ยิ่งใช้ระยะเวลาในการเดินมากเท่าไร ร่างกายจะได้รับประโยชน์มากตามไปด้วยหรือเปล่า แต่ละช่วงเวลาของการเดินนั้น จะได้รับประโยชน์อะไรบ้าง วันนี้มีสาระความรู้จาก กรมอนามัย มาเผยแพร่ให้ทุกคนได้รู้กันค่ะ
ช่วงเวลาการเดินในแต่ละนาที ร่างกายจะได้ประโยชน์อะไร
จะเกิดอะไรกับร่างกายบ้าง
การเดินนาทีที่ 1-5 ช่วงแรกของการเดิน
การเดินนาที่ที่ 1-5 หรือช่วง 2-3 ก้าวแรก จะช่วยกระตุ้นปล่อยสารเคมีเพื่อเป็นเชื้อให้กับการเดิน ชีพจรจะเร่งขึ้นเป็น 70-100 ครั้งต่อนาที กระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต และให้ความอบอุ่นแก่กล้ามเนื้อ ไขข้อที่ฝืด และตึงจะคลายตัวลงเพื่อให้การเคลื่อนไหวทำได้ง่ายขึ้น เมื่อเคลื่อนที่ไปร่างกายจะเผาผลาญพลังงาน 5 แคลอรีต่อนาที
การเดินนาทีที่ 6-10 ชีพจรเต้นเร็วขึ้น
ร่างกายจะเผาผลาญพลังงานเพิ่มขึ้นเป็น 6 แคลอรีต่อนาที เมื่อก้าวเท้าได้มากขึ้นความดันโลหิตที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจะช่วยขยายเส้นเลือด ทำให้เลือดและออกซิเจนเข้าสู่กล้ามเนื้อที่กำลังใช้งานมากขึ้น
การเดินนาทีที่ 11-20 เหงื่อเริ่มออก
เมื่อเส้นเลือดส่วนที่ใกล้ผิวหนังขยายขึ้นเริ่มปลดปล่อยความร้อนออกมา เมื่อเดินมากขึ้นจะเผาผลาญได้มากไปถึง 7 แคลอรีต่อนาทีและหายใจเร็วขึ้น สารฮอร์โมน เช่น เอฟพะเนฟฟริน และกลูคากอน จะถูกปล่อยออกมามากขึ้น เพพื่อเพิ่มเชื้อให้กับกล้ามเนื้อที่กำลังใช้งานอยู่
การเดินนาทีที่ 46-60 กล้ามเนื้ออาจจะรู้สึกเมื่อยล้า
เมื่อปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่สะสมอยู่ลดลง ร่างกายเริ่มเย็นตัวลง ชีพจรจะเต้น และหายใจช้าลง อัตราการเผาผลาญพลังงานจะลดน้อยลง แต่ก็ยังสูงกว่าตอนที่เริ่มเดิน จำนวนแคลอรีที่เผาผลาญจะคงที่ไปอีกราวหนึ่งชั่วโมง ซึ่งเราจะไม่รู้ตัวกับภาวะร่างกายที่กล่าวมา
บทความแนะนำ
- 8 สิ่งที่จะเกิดขึ้นกับร่างกาย เมื่อคุณออกเดินทุกวัน การเดินมีประโยชน์มากกว่าที่คิด
- ออกกำลังกายให้ต้นขากระชับ ก้นงามงอน ด้วยท่า สควอช (Squat)
- 10 ท่าทะลายพุง ออกกำลังกาย บอกลาไขมันหน้าท้อง
- 6 การออกกำลังกายแบบ Anti-Aging ที่จะทำให้คุณกลายเป็นคนใหม่ อ่อนวัยลงกว่าเดิม
- ข้อดีของการออกกำลังกาย ในหน้าหนาว – อากาศหนาวๆ ยิ่งต้องเสียเหงื่อ เพื่อสุขภาพที่ดีของเรา
- เคล็ดลับการเดินเร็ว ให้สตรองและสนุกกว่าเดิม – ชีวิตดีๆ เริ่มง่ายๆ ด้วยการเดินเร็ว