ความเข้าใจผิด เกี่ยวกับลักษณะของเส้นผม แบบต่างๆ – สรีระศาสตร์

คนไทยเราโดยมากจะเข้าใจผิดนึกว่าผมที่เหยียดตรง ลีบแบน และลื่น นั้นเป็นผมเส้นเล็ก แต่ตามหลักวิชาการของสรีระศาสตร์ของมนุษย์นั้นไม่ได้เป็นเช่นที่เราคิด .. นักวิชาการชาวตะวันตกได้แบ่งลักษณะเส้นผมของมนุษย์ออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ๆคือ ผมเส้นเล็ก และผมเส้นใหญ่

ความเข้าใจผิด เกี่ยวกับลักษณะของเส้นผม

ผมเส้นเล็ก

1. ลักษณะของคนที่มีผมเส้นเล็กนั้น เป็นลักษณะผมของชาวตะวันตก ซึ่งจะมีลักษณะหลอดผมที่หยักศก เส้นเล็กเป็นใยไหม แลดูคล้ายกับขนสัตว์ ผมลักษณะนี้มีเมลานินอยู่น้อยด้วยเหตุนี้เส้นผมจึงเล็กละเอียด เบามาก และจัดทรงยาก ขาดนำหนัก และหยักศก แต่ผมลักษระนี้จะมีข้อดีตรงที่มีความเหนียวและจับตัวกันไม่แตกกระจายจากรูปแบบความเป็นลอน อ่อนนุ่ม ทำให้ทำผมทรงไหนก็ออกมาสวยงาม ลักษณะของผมแบบนี้จำกัดอยู่ในชาวยุโรป ตะวันออกกลาง อินดีย

นักวิชาการเชื่อว่าที่ชาวตะวันตกมีลักษระผมเช่นนี้เกิดจากการที่ชนชาติคอเคซอยด์(ตะวันตก) เมื่อก่อนประวัติศาสตร์อาศัยอยู่ในเอเชียกลาง ที่ที่มีทะเลทรายมาก อากาศ แห้งและร้อน ไม่มีไอนำ ทำให้เส้นผมต้องมีความโปร่ง เบา หยักศก และสีอ่อน เพื่อระบายความร้อยออกและอากาศแห้งออกจากศีรษะ

ผมตรงมาก ลีบแบน มีนำหนัก สีเข้ม เส้นใหญ่

2. ผมลักษณะที่สอง คือ ผมตรงมาก ลีบแบน มีนำหนัก สีเข้ม เส้นใหญ่ จะอยู่ในกลุ่มของชาวเอเชียตะวันออก เช่น จีน ญี่ปุ่น ไทย( ในกรณีของชาวไทย ซึ่งมีการผสมผสานหลากหลายเชื้อชาติมานาน ได้รับอิทธิพลของชาวมลายู (vอาหรับผสมชาวเอเชียตะวันออกพื้นเมือง ชาวอินเดีย หรือจะด้วยความที่ไทยอยู่ตะตกกว่าจีนและญี่ปุ่น หรือเกาหลี เส้นผมจึงออกลักษณะ “ผมผสม” ทำให้เราสามารถเห็นคนผมหยักศกอยู่บ้างในเมืองไทย ซึ่งลักษระผมของคนไทยนั้นจะมีเส้นเล็กและหยักศกกว่าผมของ ชาวจีนและยี่ปุ่น หรือเอเชียตะวันออกไกล)

นักวิชาการเชื่อว่าที่ลักษณะผมของคนเอเชียนั้นเส้นใหญ่ เนื่องมาจากมีบรรพบุรุษเมื่อก่อนประวัติศาสตร์มาจากเหนือไซบีเรีย หรือพวกเอสกีโม ที่อยู่ทางเหนือสุดของเอเชียซึ่งมีอากาศหนาวจัด ทำให้ร่างกายต้องพัฒนาลักษณะเส้นผมที่เส้นใหญ่ หนามาก เรียบตรง และสีเข้ม เพื่อดูดแสงอาทิตย์ให้ศีรษะอบอุ่น ในขณะผมที่ตรงนั้นทำให้อากาศหนาวจัดภายนอกไม่สามารถสัมผัสศีรษะได้

บทความแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง