ความแตกต่าง เสื้อชูชีพกับเสื้อพยุงตัว – ที่ควรรู้ การใส่ที่ถูกต้อง

เหตุเรือล่มที่ภูเก็ต เรือนักท่องเที่ยวล่ม ที่ จ.ภูเก็ต วันที่ 5 ก.ค. 2561 เรือท่องเที่ยวฟีนิกซ์ลำที่อัปปาง และพบศพนักท่องเที่ยวชาวจีน 26 ศพติดอยู่ในซากเรือใต้ทะเลภูเก็ต ขณะที่ยอดผู้เสียชีวิตมาถึง 40 ศพแล้ว เพื่อป้องกันตัวเองจากภัยต่างๆ อยากให้อ่านความรู้เกี่ยวกับ เสื้อชูชีพ (Life jacket) และ เสื้อพยุง (Buoyancy Aid) เป็นประโยชน์มาก ๆ อยากให้ระวังตัวกันมากขึ้น

เสื้อชูชีพกับเสื้อพยุงตัว เหมือนหรือต่างกันยังไง?

– เสื้อชูชีพ (Life jacket)

– มีแรงลอยตัวสูง ใช้ได้ทุกสภาพอากาศ ทั้งในน้ำทะเล น้ำเชี่ยว น้ำไหล
– ถูกออกแบบให้พลิกตัวผู้ประสบภัยให้หงายหน้าขึ้น จึงสามารถใช้กับผู้ประสบภัยที่ไม่รู้สึกตัว หมดสติ หรือสลบได้

ข้อจำกัด / เทอะทะ และนำกัดการเคลื่อนไหว

– เสื้อพยุง (Buoyancy Aid)

– เหมาะสำหรับกีฬาทางน้ำ เช่น เจ็ทสกี เรือใบ สกีน้ำ เรือคายัค เรือแคนู
– ใส่สบาย และเคลื่อนไหวได้คล่องตัว
– หากใส่เสื้อพยุงตัว ต้องตีขาช่วย เพื่อให้หน้าไม่คว่ำและสามารถเคลื่อนที่ไปในน้ำได้

ข้อจำกัด
– ถูกออกแบบให้เป็นตัวช่วยลอยอยู่ในน้ำ มากกว่าเป็นอุปกรณ์ช่วยชีวิต
– เหมาะสำหรับผู้ที่มีสติและรู้สึกตัว ไม่เหมาะสำหรับการใช้ในกรณีที่ผู้ประสบภัยไม่รู้สึกตัว หมดสติ หรือสลบ เพราะเสื้อพยุงตัวจะไม่ช่วยพลิกให้หน้าของผู้สวมใส่ หงายขึ้นหนือน้ำเหมือนกับเสื้อชูชีพ

ข้อควรจำ *** เพื่อความปลอดภัย เมื่อใส่เสื้อชูชีพ/เสื้อพยุ่งตัวแล้ว ควรล็อคในทุกจุด รวมทั้งสายคล้องขา

หลักการใส่เสื้อชูชีพ

การใส่เสื้อชูชีพ มีจุดรัดกี่จุดที่ต้องใช้ให้หมด ดึงสายให้แน่น และมีบางจุดที่อาจจะรัดเป้า ทำให้ไม่สบายน้องชายน้องสาว และจุดนี่แหละที่จะทำให้คุณรอดตาย / เสื้อชูชีพ ถ้าคุณรัดแต่จุดบน เวลาที่ตกน้ำ เสื้อมันจะไหลออกจากตัวคุณ ถ้าตกใจคลื่นแรงไม่รอดแน่ สายรัดเส้นล่างนั้นสำคัญมาก แต่คนส่วนใหญ่ไม่ใช้ เพราะมันน่ารำคาญ // CR : Kalthanat Suksirisun

เสื้อชูชีพ (Lifejacket) หากสวมใส่อย่างถูกต้องและอยู่ในสภาพดี จะช่วยให้ผู้สวมใส่ลอยตัวอยู่ในน้ำในตำแหน่งที่ปากและจมูกของผู้สวมใส่อยู่เหนือแนวน้ำแม้ในขณะหมดสติ

เสื้อพยุงตัว (Buoyancy Aid) ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยพยุงร่างกายของผู้สวมใส่ ให้ลอยอยู่ในน้ำได้ แต่ไม่อาจช่วยท่านได้ในทุกสถานการณ์ เนื่องจากท่านจะต้องมีสติและช่วยเหลือตัวเองได้ด้วยส่วนหนึ่ง

เสื้อชูชีพ (Life jacket)

เสื้อพยุง (Buoyancy Aid)

เสื้อชูชีพ ตามรีสอร์ต สำหรับเสื้อชูชีพที่สวมใส่ทั่วไป หรือสวมใส่เวลาไปดำน้ำตื้นในประเทศตามเกาะต่างๆ หรือต่างประเทศก็ตาม มักจะเป็นเสื้อพยุงตัว (แต่นักท่องเที่ยวและเราๆ จะเรียกกันว่าเสื้อชูชีพ)

เสื้อชูชีพ คือ อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยที่สำคัญที่สุดสำหรับคนที่ว่ายน้ำไม่เป็น ควรสวมเสื้อชูชีพไว้เพื่อให้เรามั่นใจว่ายังไงก็ไม่จมตัวเสื้อที่ได้รับมาตรฐาน ISO LALIZAS Lifejacket เสื้อชูชีพต้องมีคุณลักษณะที่สำคัญ ดังนี้

– แรงลอยตัว ต้องไม่น้อยกว่า 100 นิวตัน
– สามารถพลิกตัวผู้สวมเสื้อชูชีพที่หมดสติให้หงายหน้าขึ้นได้
– มีความแข็งแรงสามารถทนแรงดึงได้ตามที่กำหนด
– มีสีส้มตามมาตรฐานสากล
– ติดแถบสะท้อนแสงตามมาตรฐานสากล
– ติดนกหวีดตามมาตรฐานสากล
– ทนเพลิงไหม้
– ไม่เสียสภาพเมื่อสัมผัสกับน้ำมัน

Life Jackets & PFDs

PFD ย่อมาจาก Personal Flotation Devices Link : Boat Safety Equipment & Gear

ประเภทของเสื้อชูชีพ จำแนกได้เป็นเสื้อชูชีพประเภทโฟม และเสื้อชูชีพพองลม โดยเสื้อชูชีพแบบพองลม จะทำให้ผู้สวมใส่เกิดความคล่องตัว และสบายตัวกว่าแบบโฟมมาก แต่จะต้องทำการส่งศูนย์ตรวจสอบทุกๆ ปีว่าเสื้อเรายังอยู่ในสภาพที่ใช้การได้ดีหรือไม่ (เสื้อชูชีพพองลมจะรับประกันอะไหล่ 1 ปี และอะไหล่ทุกตัวจะต้องมีัวันผลิตหรือวันหมดอายุบอก) // Pantip.com

ที่มา ความแตกต่าง เสื้อชูชีพกับเสื้อพยุงตัว Facebook สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค (ThaiNCD) , Pantip.com ,  www.marinethai.net

ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับเรือล่มภูเก็ต ได้ที่ News.MThai.com

บทความที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง