ประโยชน์ที่ดีต่อสุขภาพจาก ต้นตีนเป็ด หรือพญาสัตบรรณ

ต้นตีนเป็ดหรือ พญาสัตบรรณ ที่หลายคนบอกว่า มันเป็นสัญญาณการมาถึงของฤดูหนาวในไทย เอกลักษณ์ของมันคือกลิ่นของดอก บางคนก็บอกว่าหอม บางคนก็บอกว่าเหม็นจนชวนเวียนหัว หากมองข้ามเรื่องกลิ่นของดอกไป รู้มั้ย? ว่า ต้นตีนเป็ด มีประโยชน์ที่ดีต่อสุขภาพหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นใบ เปลือก ต้น ใบ น้ำยาง ล้วนแล้วแต่มีสรรพคุณทางยา ในบทความนี้ขอรวบรวมประโยชน์มาให้ได้อ่านกันค่ะ

ต้นตีนเป็ด หรือ พญาสัตบรรณ

เกร็ดความรู้เรื่องชื่อ

ชื่อ พญาสัตบรรณ ต้นไม้ประจำจังหวัดสมุทรสาคร | มีชื่อสามัญว่า Devil tree, White cheesewood, Devil bark, Dita bark, Black board tree และมีชื่อเรียกตามท้องถิ่นอื่น ๆ หลายชื่อ อาทิ หัสบัน, สัตบรรณ, สัตตบรรณ, จะบัน, บะซา ปูลา, ปูแล, ตีนเป็ด, ตีนเป็ดขาว, ตีนเป็ดไทย,ต้นตีนเป็ด เป็นต้น

ประโยชน์ของ เปลือกต้น-ต้นตีนเป็ด

1. ใช้เป็นยาขมช่วยให้เจริญอาหาร
2. ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวาน
3. ช่วยแก้หวัด แก้อาการไอ รักษาหลอดลมอักเสบ
4. ต้มน้ำดื่ม สรรพคุณช่วยรักษาโรคมาลาเรีย
5. ใช้เป็นยาสมานลำไส้ ขับพยาธิไส้เดือน
6. ขับน้ำเหลืองเสีย ขับระดูของสตรี ขับน้ำนม
7. ต้นใช้ต้มน้ำอาบ ช่วยรักษาผดผื่นคัน

ประโยชน์ของ น้ำยาง

8. น้ำยางจากต้นใช้หยอดหูแก้อาการปวดหูได้
9. ใช้อุดฟันเพื่อแก้อาการปวดฟันได้
10. ในประเทศอินเดีย มีการใช้ใบและยางสีขาวใช้รักษาแผล แผลเปื่อย และอาการปวดข้อ
11. ใช้รักษาแผลที่เป็นตุ่มหนอง ช่วยทำให้แผลแห้งเร็ว

ประโยชน์ของ ใบ และดอก

12. ใบใช้ชงดื่ม ช่วยรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน (โรคลักปิดลักเปิด)
13. รักษาอาการไข้หวัด แก้ไข้ตัวร้อน
14. ช่วยรักษาโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรังได้
15. ตำใบตีนเป็ด นำมาใช้พอกเพื่อดับพิษต่าง ๆ ได้ ใช้ในการรักษาแผลเปื่อยได้
16. ดอกช่วยแก้ไข้เหนือ ไข้ตัวร้อน และช่วยแก้โลหิตพิการ

ความเชื่อโบราณของไทย

นอกจากนี้ตามความเชื่อโบราณของไทย เชื่อว่าต้นตีนเป็ดหรือพญาสัตบรรณ จัดเป็นไม้มงคลนาม ปลูกเพื่อความเป็นสิริมงคล จะทำให้มีเกียรติยศ ได้รับการยกย่องและการนับถือจากบุคคลทั่วไป เพราะมีคำว่าพญา ความหมายคือ ผู้เป็นใหญ่ที่ควรยกย่องและเคารพนับถือ

คำว่า สัต มีความหมายว่า สิ่งที่ดีงาม ความมีคุณธรรม และเพื่อความเป็นสิริมงคลให้ดียิ่งขึ้นไปอีก  แนะนำให้ปลูกทางทิศเหนือ และควรปลูกในวันเสาร์ ผู้ปลูกควรเป็นผู้ใหญ่ที่เป็นที่เคารพนับถือหรือเป็นผู้ที่ประกอบคุณงามความดี

อ้างอิงข้อมูลจาก: medthai, springnews, เว็บไซต์กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, เว็บไซต์สวนพฤกษศาสตร์ โรงเรียนจุนวิทยาคม, เว็บไซต์โครงการจัดตั้งศูนย์วิจัย และการจัดการความรู้ทางพฤกษศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์, เว็บไซต์สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง จังหวัดเชียงใหม่

บทความแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง