อาการภาวะตัวเย็น หรือ Hypothermia ภัยสุขภาพที่สามารถคร่าชีวิตของเราได้

ภาวะตัวเย็นเกิน หรือมีชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า ไฮโปเธอร์เมีย (Hypothermia) เป็นภาวะที่ร่างกายเกิดอาการสูญเสียความร้อนอย่างรวดเร็วจนทำให้อุณหภูมิของร่างกายลดต่ำกว่า 35 องศาเซลเซียส ส่งผลทำให้ระบบการทำงานภายในร่างกายเกิดความผิดปกติ และส่งผลเสียต่อระบบทางเดินหายใจ ทำให้หายใจได้ลำบากมากยิ่งขึ้น มือเกิดอาการชา ปากและหูเป็นสีคล้ำ เดินเซ ไม่มีแรง ฯลฯ เมื่ออาการป่วยอยู่ในขั้นรุนแรง (มาก) อาจจะทำให้เสียชีวิตได้ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีและทันท่วงที

อาการภาวะตัวเย็น หรือ Hypothermia

สำหรับอาการภาวะตัวเย็นเกินมักจะพบในบุคคลที่ต้องเผชิญกับความหนาวเย็นมาก ๆ หรือติดอยู่ในถ้ำเป็นเวลานาน เช่น เด็ก ผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่าง ๆ เป็นต้น บทความนี้ แคมปัส-สตาร์ ก็มีสาระน่ารู้เกี่ยวกับอาการภาวะตัวเย็นเกินมาฝากกันด้วยค่ะ ทั้งสาเหตุของอาการภาวะตัวเย็นเกิน วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องตัน และวิธีการป้องกันตนเอง

สาเหตุของอาการภาวะตัวเย็นเกิน

สำหรับสาเหตุนั้นมาจากที่ร่างกายสูญเสียความร้อนอย่างต่อเนื่องและไม่สามารถสร้างความอบอุ่นให้กับร่างกายได้ ทำให้อุณหภูมิในร่างกายลดต่ำลงเรื่อย ๆ โดยร่างกายของคนเรานั้นสามารถสูญเสียความร้อนได้จากหลากหลายสาเหตุด้วยกัน ดังนี้

  1. การใส่เสื้อผ้าที่ป้องกันความหนาวเย็นได้ไม่เพียงพอ
  2. การสัมผัสกับความเย็นโดยตรง เช่น การตกลงไปในน้ำเย็นจัด หรือจะต้องอยู่ในสถานที่ที่มีอาการหนาวเย็นเป็นเวลานาน ๆ ติดต่อกัน เป็นต้น
  3. การไปสัมผัสกับลมที่มีอุณหภูมิต่ำมาก ๆ ซึ่งถือไดว่าเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ร่างกายสูญเสียความร้อน เพราะลมจะพัดเอาอากาศอุ่น ๆ ที่ปกคลุมผิวหนังออกไป ทำให้ร่างกายปรับตัวไม่ทัน
  4. โรคประจำตัวบางชนิดก็เป็นสาเหตุของอาการภาวะตัวเย็นเกินได้เช่นกัน เช่น โรคเบาหวาน โรคความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ เป็นต้น
  5. คนที่ชอบดื่มแอลกอฮอล์หรือสารเสพติดต่าง ๆ ก็มีโอกาสเผชิญกับภาวะตัวเย็นเกินได้ เพราะในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือสารเสพติดนั้นจะไปทำปฏิกิริยากับร่างกายทำให้ร่างกายสูญเสีบความร้อนเร็วกว่าปกติอีกด้วย

** เด็กจะมีการสูญเสียความร้อนภายในร่างกายได้เร็วกว่าผู้ใหญ่

อาการภาวะตัวเย็นเกิน

โดยที่ความรุนแรงของอาการนั้นจะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของร่างกายที่ลดต่ำลงและกลุ่มผู้ป่วย สามารถแบ่งออกได้ 3 ระดับด้วยกัน คือ

1. อาการไม่รุนแรง 

ผู้ป่วยที่มีอุณหภูมิในร่างกายลดลงไปถึงประมาณ 32-35 องศาเซลเซียส จะมีอาการดังนี้

2. อาการรุนแรงปนกลาง 

ผู้ป่วยที่มีอุณหภูมิในร่างกายลดลงไปอยู่ที่ 28-32 องศาเซลเซียส จะมีอาการคล้าย ๆ กับอาการในขั้นที่ไม่รุนแรง แต่จะมีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ จนทำให้ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ และอาจจะทำให้พูดไม่รู้เรื่อง สับสน

3. อาการรุนแรงมาก 

ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอุณหภูมิในร่างกายต่ำกว่า 27 องศาเซลเซียส จะมีอาการดังนี้

ภาวะแทรกซ้อนของอาการภาวะตัวเย็นเกิน

ภาวะตัวเย็นเกิน หรือ Hypothermia นอกจากจะเกิดขึ้นเมื่อเราอยู่ในสภาพอากาศที่มีความหนาวเย็นหรือต้องอยู่ในน้ำเป็นเวลานาน ๆ แล้ว ก็อาจจะทำให้เกิดอาการบาดเจ็บอื่น ๆ ได้อีกด้วย เช่น เนื้อเยื่อเสียหายรุนแรงจากความเย็น และสภาวะเนื้อตายเนื่องจากเลือดไม่สามารถไหลเวียนไปเลี้ยงทั่วร่างกายได้ ซึ่งอาจจะต้องทำการตัดอวัยวะส่วนนั้นทิ้งไป เป็นต้น

การปฐมพยาบาล (เบื้องต้น)

เมื่อพบผู้ที่มีอาการภาวะตัวเย็นเกิน ควรรีบนำส่งโรงพยาบาล แต่ก่อนที่เราจะนำเขาส่งโรงพยาบาลควรที่จะต้องมีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเสียก่อน โดยมีวิธีดังนี้

  1. ให้พาผู้ป่วยหลบออกจากอากาศและลมที่หนาวเย็น หรือขึ้นจากน้ำเย็น แล้วพาเข้าไปในห้องที่อุ่นและไม่มีลมเข้ามา
  2. ถ้าเสื้อผ้าเปียกน้ำควรถอดเสื้อผ้าออก และเปลี่ยนเป็นเสื้อผ้าที่แห้งแทน
  3. ทำให้ร่างกายของผู้ป่วยอุ่น ด้วยการห่อหุ้มร่างกายผู้ป่วยด้วยผ้านวม ผ้าห่มหนา ๆ หรือเสื้อผ้าหนา ๆ ในกรณีที่ยังอยู่ในกลางแจ้ง ควรคลุมถึงหน้าและศีรษะ (เพื่อป้องกันการสูญเสียความร้อนจากบริเวณนี้) หรือนอนกอดเพื่อถ่ายเทความร้อนให้ผู้ป่วย
  4. จับผู้ป่วยให้นอนนิ่งในท่านอนหงายบนพื้นที่อบอุ่น โดยหลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวร่างกายที่ไม่จำเป็น ห้ามนวดหรือแตะต้องตัวผู้ป่วย ด้วยความรุนแรงเพราะอาจกระทบกระเทือน จนทำให้หัวใจหยุดเต้นได้
  5. ถ้าผู้ป่วยยังรู้สึกตัวควรให้ดื่มน้ำ หรือเครื่องดื่มอุ่น ๆ ห้ามไม่ให้ผู้ป่วยดื่มแอลกอฮอล์ หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ผสม เพราะจะทำให้ร่างกายสูญเสียความร้อนอย่างรวดเร็ว
  6. ถ้าหยุดหายใจให้ช่วยเหลือด้วยวิธีการเป่าปาก จากนั้นรีบนำส่งโรงพยาบาลในทันที

วิธีการป้องกันตนไม่ให้มีอาการภาวะตัวเย็นเกิน

  1. สวมใส่เสื้อผ้าให้ร่างกายอบอุ่นอยู่เสมอ
  2. หลีกเลี่ยงการสัมผัสอากาศหนาวเย็น ถ้าเลี่ยงไม่ได้ควรสวมใส่เสื้อผ้าให้เพียงพอปกคลุมถึงหน้าและศีรษะ พร้อมใส่ถุงมือ-ถุงเท้า
  3. ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ท่ามกลางสภาพอากาศที่หนาวจัด

ข้อมูลจาก : www.thaihealth.or.th, www.pobpad.comวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพจาก : https://allabout-japan.comwww.medicalnewstoday.com

Written by : Toey

ข่าวที่เกี่ยวข้อง