่าตัดก้อนเนื้องอก เป็นต้น
อย่างไรก็ตามหากมีอาการดังต่อไปนี้ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบจะดีที่สุด
– ภายหลังการรักษษ 3 เดือน อาการปวดหลังยังไม่หาย
– ผู้ป่วยใส่ห่วงคุมกำเนิด และมีอาการปวดนานกว่า 3 เดือน
– รอบเดือนมีลิ่มเลือดปนออกมา หรือมีอาการอื่นๆ ร่วมกับอาการปวด
– อาการปวดเกิดขึ้นนอกเหนือจากช่วงที่มีรอบเดือน โดยเริ่มมีอาการปวดก่อนมีรอบเดือน 5 วัน หรือมีอาการปวดต่อเนื่องหลังจากรอบเดือนหมดไปแล้ว
อ้างอิงข้อมูลจาก www.acog.org, www.thai-germanendoscopy.org, emedicine.medscape.com, www.nlm.nih.gov