นอนดึก นาฬิกาชีวภาพ นาฬิกาชีวิต อดนอน โรคซึมเศร้า

นาฬิกาชีวิต กับภาวะซึมเศร้า – ผลการวิจัยชี้ คนนอนดึก มักมีอาการซึมเศร้า

Home / สุขภาพทั่วไป / นาฬิกาชีวิต กับภาวะซึมเศร้า – ผลการวิจัยชี้ คนนอนดึก มักมีอาการซึมเศร้า

นาฬิกาชีวิต นาฬิกาชีวภาพ นาฬิการ่างกาย Biological clock หรือ Internal clock มีหลากหลายชื่อแล้วแต่คนจะเรียกกัน หลายคนคงเคยได้ยินคนพูดถึงมากันบ้างแล้ว ลองไปดูกันเลยดีกว่า ว่ามันมีหลักการทำงานยังไงบ้าง จะได้นำไปปรับใช้กันดู นอกจากจะส่งผลดีต่อสุขภาพร่างกายของเราแล้ว ยังดีต่อสุขภาพจิตอีกด้วยนะ เพรามีการวิจัยพบว่า นาฬิกาชีวิตเนี่ย มันเกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้า แต่จะเกี่ยวข้องกันอย่างไร ลองไปดูกันเลยดีกว่า

นาฬิกาชีวิต กับภาวะซึมเศร้า

นาฬิกาชีวิตคืออะไร?

นาฬิกาชีวิต คือ วงจรของระบบการทำงานในร่างกายมนุษย์ มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นการตื่นนอน การนอนหลับ หรือการหลั่งฮอร์โมน แม้แต่การแปรเปลี่ยนของอุณหภูมิในร่างกาย

หลักการทำงานของ นาฬิกาชีวิต

  • 01.00-03.00 น. ช่วงเวลาทำงานของตับ
    เป็นช่วงเวลาที่ควรนอนหลับ ให้ตับได้ทำงานอย่างเต็มที่ กำจัดของเสียออกจากร่างกาย ผลิตอินซูลิน และผลิตน้ำดีไว้ย่อยไขมัน และเป็นเวลาที่ควรงดอาหาร
  • 03.00-05.00 น. ช่วงเวลาทำงานของปอด
    เป็นเวลาที่ปอดฟอกเลือดได้อย่างเต็มที่ เป็นเหตุผลที่ตื่นเช้าจะรู้สึกสดชื่น เพราะได้ตื่นมาสูดอากาศยามเช้า
  • 05.00-07.00 น. ช่วงเวลาทำงานของลำไส้ใหญ่
    ลำไส้ใหญ่จะทำงานได้ดี เป็นช่วงเวลาที่ควรขับถ่าย
  • 07.00-09.00 น. ช่วงเวลาทำงานของกระเพาะอาหาร
    เป็นเวลาที่กระเพาะจะดูดซึมและย่อยสารอาหารต่าง ๆ ได้ดีที่สุด จึงเป็นสาเหตุที่เราไม่ควรอดมื้อเช้า 
  • 09.00-11.00 น. ช่วงเวลาทำงานของม้าม
    การกินอาหารในเวลานี้ทำให้อ้วนง่าย การนอนในเวลานี้จะทำให้ม้ามทำงานได้ไม่ดีเท่าที่ควร
  • 11.00-13.00 น. ช่วงเวลาทำงานของหัวใจ
    หัวใจจะทำงานหนักช่วงเวลานี้ เป็นช่วงเวลาที่ห้ามเครียด พักเที่ยงชิล ๆ ไปเลย
  • 13.00-15.00 น. ช่วงเวลาทำงานของลำไส้เล็ก งดกินช่วงนี้ สมองแล่น
    ช่วงเวลานี้ไม่ควรกินอาหารทุกชนิด ลำไส้เล็กจะได้ทำงานอย่างเต็มที่ และเป็นช่วงที่สมองซีกขวาทำงานได้ดี
  • 17.00-19.00 น. ช่วงเวลาทำงานของไต
    ห้ามนอนเวลานี้ เพราะจะทำให้ไตทำงานหนัก ควรออกกำลังกาย หรือหาอะไรทำ ห้ามอยู่นิ่ง ๆ เพื่อให้ร่างกายสดชื่น เพิ่มความดันเลือด
  • 19.00-21.00 น. ช่วงเวลาทำงานของเยื่อหุ้มหัวใจ
    ช่วงนี้ควรอยู่นิ่ง ๆ จะโยคะ นั่งสมาธิ หรือนอนแช่น้ำอุ่นชิล ๆ ก็ได้
  • 21.00-23.00 น. ช่วงเวลาทำงานของอุณหภูมิในร่างกาย
    เป็นเวลาที่ร่างกายต้องการความอบอุ่น ไม่ควรอาบน้ำเย็นในช่วงนี้ จะทำให้ร่างกายอ่อนแอได้ง่าย
  • 23.00-01.00 น. ช่วงเวลาทำงานของถุงน้ำดี
    ควรดื่มน้ำก่อนเข้านอน ป้องกันไม่ให้น้ำดีข้นเกินไป ส่งผลให้เหงือกบวม ปวดฟัน นอนไม่หลับ

ผลการวิจัยชี้ คนนอนดึก มักมีภาวะซึมเศร้า

มนุษย์กลางคืนทั้งหลาย จากนี้ไปคุณอาจจะต้องเลิกดูเน็ตฟลิกจนตีสอง เลิกแชตกับผู้ชายจนดึก ๆ ดื่น ๆ เลิกตามกรี๊ดโอปป้าในซีรีส์เกาหลีจนเช้า เพราะงานวิจัยพบว่า การนอนดึกอาจก่อให้เกิดภาวะซึมเศร้า หรือโรคซึมเศร้าได้

ทุกกระบวนการในร่างกาย ตั้งแต่กินข้าวจนเข้านอน จะถูกควบคุมโดย นาฬิกาชีวภาพ (internal clock) ซึ่งนาฬิกาที่ว่านี้จะแปรผันไปตามสภาพแวดล้อม ในตอนเช้าที่มีแสงแดด ร่างกายของเราก็จะตื่น ในทางกลับกันเมื่อพระอาทิตย์ตกดิน ฟ้ามืด นาฬิการ่างกายของเราก็จะบอกว่าถึงเวลาที่เราต้องเข้านอน..

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยกลาสโกว ได้ทำการศึกษา ผู้ใหญ่จำนวน 91,105 คน ช่วงอายุระหว่าง 37-73 ปี โดยติดเครื่องติดตามความแอคทีฟเพื่อดูว่า ช่วงเวลาไหนที่พวกเขาจะแอคทีฟมากที่สุด ผลการศึกษา คนที่ร่างกายตื่นตัวในตอนกลางคืน หรือคนที่นอนดึกนั้นอาจจะเป็นเพราะนาฬิการ่างกายเพี้ยนไปจากปกติ

พบว่า 6-10 เปอร์เซ็นต์ของคนที่ร่างกายตื่นตัวในตอนกลางคืน หรือพวกมนุษย์กลางคืนจะเป็นคนที่มีความผิดปกติทางด้านอารมณ์ อย่างโรคซึมเศร้า และโรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar disorder) ยิ่งกว่านั้น พวกเขายังรู้สึกโดดเดี่ยวเหงาหงอย และรู้สึกไม่มีความสุขในชีวิตมากกว่าคนทั่วไปอีกด้วย

ขอบคุณข้อมูลจาก: dnet

Written by: Typrn

บทความที่เกี่ยวข้อง