โรคด่างขาว คืออะไร? รักษายังไง?

โรคด่างขาว เป็นโรคที่มีผลจากเซลล์สร้างเม็ดสีลดจำนวนหรือไม่มีเลย อาจเป็นเฉพาะที่หรือกระจายทั่วตัว รอยขาวนี้จะขาวมาก มีหลายรูปแบบ เป็นวงเดียว หรือหลายวงก็ได้ ขน และผม อาจขาวด้วยก็ได้  โดยทั่วไปรอยโรคจะลามช้าๆ บางช่วงจะคงที่ ถ้ารอยโรคยังลามอยู่มักไม่หายขาด พบได้ในคนทุกเพศทุกวัย และในทุกเชื้อชาติ

โรคด่างขาว

การเกิดโรคด่างขาว ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แต่มีการสันนิษฐานไว้ 3 กลุ่มใหญ่ๆ ตามลักษณะอาการที่พบ

  1. เกิดจากกระบวนการสร้างเม็ดสี เซลล์เม็ดสีถูกทำลายโดยสารพิษ ในขณะที่กำลังผลิตเม็ดสี ส่งผลให้ไม่สามารถผลิตเม็ดสีได้
  2. จะพบในกรณีที่เป็นรอยด่างตามแนวระบบประสาทส่วนปลาย สันนิษฐานว่า เกิดจากสารเคมีบางอย่าง ที่ประสาทส่วนปลายปล่อยออกมาแล้วทำลายเม็ดสีทำให้สร้างเม็ดสีไม่ได้ หรืออาจมีการกระตุ้นปลายประสาท ทำให้มีการหลั่งสารที่ทำลายเซลล์เม็ดสีในกระบวนการสร้างเม็ดสี หรือ อาจมีการสะสมของสารบางอย่าง ที่มีฤทธิ์ทำลายเซลล์สร้างเม็ดสี
  3. คาดว่าเกิดจาก การสร้างภูมิคุ้มกันทำลายเม็ดสี อาการ ด่างขาว ลักษณะนี้มักพบร่วมกับโรคทางระบบต่อมไร้ท่อหลายๆ โรคที่เกี่ยวข้องกับภูมิคุ้มกัน เช่น โรคต่อมไทรอยด์อักเสบ ต่อมหมวกไตทำงานไม่ดี โรคเบาหวานหรือโรคอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งสารสร้างภูมิคุ้มกันนั้นจะทำลายเม็ดสีทำให้เกิดเป็นรอยด่างขาวขึ้น

หลักการรักษาโรคมีอยู่ 3 ประการคือ

  1. กระตุ้น Melanocyte ให้เพิ่มจำนวนและการทำงานด้วยวิธีต่างๆ เช่น การใช้ยา การฉายแสงอัลตร้าไวโอเลต และการผ่าตัด
  2. การใช้ยากันแดดช่วยป้องกันรอยด่างขาวที่อาจเกิดมะเร็งจากแสงแดดได้
  3. การปกปิดเพื่อความสวยงาม  ซึ่งได้แก่การใช้เครื่องสำอางปกปิด

เนื่องจากโรคด่างขาวเป็นโรคที่มีลักษณะทางคลินิกคล้ายคลึงกับโรคอื่น  และมีลักษณะของรอยโรคหลายแบบตามการกระจายของโรค และแต่ละแบบอาจจะตอบสนองต่อวิธีการรักษาแต่ละวิธีแตกต่างกัน

การรักษาโรคด่างขาวมักใช้เวลานานตามแต่อาการที่เกิดขึ้น ถ้าเป็นโรคนี้ในระยะเริ่มต้นหรือเป็นไม่มาก ไม่ต้องทำอะไร เพราะไม่มีอันตรายแต่อย่างไร แต่ถ้าเป็นมากหรือลุกลามจนน่าเกลียดควรปรึกษาแพทย์ทางโรคผิวหนัง ซึ่งอาจให้ยารักษามีทั้งชนิดกินและทา เช่น ยาน้ำสำหรับทาชนิดเจือจาง 0.1% หลังทายาควรให้ผิวหนังส่วนที่เป็นด่างขาวอาบแดดอ่อนๆ

หากอาการดีขึ้นผิวหนังส่วนนั้นจะเริ่มแดงก่อนต่อมาจะมีสีคล้ำ โดยเริ่มจากบริเวณรอบๆ ขนก่อน แล้วจะค่อยๆ ขยายกว้างออกไป ระยะเวลาของการรักษาอาจนานถึง 2-3 ปี บางคนหลังหยุดยาสีผิวอาจกลับขาวได้อีก บางคนหากใช้วิธีดังกล่าวไม่ได้ผล อาจต้องเปลี่ยนไปใช้วิธีอื่นแทน

ดังนั้นจึงแนะนำให้พบแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัย และพิจารณาการรักษาที่เหมาะสมที่คลินิกอีกครั้งหนึ่งค่ะ

ขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก แพนคลินิก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง