ผลวิจัยชี้ นอนหลับไม่พอ-อดนอน ส่งผลร้ายต่อร่างกาย มีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ

การนอนหลับ เป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่เราจะต้องใช้เวลาส่วนหนึ่งในการนอนหลับ เนื่องจากเป็นกลไกตามธรรมชาติที่ร่างกายต้องการพักผ่อน ซ่อมแซ่มในส่วนที่สึกหรอในช่วงเวลาของการนอนหลับ และตื่นขึ้นมาในวันใหม่อีกครั้งเพื่อดำเนินชีวิตต่อไปด้วยร่างกายที่แข็งแรง ไม่เจ็บป่วย

นอนหลับไม่พอ-อดนอน มีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ

แต่ด้วยในปัจจุบันวิถีการดำเนินชีวิตของคนเราได้มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ด้วยหน้าที่การทำงานที่จะต้องใช้เวลาในการทำงานมากกว่าการนอนหลับ ดังนั้นจึงทำให้บุคคลเหล่านั้นมีพฤติกรรมการนอนที่ไม่ดีต่อสุขภาพร่างกายเป็นอย่างมาก

เมื่อไม่นานมานี้ ได้มีการเปิดเผยผลการวิจัยเกี่ยวกับการนอนหลับพักผ่อนที่ไม่เพียงพอซึ่งจะส่งผลร้ายต่อร่างกายเป็นอย่างมาก โดยกลุ่มนักวิจัยโรคหัวใจและหลอดเลือดแห่งยุโรป ในงาน ESC Congress 2018

ซึ่งผลการวิจัยและการศึกษาหลายชิ้นพบว่า การนอนหลับที่น้อยหรือมากเกินไป มีส่วนเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดแข็งตัว โรคหัวใจวาย และโรคภาวะหัวใจล้มเหลว ฯลฯ

ทีมนักวิจัยได้ทำการศึกษาค้นคว้า 11 ชิ้นผลงานที่มีผู้เข้าร่วมเป็นกรณีศึกษากว่า 1 ล้านราย และผลลัพธ์ที่ได้ออกมาก็เพื่อที่จะหาจำนวนชั่วโมงที่พอเหมาะสำหรับการนอนหลับของมนุษย์ ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

จะเกิดอะไรขึ้น เมื่อเรานอนหลับไม่เพียงพอ…

ผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นกับแต่ละบุคคลนั้นมีความแตกต่างกันออกไป โดยนักวิจัยด้านการนอนหลับมักจะบอกว่า คนทั่วไปควรนอนหลับให้ได้ 7-9 ชั่วโมงต่อคืน ซึ่งเป็นจำนวนชั่วโมงการนอนที่ปลอดภัยต่อสุขภาพและสมองของเรา ช่วยลดอัตราความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งและการเสียชีวิตอย่างเฉียบพลันได้ 

แต่เมื่อพูดถึงในเรื่องของโรคหัวใจและหลอดเลือด ทีมนักวิจัยได้วิเคราะห์ออกมาแล้วว่า จำนวนที่จะช่วยลดความเสี่ยงได้ผลมากที่สุดคือ 6-8 ชั่วโมงต่อคืน หากนอนน้อยกว่านั้นจะเสี่ยงต่อการเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดแข็งตัวถึง 11% ภายในระยะเวลาประมาณ 9.3 ปี แต่ถ้าหากมีจำนวนชั่วโมงในการนอนน้อยลงไปเรื่อย ๆ ติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ ความเสี่ยงก็จะเพิ่มมากขึ้นถึง 33% เลยทีเดียว

นอกจากนี้ผลการวิจัยอีกชิ้นที่ได้มีการสรุปโดยทีมนักวิทยาศาสตร์ทางด้านหลอดเลือด ได้มีการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับอาสาสมัครที่สวมใส่สายรัดเอวเพื่อเก็บข้อมูลในการนอนหลับของพวกเขาในแต่ละวัน ก็ได้ผลลัพธ์ออกมาว่า บุคคลที่นอนน้อยกว่า 6 ชั่วโมงต่อคืน หรือตื่นขึ้นมาระหว่างการนอนหลับจะมีอัตราเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดแข็งตัวถึง 27% และจะนำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลวได้ในที่สุด

ภาพแสดงเวลาในการนอนหลับของกลุ่มตัวอย่าง ตั้งแต่นอนกว่า 6 ไปจนถึงมากกว่า 8 ชั่วโมงต่อคืน

จากภาพเราจะสังเกตได้ว่าผู้ที่นอนน้อยกว่า 6 ชั่วโมงจะมีปัญหาทางด้านหลอดเลือดมากกว่ากลุ่มอื่น ๆ นอกจากนี้ยังมีรายงานอีกหนึ่งชิ้นที่ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเอาไว้ว่า กลุ่มชายชาวสวีเดน 798 คน ที่เคยให้ข้อมูลจำนวนชั่วโมงในการนอนหลับจากผลสำรวจในปี 1993 จนถึงพวกเขาอายุครบ 50 ปี

และในเวลา 20 ปีต่อมา ชายที่นอนหลับน้อยกว่า 5 ชั่วโมงต่อคืน มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดอย่างรุนแรง (มีความเสี่ยงกว่าคนที่นอนหลับเพียงพอถึง 2 เท่าเลยทีเดียว) เมื่อมีการเทียบกับผลข้างเคียงจากการสูบบุหรี่หรือโรคเบาหวาน

อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาค้นคว้าชิ้นใหม่เหล่านี้ เป็นเพียงแค่ผลกระทบที่มีความเกี่ยวข้องกันเท่านั้น ไม่ได้เป็นสาเหตุหลักที่ทำให่เรามีอาการของโรคดังกล่าว แต่พฤติกรรมการนอนน้อยถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของสาเหตุเท่านั้น ที่ทำให้กระบวนการทางการภาพของร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงไปทางลบมากกว่าดีเท่านั้น

ข้อมูลจาก : www.businessinsider.comwww.eurekalert.orgwww.catdumb.com

Written by : Toey

บทความที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง