การฆ่าตัวตาย การดูแลจิตใจ โรคซึมเศร้า

ช่วยเพื่อนด่วน! แนวทางป้องกันการฆ่าตัวตาย จาก โรคซึมเศร้า

Home / สุขภาพทั่วไป / ช่วยเพื่อนด่วน! แนวทางป้องกันการฆ่าตัวตาย จาก โรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้า ถือเป็นอีกหนึ่งปัญหาด้านสุขภาพของคนไทยที่มีความสำคัญและน่าเป็นห่วงอย่างมาก โดยสังเกตได้จากสังคมในปัจจุบันนี้ที่มักมีข่าวเกี่ยวกับปัญหา การฆ่าตัวตาย รวมทั้งปัญหาการทำร้ายร่างกายของตัวเองและคนรอบข้าง ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้ก็นับเป็นเรื่องที่น่าสลดใจไม่น้อยทีเดียว เพราะฉะนั้น ต้นตอสาเหตุจากการที่ผู้ป่วยประสบปัญหาชีวิต ปัญหาครอบครัว การงาน การเงินหรือพบเจอความล้มเหลวสูญเสียในชีวิตอย่างรุนแรง ทุกปัญหานั้นล้วนเป็นสาเหตุนำมาสู่การเกิดโรคซึมเศร้าได้หมดทั้งสิ้น

ช่วยเพื่อนด่วน! แนวทางป้องกันการฆ่าตัวตาย จาก โรคซึมเศร้า

คลิป ตอบคำถาม โรคซึมเศร้า โดย พญ.ชัญวลี ศรีสุโข

สังเกต หากเพื่อนมีพฤติกรรม อาการเหล่านี้

  • อารมณ์ไม่สนุกสนาน ไม่ร่าเริงเหมือนเดิม ไม่มีความสุข เบื่อ ท้อแท้ เครียด หงุดหงิด และเศร้า
  • หมดความสนใจในสิ่งต่างๆ เบื่อสิ่งที่เคยทำแล้วสนุก มีความสุข ไม่อยากทำอะไร ไม่อยากเจอใคร
  • เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลงมาก (หรือบางคนกินมากเพื่อให้หายเครียด น้ำหนักเพิ่มขึ้น)
  • นอนไม่หลับ หลับๆ ตื่นๆ หรือตื่นเร็วกว่าเดิม 2-3 ชั่วโมงแล้วไม่มีความสุข นอนต่อไปไม่ได้ (แต่บางคนนอนมากขึ้นเนื่องจากไม่อยากทำอะไร นอนแต่ก็ไม่หลับ)
  • เหนื่อยหน่าย อ่อนเพลีย ไม่มีแรง ไม่อยากทำอะไร
  • ความคิดช้า การเคลื่อนไหวช้า
  • สมาธิความจำเสีย ตั้งใจทำงานไม่ได้ ลังเลตัดสินใจลำบาก
  • คิดว่าตัวเองไร้ค่า ทำผิด ทำไม่ดี คิดต่อตัวเองไม่ดี
  • อยากตายและฆ่าตัวตาย

ช่วยเพื่อนด่วน! แนวทางป้องกันการฆ่าตัวตาย จาก โรคซึมเศร้า

คนที่กำลังคิดฆ่าตัวตายนั้น บางทีแสดงออกเป็นพฤติกรรมให้รู้ได้ เช่น

  • บางคนเปรยๆ ให้คนใกล้ชิดฟัง เช่น “รู้สึกเบื่อจัง ไม่รู้จะอยู่ไปทำไม”
  • บางคนพูดเป็นเชิงฝากฝัง สั่งเสีย เช่น “ฝากดูแลลูกด้วยนะ”
  • บางคนดำเนินการบางอย่าง เช่น ทำพินัยกรรม โอนทรัพย์สมบัติให้ลูกหลาน
  • ถ้าสงสัยว่าจะคิดฆ่าตัวตายหรือไม่ ควรถาม
  • การถามเรื่องนี้เป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะช่วยรักษาชีวิตเขาไว้ได้

การถามเรื่องฆ่าตัวตาย ทำได้โดยใช้ชุดคำถามขั้นบันไดดังนี้

  1. เมื่อพบว่ามีอารมณ์ซึมเศร้า ให้ถามต่อไปว่า “ความเศร้านั้นมากจนทำให้เบื่อชีวิต หรือไม่”
  2. ถ้าตอบรับ ให้ถามต่อไปว่า “คิดอยากตาย หรือไม่”
  3. ถ้าตอบรับ ให้ถามต่อไปว่า “คิดจะทำหรือไม่”
  4. ถ้าตอบรับ ให้ถามต่อไปว่า “คิดจะทำอย่างไร”
  5. ถ้าตอบรับ ให้ถามต่อไปว่า “เคยทำหรือไม่”
  6. ถ้าตอบรับ ให้ถามต่อไปว่า “เคยทำอย่างไร”
  7. สุดท้าย ให้ถามต่อไปว่า “มีอะไรยับยั้งใจ จนทำให้ไม่ได้ทำ”

คำถามสุดท้าย ไม่ว่าจะตอบอย่างไร จะเป็นปัจจัยทางบวกที่ช่วยให้เขายั้งคิด ไม่ทำในครั้งต่อไปเช่นกัน

ช่วยเพื่อนด่วน! แนวทางป้องกันการฆ่าตัวตาย จาก โรคซึมเศร้า

บางคนมีความเชื่อผิดๆ ว่า การถามเรื่องการฆ่าตัวตาย จะไปกระตุ้นคนที่ยังไม่คิดไปคิดฆ่าตัวตาย หรือคนที่คิดอยากตายอยู่แล้วจะเป็นการกระตุ้นให้ทำ ความเชื่อเหล่านี้ไม่เป็นความจริง

ความจริงคือ การถามไม่ได้ชักจูงหรือกระตุ้นให้ทำ คนที่คิดจะทำอยู่แล้วจะรู้สึกดีขึ้น จนไม่ทำจริง

เราทุกคนมีส่วนร่วมในการป้องกัน การฆ่าตัวตาย

ได้ดังนี้

  • การสนใจ ใส่ใจ สังเกตตนเองและเพื่อนๆ ว่ามีอาการของโรคซึมเศร้า หรือไม่ มีความคิดฆ่าตัวตายหรือไม่
  • ถ้าเกิด โรคซึมเศร้า ให้มาพบจิตแพทย์โดยเร็ว หรือแนะนำผู้ที่ซึมเศร้ามาพบจิตแพทย์

 

written by : TuTee

รวบรวมข้อมูลจาก honestdocs.co และ psyclin.co.th

บทความที่เกี่ยวข้อง