รู้จักกับโรคซึมเศร้า ทำความเข้าใจ เตรียมตัวรับมือ เป็นได้ก็รักษาให้หายได้

ข้อมูลดี ๆ จาก นายแพทย์อดิศร มนูสาร อายุรแพทย์ โรงพยาบาล พริ้นซ์ สุวรรณภูมิ เกี่ยวกับอาการ โรคซึมเศร้า มาให้ได้ทำความรู้จักกับโรคนี้มากขึ้น และได้นำไปลองสังเกตคนใกล้ชิดกัน เพื่อเป็นประโยชน์ในการหาแนวทางการรักษาที่ถูกต้อง ได้ทันท่วงที และป้องกันการฆ่าตัวตายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

โรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้าเป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่ง อันเกิดจากความผิดปกติของสารสื่อประสาทในสมอง 3 ชนิด ได้แก่ ซีโรโตนิน (Serotonin) นอร์เอปิเนฟริน (Norepinephrine) และโดปามีน (Dopamine) ซึ่งส่งผลกระทบต่อความคิด อารมณ์ ความรู้สึก พฤติกรรม รวมไปถึงสุขภาพกาย

สาเหตุของการเกิดโรคซึมเศร้า

มีสาเหตุมาจากพันธุกรรม สารเคมีในสมอง สภาพแวดล้อม เช่น การเลี้ยงดูของพ่อแม่ อิทธิพลจากคนใกล้ชิด การเผชิญกับความสูญเสียครั้งใหญ่ ลักษณะนิสัย โดยเฉพาะคนที่อ่อนไหวง่าย คิดมาก มองโลกในแง่ลบ

อาการของโรคซึมเศร้า

หากมีอากาเหล่านี้อยู่เกือบตลอดเวลา เป็นเวลาติดต่อกันไม่ต่ำกว่า 14 วัน ถือว่ามีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคซึมเศร้า ควรรีบพบแพทย์โดยด่วน ที่สังเกตได้ อาทิ

การตรวจวินิจฉัยโรคซึมเศร้า

สามารถตรวจวินิจฉัยได้ด้วยการซักประวัติ สอบถามอาการและเรื่องราวจากผู้ป่วยหรือคนใกล้ชิด หรือทำแบบทดสอบทางจิตวิทยา เพื่อให้เข้าใจ และแน่ใจว่าผู้ป่วยไม่ได้เป็นโรคทางจิตเวชอื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกับโรคซึมเศร้า ในบางรายที่สงสัยว่าผู้ป่วยอาจมีโรคทางร่างกายอื่น ๆ ที่อาจเป็นสาเหตุของอาการที่พบ อาจมีการตรวจร่างกาย และส่งตรวจพิเศษที่จำเป็น

ลองทำแบบทดสอบ : คุณเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่ ? เช็คด่วน ตรวจสอบโรคซึมเศร้า ที่นี่ !!

แนวทางการรักษา

แนวทางการรักษามีหลายวิธี ได้แก่ รักษาด้วยการใช้ยา โดยในปัจจุบันยารักษาโรคซึมเศร้าถือเป็นยาที่ปลอดภัย ไม่ค่อยมีผลข้างเคียง ไม่ทำให้เกิดการติดยา และไม่ทำให้เกิดอาการมึนงงอย่างที่เข้าใจผิดกัน นอกจากนี้ควรกินยาตามที่แพทย์สั่ง และไม่ควรหยุดยาเองโดยเด็ดขาด รักษาด้วยจิตบำบัดและการพูดคุยให้คำปรึกษา โดยแพทย์จะช่วยเหลือชี้แนะการมองปัญหาต่าง ๆ ในมุมมองใหม่ และแนวทางในการปรับตัว หรือแม้แต่การหาสิ่งที่ช่วยทำให้จิตใจผ่อนคลายความทุกข์ใจลง และรักษาด้วยไฟฟ้า ในรายที่มีอาการรุนแรง

ฝึกคิดบวก ให้ห่างไกลจากโรคซึมเศร้า

รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยหากขาดสารอาหารบางอย่างไป เช่น โอเมก้า 3 วิตามินอี วิตามินซี วิตามินดี ทองแดง และธาตุเหล็ก อาจทำให้มีความเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้ามากขึ้น หมั่นออกกำลังกาย โดยควรออกกำลังกายอย่างน้อย 4 วันต่อสัปดาห์ ต่อเนื่องกัน 30 – 40 นาที และพักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หลีกเลี่ยงการใช้สารเสพติด

ในด้านการใช้ชีวิต ควรหลีกเลี่ยงการนำตนเองไปอยู่ในสถานการณ์ที่ทำให้จิตใจหดหู่ ฝึกคิดบวก ควรหาเวลาออกไปทำกิจกรรมที่ทำให้เกิดความรู้สึกที่ดี ๆ สนุกสนาน ทำให้ตนเองรู้สึกมั่นใจและมีคุณค่า และได้ใช้เวลาร่วมกับคนอื่น ๆ มากกว่าที่จะอยู่คนเดียว

วิธีรับมือ เมื่อคนใกล้ตัวเป็นโรคซึมเศร้า

หากคนใกล้ชิดมีอาการ ควรรีบพาไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม และย้ำเตือนให้รับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง ระวังเรื่องการใช้คำพูดที่บั่นทอน ซ้ำเติม หรือดูเหมือนปัญหาของเขาเป็นเรื่องเล็ก เช่น เรื่องแค่นี้เอง คนอื่นยังไม่เห็นเป็นอะไรเลย ให้กำลังใจด้วยคำพูดดี เช่น ฉันอยู่ข้าง ๆ เธอนะ เธอยังมีฉันอยู่นะ พูดคุยแบบรับฟังโดยไม่ตัดสิน เป็นต้น แสดงออกผ่านการกระทำ เช่น กอด จับมือ เป็นต้น

จะเห็นได้ว่าโรคซึมเศร้านั้นเป็นโรคทางจิตเวชที่เกิดจากความผิดปกติของสารเคมีในสมอง ไม่ใช่ความอ่อนแอทางด้านจิตใจของผู้ป่วยแต่อย่างใด และไม่ใช่โรคประหลาด โรคนี้เป็นได้ก็สามารถรักษาให้หายได้เช่นกัน ดังนั้น ผู้ป่วยไม่ต้องกลัวที่จะเข้ารับการรักษา เพราะยิ่งรักษาเร็วเท่าไหร่อาการก็จะยิ่งดีขึ้นเร็วเท่านั้น

ที่มา นายแพทย์อดิศร มนูสาร อายุรแพทย์ Principal Healthcare Company และ ที่มา MThai.com

บทความแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง