โรคเริม ที่ปาก เกิดจากอะไร มีวิธีดูแลรักษา และป้องกันอย่างไร?

โรคเริมที่ปาก ถือได้ว่าเป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่ง ที่เกิดขึ้นได้เนื่องจากการติดเชื้อ อีกทั้งความเครียดยังคงเป็นอีกหนึ่งสาเหตุ ที่ทำให้เกิด โรคเริม ได้เช่นเดียวกัน สำหรับผู้ที่เป็นโรคเริมที่ปาก มักจะค้นพบตุ่มแดง ๆ ใส ๆ เกิดขึ้นบริเวณปากบนและปากล่าง อีกทั้งยังคงรู้สึกคัน และมีอาการปวดแสบปวดร้อนตลอดเวลา จนกระทั่งส่งผลทำให้คุณเกิดความรำคาญใจได้ในที่สุด

โรคเริม ที่ปาก เกิดจากอะไร

สาเหตุ โรคเริม

สำหรับ โรคเริม ที่เกิดขึ้นที่ปาก สาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้เกิดโรคเริมที่ปากนั้น ส่วนใหญ่จะสืบเนื่องมาจากผู้ป่วยมีอาการติดเชื้อไวรัส ซึ่งเชื้อไวรัสที่ว่านี้ อาจจะอยู่ในน้ำลาย น้ำเหลือง หรือแม้กระทั่งอสุจิ ซึ่งเชื้อไวรัสเหล่านี้ จะสามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านทางผิวหนัง โดยเฉพาะบริเวณที่เป็นแผลถลอก หรือผ่านทางเพศสัมพันธ์ได้ อีกทั้งยังสามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านทางเยื่อเมือกและเยื่อบุช่องปากได้อีกด้วย

ปัจจัยที่เร่งให้เกิดโรคเริมบริเวณปาก

สำหรับโรคเริมที่เกิดขึ้นบริเวณปาก เมื่อเป็นแล้วรักษาหายแล้ว ก็สามารถกลับมาเป็นอีกได้ โดยเฉพาะถ้าหากผู้ป่วยเกิดอาการเครียดอย่างเป็นประจำ มีลักษณะนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ จนกระทั่งส่งผลทำให้สุขภาพร่างกายไม่แข็งแรง และระบบภูมิคุ้มกันต่ำลง โรคเริม ก็จะกลับมาทำร้ายคุณแบบซ้ำแล้ว ซ้ำเล่าได้อย่างต่อเนื่อง

อาการของเริม

โดยรวมแล้วอาการของเริมที่ปาก และเริมที่อวัยวะเพศนั้น ค่อนข้างคล้ายกัน โดยจะมีตุ่มน้ำใสบริเวณที่ติดเชื้อ ได้แก่ ปาก อวัยวะเพศ ทวารหนัก บั้นท้าย หรือต้นขา มีอาการเจ็บปวด แสบที่บริเวณแผล หากเป็นการติดเชื้อครั้งแรกจะมีอาการค่อนข้างรุนแรงและหายช้า แต่ถ้าหากเป็นการติดเชื้อซ้ำ อาการจะไม่รุนแรงและหายได้เร็วกว่า

การติดต่อของโรค

สำหรับโรคเริมที่เกิดขึ้นบริเวณปาก นับได้ว่าเป็นโรคชนิดหนึ่งที่ สามารถติดต่อกันได้ โดยเฉพาะการติดต่อจะผ่านทางน้ำลาย และน้ำเหลือง ส่วนพฤติกรรมที่ทำให้เกิดการติดต่อของโรคนี้ ไม่ว่าจะเป็น การดื่มน้ำแก้วเดียวกัน ใช้ของร่วมกัน หรือแม้กระทั่งการจูบปากกัน เนื่องจากพฤติกรรมเหล่านี้ จะส่งผลทำให้เชื้อไวรัสแพร่กระจายไปยังคนใกล้ตัวได้

การวินิจฉัยเริม

โรคเริม สามารถวินิจฉัยด้วยการตรวจโดยแพทย์ แต่ถ้าหากแพทย์ไม่แน่ใจว่าใช่อาการของเริมหรือไม่แพทย์ก็อาจจะมีการสั่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่ม เช่น การตรวจเลือด การเพาะเชื้อ เนื่องจากอาการของเริมนั้นค่อนข้างคล้ายกับโรคอื่น ๆ อาทิ โรคงูสวัด แผลร้อนใน การติดเชื้อแบคทีเรีย

การรักษา โรคติดต่อ เริม

ปัจจุบัน โรคเริม ยังคงเป็นโรคที่ ไม่สามารถรักษาให้หายสนิทได้ ซึ่งโดยหลัก ๆ แล้วการรักษาโรคเริมจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ

1. การบรรเทาอาการเจ็บปวด โดยแพทย์อาจสั่งยาบรรเทาอาการปวด ซึ่งแผลจากโรคเริมจะสามารถหายเองได้ภายในเวลา 2-6 สัปดาห์ และถ้าหากมีอาการปวดมาก ยังคงสามารถประคบด้วยน้ำเกลือหรือน้ำเย็นที่บริเวณแผล วันละประมาณ 4-5 ครั้ง เพื่อช่วยลดอาการปวดให้ลดลงได้

2. การควบคุมการแพร่กระจายของไวรัส โดยปกติแล้วเมื่อมีอาการของโรคเริม แพทย์มักจะสั่งใช้ ยาอะไซโคลเวียร์ (Acyclovir) หรือ ยาวาลาไซโคลเวียร์ (Valacyclovir) เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส และช่วยลดความรุนแรงของอาการ โดยยาเหล่านี้จะอยู่ในรูปของยาชนิดรับประทาน นอกจากนี้ ยาที่มีส่วนประกอบของอะไซโคลเวียร์ที่อยู่ในรูปแบบครีมสำหรับทา ก็ยังนิยมนำมาใช้เพื่อบรรเทาอาการของเริมในขณะที่เป็นได้ด้วย

วิธีการป้องกัน เพื่อไม่ให้เป็น โรคเริมที่ปาก

วิธีการป้องกันเริมที่ดีที่สุด ก็คือการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงในการติดเชื้อทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็น

สำหรับผู้ป่วยที่เคยมีการติดเชื้อมาก่อนแล้ว ควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเนื่องจากเชื้อไวรัสจะโจมตีร่างกายเมื่อภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ถ้าหากมีสุขภาพที่แข็งแรงก็จะช่วยให้การติดเชื้อลดลงได้

ขอบคุณข้อมูลจาก pobpad.com และ honestdocs.co

Write by TuTee

บทความแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง