นาฬิกาชีวิต กับภาวะซึมเศร้า – ผลการวิจัยชี้ คนนอนดึก มักมีอาการซึมเศร้า

นาฬิกาชีวิต นาฬิกาชีวภาพ นาฬิการ่างกาย Biological clock หรือ Internal clock มีหลากหลายชื่อแล้วแต่คนจะเรียกกัน หลายคนคงเคยได้ยินคนพูดถึงมากันบ้างแล้ว ลองไปดูกันเลยดีกว่า ว่ามันมีหลักการทำงานยังไงบ้าง จะได้นำไปปรับใช้กันดู นอกจากจะส่งผลดีต่อสุขภาพร่างกายของเราแล้ว ยังดีต่อสุขภาพจิตอีกด้วยนะ เพรามีการวิจัยพบว่า นาฬิกาชีวิตเนี่ย มันเกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้า แต่จะเกี่ยวข้องกันอย่างไร ลองไปดูกันเลยดีกว่า

นาฬิกาชีวิต กับภาวะซึมเศร้า

นาฬิกาชีวิตคืออะไร?

นาฬิกาชีวิต คือ วงจรของระบบการทำงานในร่างกายมนุษย์ มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นการตื่นนอน การนอนหลับ หรือการหลั่งฮอร์โมน แม้แต่การแปรเปลี่ยนของอุณหภูมิในร่างกาย

หลักการทำงานของ นาฬิกาชีวิต

ผลการวิจัยชี้ คนนอนดึก มักมีภาวะซึมเศร้า

มนุษย์กลางคืนทั้งหลาย จากนี้ไปคุณอาจจะต้องเลิกดูเน็ตฟลิกจนตีสอง เลิกแชตกับผู้ชายจนดึก ๆ ดื่น ๆ เลิกตามกรี๊ดโอปป้าในซีรีส์เกาหลีจนเช้า เพราะงานวิจัยพบว่า การนอนดึกอาจก่อให้เกิดภาวะซึมเศร้า หรือโรคซึมเศร้าได้

ทุกกระบวนการในร่างกาย ตั้งแต่กินข้าวจนเข้านอน จะถูกควบคุมโดย นาฬิกาชีวภาพ (internal clock) ซึ่งนาฬิกาที่ว่านี้จะแปรผันไปตามสภาพแวดล้อม ในตอนเช้าที่มีแสงแดด ร่างกายของเราก็จะตื่น ในทางกลับกันเมื่อพระอาทิตย์ตกดิน ฟ้ามืด นาฬิการ่างกายของเราก็จะบอกว่าถึงเวลาที่เราต้องเข้านอน..

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยกลาสโกว ได้ทำการศึกษา ผู้ใหญ่จำนวน 91,105 คน ช่วงอายุระหว่าง 37-73 ปี โดยติดเครื่องติดตามความแอคทีฟเพื่อดูว่า ช่วงเวลาไหนที่พวกเขาจะแอคทีฟมากที่สุด ผลการศึกษา คนที่ร่างกายตื่นตัวในตอนกลางคืน หรือคนที่นอนดึกนั้นอาจจะเป็นเพราะนาฬิการ่างกายเพี้ยนไปจากปกติ

พบว่า 6-10 เปอร์เซ็นต์ของคนที่ร่างกายตื่นตัวในตอนกลางคืน หรือพวกมนุษย์กลางคืนจะเป็นคนที่มีความผิดปกติทางด้านอารมณ์ อย่างโรคซึมเศร้า และโรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar disorder) ยิ่งกว่านั้น พวกเขายังรู้สึกโดดเดี่ยวเหงาหงอย และรู้สึกไม่มีความสุขในชีวิตมากกว่าคนทั่วไปอีกด้วย

ขอบคุณข้อมูลจาก: dnet

Written by: Typrn

บทความที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง