บุหรี่ไฟฟ้า ปลอดภัยจริงหรอ? | 31 พ.ค. วันงดสูบบุหรี่โลก

 “Tobacco break heart บุหรี่ตัวร้ายทำลายหัวใจ” คำขวัญของวันงดสูบบุหรี่โลก (World No Tobacco Day) ในปีนี้ ที่ตรงกับวันที่ 31 พฤษภาคมของทุกปี ทุกคนคงรู้กันดีอยู่แล้วถึงโทษของบุหรี่ เรียนมาตั้งแต่เด็ก ๆ แต่วันนี้เราจะมาพูดถึง “บุหรี่ไฟฟ้า” ทางเลือกใหม่ของสิงห์อมควัน

สูบบุหรี่ไฟฟ้า ปลอดภัยจริงหรอ?

บุหรี่ไฟฟ้า ได้รับความนิยมมากขึ้นใช่ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะในหมู่วัยรุ่น เด็กมหา’ลัย ที่พ่นควันกันเป็นว่าเล่น ดูดกันจนเป็นแฟชั่น ด้วยความคิดที่ว่า “บุหรี่ไฟฟ้าปลอดภัยกว่าบุหรี่ธรรมดา แถมยังช่วยให้เลิกบุหรี่ได้อีกก!” แต่ขอบอกเลยนะคะว่าทางองค์การอนามัยโลกได้ออกมาประกาศแล้วว่า ไม่จริง!

นิโคตินตัวร้าย

นิโคติน เป็นส่วนประกอบหลักในน้ำยา E-Liquid หรือ E-Juice ที่ใช้ใส่ในบุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งมีผลกระทบต่อร่างกาย ทั้ง

– กระตุ้นสมอง ทำให้เกิดอาการมึนงง

– กระตุ้นหัวใจทำให้อัตราการทำงานของหัวใจเพิ่มขึ้น หัวใจทำงานหนัก เกิดภาวะหัวใจวาย

– ทำให้เส้นเลือดหดตัวซึ่งส่งผลให้เกิดความดันในเลือดสูงขึ้น เส้นเลือดในสมองแตก

– ปัญหาต่อระบบทางเดินหายใจ หายใจเร็ว เสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งปอด

– มีความผิดปกติทางอารมณ์ สมาธิและความคิด

– ปัญหาของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย

สารปนเปื้อนอื่น ๆ

นอกจานิโคตินที่เป็นส่วนผสมหลัก ๆ แล้ว ยังมี โพรไพลีนไกลคอล ที่ทำให้ระคายเคืองตาและปอด ก่อให้เกิดโรคปอดเรื้อรัง โรคหอบหืด และโรคถุงลมโป่งพอง  กลีเซอรีนและสารแต่งกลิ่นรส ที่ก่อให้เกิดปัญหาทางระบบทางเดินหายใจและปอด

นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่พบว่า ในน้ำยา E-Liquid หรือ E-Juice ที่ใช้ในบุหรี่ไฟฟ้า มีโลหะหนักปนเปื้อนอยู่ ทั้ง นิกเกิล ตะกั่ว โครเมียมที่เป็นพิษต่อปอด และแคดเมียมที่อันตรายต่อไต และนอกจากนี้ยังมีสารพิษที่เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งอยู่ในปริมาณมาก

อีกการวิจัยหนึ่งพบว่า 85% ไอที่ออกมาเวลาใช้บุหรี่ไฟฟ้ามีสารพิษที่ไปทำลายเซลล์ในปาก รวมถึงเหงือกและฟันด้วย

ยิ่งไปกว่านั้นยังมีงานวิจัยพบว่าบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดอาการกล้ามเนื้อหัวใจตาย ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง และเบาหวาน อีกด้วย

คงเห็นกันแล้วใช่มั้ยคะ ว่าจริง ๆ แล้ว บุหรี่ไฟฟ้าก็ไม่ได้ปลอดภัยอย่างที่เราคิด และเป็นเพียงออปชั่นเสริมสำหรับคนที่อยากเลิกบุหรี่เท่านั้น จะเลิกได้ไม่ได้ มันอยู่ที่ ‘ใจ’ ล้วน ๆ ส่วนใครอยากเลิกบุหรี่แบบไม่เสียสุขภาพก็ลองโทรไป 1600 ดูดีกว่านะ

ขอบคุณข้อมูลจาก: pobpad, medicalnewstoday

Written by: Typrn

ข่าวที่เกี่ยวข้อง