ยิ่งแก่ขึ้น ยิ่งหลับน้อยลง หรือหลับยากขึ้นกว่าเดิม – ทำไมถึงเป็นเช่นนี้

“เมื่อคนเราอายุมากขึ้นจะนอนหลับสนิทน้อยลงนั้น เป็นเพราะร่างกายต้องการการหลับน้อยลง หรือเป็นเพราะคนเราไม่สามารถหลับสนิทได้นานเท่าที่ต้องการเมื่ออายุมากขึ้น?

ข้อเท็จจริงคือ เมื่อคนเราอายุมากขึ้น ยังคงต้องการการนอนหลับสนิทเท่าเดิม เพียงแต่ทำไม่ได้อย่างที่ต้องการเท่านั้นเอง”

ยิ่งแก่ยิ่งหลับน้อยลง หรือหลับยากขึ้นกว่าเดิม

โดยสาเหตุของการนอนหลับน้อยลงเมื่อสูงวัยขึ้นนั้น เป็นผลมาจากการที่สมองของเรา สูญเสียการเชื่อมต่อระหว่างระบบประสาท ที่ทำหน้าที่รับคำสั่งให้นอนหลับไปนั่นเอง

ซึ่งสัญญาณที่ส่งไปยังสมองของคนเพื่อให้นอนหลับนั้นเกิดปัญหาขึ้นที่ตัวรับสัญญาณดังกล่าว ซึ่งจะค่อยๆ ลดความสามารถในการรับสัญญาณลงเมื่ออายุมากขึ้นเรื่อยๆ สมองของคนสูงอายุจึงรับสัญญาณที่จัดการคิวการนอนได้ลดน้อยลง ทำนองเดียวกับเสารับสัญญาณวิทยุที่ขีดความสามารถในการรับสัญญาณลดน้อยลง แม้ว่าจะมีสัญญาณมาคงที่เท่าเดิม ก็รับไม่ได้

ผลงานศึกษาวิจัยชิ้นใหม่ของ ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยแห่งแคลิฟอร์เนียเบิร์กลีย์ นำโดยแมทธิว วอล์คเกอร์ หัวหน้าห้องปฏิบัติการ นิวโรอิเมจจิงและการหลับ

วอล์คเกอร์ระบุว่า ข้อที่น่าสนใจอย่างมากจากงานวิจัยใหม่นี้ก็คือ ก่อนหน้านี้เราเคยเข้าใจกันว่า ความชราภาพของคนเราทำให้นอนหลับได้น้อยลง

ผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า หน่วยรับสัญญาณการนอนหลับในสมองของคนเรา เริ่มเสื่อมลงในทันทีที่คนเราอายุเข้าสู่ตอนปลายของอายุ 20 ปีไปจนถึงตอนเริ่มต้นอายุ 30 ปี ไม่ได้เริ่มเกิดขึ้นเมื่อสูงอายุมากๆ แต่อย่างใด

อย่างไรก็ตามขีดความสามารถที่ลดลงดังกล่าวเกิดขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง ดังนั้นเมื่อคนเราอายุถึง 50 ปี ความสามารถในการรับสัญญาณก็จะลดลงเหลือเพียง 50 เปอร์เซ็นต์ของความสามารถเมื่อตอนอายุ 20 ปี ผู้ที่อายุ 50 ปี จึงมีความสามารถในการนอนหลับสนิท (Deep Sleep) เพียง 50 เปอร์เซ็นต์ของเมื่อตอนอายุ 20 ปีนั่นเอง

เมื่ออายุถึง 70 ปี แต่ละคนก็จะมีความสามารถในการนอนหลับที่มีคุณภาพจริงๆ เหลือน้อยมาก โดยจะหลับๆ ตื่นๆ แทนที่จะหลับสนิทจนครบวัฏจักรการนอนเต็มที่เหมือนก่อนหน้านี้

อ่านต่อทั้งหมดที่ มติชน ออนไลน์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง