8 เทคนิค อ่านหนังสือจบเร็วและจำได้แม่น ในเวลาที่จำกัด

ความลับที่ถูกเปิดเผยจากคนที่อ่านหนังสือแนวประวัติศาสตร์หรือกฎหมายกองใหญ่ๆ เป็นตั้งๆ ให้จบเร็วและจำได้แม่นนั้น แน่นอนว่า พวกเขาไม่ได้เรียงอ่านจากหน้าแรกไปจนหน้าสุดท้าย แต่พวกเขาจะมีเทคนิคอย่างไร ลองอ่านไว้เป็นความรู้กันค่ะ ใช้ได้ทั้งการอ่านหนังสือเรียน เพื่อความรู้ หรือกระทั่งนิยายเพื่อความบันเทิง

8 เทคนิค อ่านหนังสือจบเร็วและจำได้แม่นๆ

อ่านบทสรุปก่อนเป็นอันดับแรก

เพื่อกระตุ้นความอยากอ่านหนังสือเล่มหนาๆ เล่มนั้น ให้มองหา “บทสรุป” ที่นักเขียนสรุป หรือรวบรวมเนื้อหาสั้นๆ ไว้ในตอนท้าย เพื่อจับใจความสำคัญของทั้งเล่ม จากนั้นค่อยๆ ทยอยอ่าน ด้วยเทคนิคขั้นต่อไป

อ่านสารบัญและหัวข้อย่อยในแต่ละบท

ถัดมาจากการอ่านบทสรุปแล้ว การอ่านสารบัญ เลือกอ่านเฉพาะบทที่สนใจ หัวข้อย่อยที่ดึงดูดพวกเขาเป็นพิเศษ เทคนิคนี้จะสร้างความรู้สึกว่าหนังสือเล่มนั้นไม่ใช่สิ่งที่พวกเขาต้อง “ทน” อ่าน เพราะพวกเขาอ่านในสิ่งที่พวกเขา “เลือก” เอง

ใช้ปากกาไฮไลท์

“เทคนิคการไฮไลท์หนังสือถือเป็นอาวุธชั้นเลิศของนักอ่านตัวยง”  มองหาประเด็นหลักที่คนเขียนต้องการจะสื่อและไฮไลท์เฉพาะข้อความนั้นๆ ถ้าเจอประเด็นหรือตัวอย่างที่ซ้ำก็จะข้ามไป เทคนิคนี้จะช่วยให้ผู้อ่านคัดแยกแต่ประเด็นสำคัญของหนังสือให้โดดเด่นออกมาจากทั้งเล่ม เมื่อย้อนกลับมาอ่านอีกครั้ง พวกเขาจะสามารถสรุปใจความของหนังสือเล่มนั้นๆ ได้โดยใช้เวลาในการพลิกไปมาเพียงไม่กี่นาที

ไม่อ่านทุกคำ

ความเป็นจริงแล้วเนื้อหาส่วนใหญ่ในหนังสือเชิงวิชาการ มักจะถูกอัดแน่นไปด้วยหลักฐานที่สนับสนุนประเด็นหลัก มากกว่าตัวประเด็นเอง เนื้อหาวนไปวนมา เนื้อหานี้ข้ามไม่ได้โดยสิ้นเชิง แต่ในกรณีที่คุณอยากซึมซับข้อมูลที่สำคัญในเวลาที่จำกัดแล้วล่ะก็ ควรหยุดอ่านทุกคำ แต่ให้เลือกอ่านเฉพาะแต่ประเด็นสำคัญเสียก่อน

คุยกับคนอื่นถึงสิ่งที่คุณอ่าน

หลายคนเป็นคนประเภทที่เรียนรู้จากการฟัง คนกลุ่มนี้จะสามารถจดจำข้อมูลใหม่ๆ ได้ดี เมื่อได้ยินข้อมูลใหม่ๆ การพูดคุยถกเถียงในเรื่องที่เราเข้าใจกับผู้อื่น ทำให้เราได้รู้ว่า ในสิ่งที่เราเข้าใจนั้น ถูกต้องหรือแตกต่างไปจากคนอื่นอย่างไรบ้าง และจะทำให้เราจำได้ง่ายขึ้นเมื่อได้คุยย้ำถึงประเด็นนั้นๆ

อย่าอ่านเชิงรับ แต่ให้อ่านแบบเชิงรุก

อย่าปล่อยให้หนังสืออยู่เหนือเรา เราต้องอ่านมันเพราะจำเป็น หรือถูกบังคับให้ต้องอ่าน มีเทคนิคแก้ปัญหานี้คือ ให้เริ่มจากส่วนที่เราพบว่าดึงดูดใจเรามากที่สุด (หรือเลวร้ายน้อยที่สุด) ก่อน มองหาจุดที่น่าสนใจของมันและไม่ปล่อยให้การอ่านเป็นเรื่องที่คุณรู้สึกว่าถูกบังคับให้ทำ แต่เป็นสิ่งที่คุณเลือกเองและสามารถควบคุมมันได้อยู่มือ จะทำให้เราอยู่กับหนังสือเล่มนั้นได้นานขึ้น

จดโน้ตคำถามที่เกิดขึ้นในระหว่างอ่าน

เมื่อใดที่คุณรู้สึกไม่เห็นด้วยกับบางตอน การหยุดเพื่อตั้งคำถามกับใจความนั้นๆเป็นอีกวิธีการที่ช่วยให้เราจำได้โดยไม่รู้ตัว สิ่งสำคัญคืออย่าคิดเอาเองว่าคนเขียนจะถูกเสมอไป และนี่คือหัวใจที่ช่วยพัฒนาทักษะการคิดในเชิงวิพากษ์ อันจะช่วยทำให้เรามีสมาธิจดจ่อกับการอ่านอยู่เสมอ คำถามยอดนิยมที่คุณอาจจะลองใช้ในการอ่านวันนี้อย่างเช่น ทำไมผู้เขียนถึงเลือกเจาะประเด็นนั้น? ตัวอย่างที่ยกมาสนับสนุนข้อโต้แย้งนี่สมเหตุสมผลหรือไม่? ผู้เขียนตั้งใจเขียนหนังสือเล่มนี้โดยสื่อไปถึงผู้อ่านกลุ่มไหน? ข้อมูลในย่อหน้านั้นมีข้อสรุปที่แฝงไปด้วยอคติมากเกินไปหรือไม่? เป็นต้น

เขียนสรุป

เคล็ดลับเด็ดในการจำหนังสือเล่มหนาๆ ได้ทั้งเล่มวิธีหนึ่งคือ สรุปใจความทั้งหมดลงในกระดาษ A4 หนึ่งแผ่น รวบรวมข้อโต้แย้งต่างๆ ของผู้เขียนไว้ในสองย่อหน้า รวมทั้งตัวอย่างสองสามตัวที่น่าสนใจ และที่สำคัญที่สุดคือให้เขียนสิ่งที่คุณไม่เห็นด้วยหรือสิ่งที่คุณคิดว่ามีแนวคิดอื่นที่ดีกว่าลงไป วิธีการนี้ให้ผลใกล้เคียงกับไฮไลท์ และจะดียิ่งกว่าถ้าคุณใช้ประกอบกัน เพราะเมื่อใกล้ถึงเวลาสอบ คุณจะสามารถสรุปเนื้อหาทั้งหมดได้ด้วยเพียงการทบทวนกระดาษหนึ่งหน้าที่คุณเขียนสรุปไว้

… การจะอ่านหนังสือได้นานๆ เล่มหนาๆ ให้เข้าใจได้ นั่นคือต้องสร้างความน่าสนใจให้กับหนังสือเล่มนั้นก่อน อาจจะด้วยการอ่านบทสรุป อ่านคำนำ สารบัญ จากนั้นมาเริ่มจับใจความสำคัญ ใช้ปากกาไฮไลท์ให้ประเด็นนั้นๆ โดดเด่นมากขึ้น จนกระทั่งมาเขียนสรุป หรือพูดคุยกับเพื่อนคนอื่นๆ ซึ่งเมื่ออ่านมาถึงตอนนี้แล้ว เชื่อแน่ว่าเพื่อนๆ ชาว Campus-Star.com น่าจะได้แนวทางในการอ่านหนังสือให้จำแม่นได้มากขึ้นนะคะ

ที่มา http://book.mthai.com

อ่านหนังสือออนไลน์ กับ MbookStore

ข่าวที่เกี่ยวข้อง