โรคซึมเศร้า ถือเป็นอีกหนึ่งปัญหาด้านสุขภาพของคนไทยที่มีความสำคัญและน่าเป็นห่วงอย่างมาก โดยสังเกตได้จากสังคมในปัจจุบันนี้ที่มักมีข่าวเกี่ยวกับปัญหา การฆ่าตัวตาย รวมทั้งปัญหาการทำร้ายร่างกายของตัวเองและคนรอบข้าง ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้ก็นับเป็นเรื่องที่น่าสลดใจไม่น้อยทีเดียว เพราะฉะนั้น ต้นตอสาเหตุจากการที่ผู้ป่วยประสบปัญหาชีวิต ปัญหาครอบครัว การงาน การเงินหรือพบเจอความล้มเหลวสูญเสียในชีวิตอย่างรุนแรง ทุกปัญหานั้นล้วนเป็นสาเหตุนำมาสู่การเกิดโรคซึมเศร้าได้หมดทั้งสิ้น
ช่วยเพื่อนด่วน! แนวทางป้องกันการฆ่าตัวตาย จาก โรคซึมเศร้า
คลิป ตอบคำถาม โรคซึมเศร้า โดย พญ.ชัญวลี ศรีสุโข
สังเกต หากเพื่อนมีพฤติกรรม อาการเหล่านี้
- อารมณ์ไม่สนุกสนาน ไม่ร่าเริงเหมือนเดิม ไม่มีความสุข เบื่อ ท้อแท้ เครียด หงุดหงิด และเศร้า
- หมดความสนใจในสิ่งต่างๆ เบื่อสิ่งที่เคยทำแล้วสนุก มีความสุข ไม่อยากทำอะไร ไม่อยากเจอใคร
- เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลงมาก (หรือบางคนกินมากเพื่อให้หายเครียด น้ำหนักเพิ่มขึ้น)
- นอนไม่หลับ หลับๆ ตื่นๆ หรือตื่นเร็วกว่าเดิม 2-3 ชั่วโมงแล้วไม่มีความสุข นอนต่อไปไม่ได้ (แต่บางคนนอนมากขึ้นเนื่องจากไม่อยากทำอะไร นอนแต่ก็ไม่หลับ)
- เหนื่อยหน่าย อ่อนเพลีย ไม่มีแรง ไม่อยากทำอะไร
- ความคิดช้า การเคลื่อนไหวช้า
- สมาธิความจำเสีย ตั้งใจทำงานไม่ได้ ลังเลตัดสินใจลำบาก
- คิดว่าตัวเองไร้ค่า ทำผิด ทำไม่ดี คิดต่อตัวเองไม่ดี
- อยากตายและฆ่าตัวตาย
คนที่กำลังคิดฆ่าตัวตายนั้น บางทีแสดงออกเป็นพฤติกรรมให้รู้ได้ เช่น
- บางคนเปรยๆ ให้คนใกล้ชิดฟัง เช่น “รู้สึกเบื่อจัง ไม่รู้จะอยู่ไปทำไม”
- บางคนพูดเป็นเชิงฝากฝัง สั่งเสีย เช่น “ฝากดูแลลูกด้วยนะ”
- บางคนดำเนินการบางอย่าง เช่น ทำพินัยกรรม โอนทรัพย์สมบัติให้ลูกหลาน
- ถ้าสงสัยว่าจะคิดฆ่าตัวตายหรือไม่ ควรถาม
- การถามเรื่องนี้เป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะช่วยรักษาชีวิตเขาไว้ได้
การถามเรื่องฆ่าตัวตาย ทำได้โดยใช้ชุดคำถามขั้นบันไดดังนี้
- เมื่อพบว่ามีอารมณ์ซึมเศร้า ให้ถามต่อไปว่า “ความเศร้านั้นมากจนทำให้เบื่อชีวิต หรือไม่”
- ถ้าตอบรับ ให้ถามต่อไปว่า “คิดอยากตาย หรือไม่”
- ถ้าตอบรับ ให้ถามต่อไปว่า “คิดจะทำหรือไม่”
- ถ้าตอบรับ ให้ถามต่อไปว่า “คิดจะทำอย่างไร”
- ถ้าตอบรับ ให้ถามต่อไปว่า “เคยทำหรือไม่”
- ถ้าตอบรับ ให้ถามต่อไปว่า “เคยทำอย่างไร”
- สุดท้าย ให้ถามต่อไปว่า “มีอะไรยับยั้งใจ จนทำให้ไม่ได้ทำ”
คำถามสุดท้าย ไม่ว่าจะตอบอย่างไร จะเป็นปัจจัยทางบวกที่ช่วยให้เขายั้งคิด ไม่ทำในครั้งต่อไปเช่นกัน
บางคนมีความเชื่อผิดๆ ว่า การถามเรื่องการฆ่าตัวตาย จะไปกระตุ้นคนที่ยังไม่คิดไปคิดฆ่าตัวตาย หรือคนที่คิดอยากตายอยู่แล้วจะเป็นการกระตุ้นให้ทำ ความเชื่อเหล่านี้ไม่เป็นความจริง
ความจริงคือ การถามไม่ได้ชักจูงหรือกระตุ้นให้ทำ คนที่คิดจะทำอยู่แล้วจะรู้สึกดีขึ้น จนไม่ทำจริง
เราทุกคนมีส่วนร่วมในการป้องกัน การฆ่าตัวตาย
ได้ดังนี้
- การสนใจ ใส่ใจ สังเกตตนเองและเพื่อนๆ ว่ามีอาการของโรคซึมเศร้า หรือไม่ มีความคิดฆ่าตัวตายหรือไม่
- ถ้าเกิด โรคซึมเศร้า ให้มาพบจิตแพทย์โดยเร็ว หรือแนะนำผู้ที่ซึมเศร้ามาพบจิตแพทย์
written by : TuTee
รวบรวมข้อมูลจาก honestdocs.co และ psyclin.co.th