วิธีป้องกันไวรัสเมอร์ส (MERS) โรคติดต่อร้ายแรงที่ยังหยุดไม่อยู่

ไวรัสเมอร์ส (MERS) โรคติดต่อโรคระบบทางเดินทายใจตะวันออกกลาง ตอนนี้ได้เข้ามาถึงในไทยแล้ว! ซึ่ง ศาสตราจารย์นายแพทย์รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้แถลงผลตรวจเชื้อของผู้ป่วยชายชาวตะวันออกกลาง อายุ 70 ปี ว่าพบผลติดเชื้่อไวรัสเมอร์สไปเมื่อวานนี้ (18 มิ.ย.58) ซึ่งก่อนหน้านี้ไวรัสเมอร์ส์ได้ระบาดหนักอยู่ที่เกาหลีใต้ ส่งผลให้มีประชากรติดเชื้อ และเสียชีวิต

ยิ่งไปกว่านั้นยังไม่สามารถหยุดเชื้อตัวนี้ได้อีกด้วย ดังนั้น ไวรัสเมอร์สถือเป็นโรคระบาดที่ร้ายแรง เพราะยังไม่มีทางรักษา วันนี้ เย็นตาโฟดอทคอม จึงอยากให้เพื่อนๆ ทุกคน ได้รู้จักกับเจ้าไวรัสเมอร์สพร้อมทั้งวิธีการป้องกัน โดยเราสรุปมาทั้งหมด 7 ข้อ เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายๆ ค่ะ

ไวรัสเมอร์ส (MERS) ทำความรู้จักวิธีป้องกัน

โรคติดต่อร้ายแรงที่ยังหยุดไม่อยู่

1.โรคระบบทางเดินทายใจตะวันออกกลาง หรือ ไวรัสเมอร์ส MERS ย่อมาจาก Middle East Respiratory Syndrome  เกิดจากเชื้อไวรัสโคโรนา ซึ่งเป็นโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ จัดอยู่ในตระกูลเดียวกับพวกเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคทางระบบทางเดินหายใจตั้งแต่ที่ไม่รุนแรง อย่างไข้หวัด รวมไปจนถึงโรคที่รุนแรงมากๆ  อาทิ โรคซาร์ส

2.เชื้อไวรัสเมอร์สเกิดขึ้นครั้งแรกใน ค.ศ.2012 (ปี 2555) ที่ประเทศซาอุดีอาระเบีย และได้แพร่กระจายไปประเทศอื่นๆ ดังนี้ จอร์แดน, การ์ต้า, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, อิตาลี, ตูนีเซีย, อียิปต์, อังกฤษ, สหรัฐฯ  โดยล่าสุดคือประเทศ เกาหลีใต้

3.อาการของผู้ติดเชื้อไวรัสเมอร์สนั้น จะไอ ไข้ขึ้นสูงผิดปกติ  หายใจลำบาก ซึ่งอาจจะสังเกตได้ยากเพราะดูเผินๆ แล้วเหมือนเป็นไข้หวัดธรรมดาทั่วไป แต่หากถ้าหนักเข้า จะมีอาการท้องเสีย คลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย และส่งผลให้เสียชีวิตได้ในที่สุด

วิธีป้องกัน โรคติดต่อโรคระบบทางเดินทายใจตะวันออกกลาง

4.ไวรัสเมอร์สจะแพร่เชื้อโรคเข้าสู่คนที่มีร่างกายอ่อนแอได้ดีที่สุด  ยกตัวอย่างเช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรังอย่างโรคเบาหวาน โรคปอด จะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ช๊อก อวัยวะล้มเหลว และเสียชีวิตในที่สุด

5.คนติดเชื้อเมอร์สได้อย่างไร?  โรคเมอร์สเป็นโรคติดต่อ แต่อยู่ในวงจำกัด คือกลุ่มทีเสี่ยงติดที่สุดคือ คนที่ไปสัมผัสคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ที่ติดเชื้อ อาจจะติดจากการไอ การจาม  โดยไม่มีการใช้อุปกรณ์ป้องกันร่างกาย กลุ่มเสี่ยงได้แก่ สมาชิกในครอบครัวผู้ป่วย บุคลากรทางการแพทย์ การระบาดที่เกิดขึ้นนี้ส่วนใหญ่ติดต่อจากคนสู่คนในสถานพยาบาล และอาจจะตามสถานที่การเดินทางต่างๆ ด้วย

6.วิธีการป้องกันที่ดีที่สุด มีดังนี้คือ

– กินร้อน ช้อนกลาง และล้างมือทุกครั้งก่อนจะรับประทานอาหาร
– ใช้ผ้าหรือกระดาษปิดปากเมื่อจาม
– หลีกเลี่ยงไปสถานที่เสี่ยง ที่ๆ มีผู้คนแออัด และไม่ควรคลุกคลีกับผู้ที่มีอาการป่วย หากเลี่ยงไม่ได้ ควรสวมหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกัน
-หากเดินทางไปต่างประเทศ กลับมาแล้ว มีอาการไอ ไข้ขึ้น มากกว่า 2 วันขึ้นไป ควรรีบไปพบแพทย์ดีที่สุด พร้อมทั้งแจ้งเรื่องการเดินทางด้วย

7.หลีกเลี่ยงการไปฟาร์มปศุสัตว์ต่างๆ

สุดท้ายเรามีภาพอินโฟกราฟิก เกี่ยวกับโรคเมอร์สมาให้ด้วยค่ะ

ไวรัสเมอร์ส (MERS) 

สามารถสอบถามเพิ่มเติม โทรสายด่วนกรมควบคุมโรค 1422 ตลอด 24 ชั่วโมง

รูปภาพจาก http://beid.ddc.moph.go.th/beid_2014/th/content/infographic

บทความแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง