โรคซิฟิลิส โรคติดต่อกันทางเพศสัมพันธ์ หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าสาเหตุนั้นเกิดจากอะไร มีวิธีการป้องกันได้อย่างไรบ้าง ยิ่งในตอนนี้มีรายงานข่าวว่า กำลังกลับมาระบาดหนักมากอีกครั้งในกลุ่มวัยรุ่น ในบทความนี้เราขอนำเกร็ดความรู้ และวิธีการป้องกันมาให้อ่าน เพื่อให้ทุกคนได้ป้องกันตัวเองให้ห่างไกลจากโรคนี้
โรคซิฟิลิส เกิดจากอะไร ?
โดยในปี 2561 พบว่าผู้ป่วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์มากที่สุดอยู่ในช่วงอายุ 15-24 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มวัยรุ่น วัยเรียน และวัยเจริญพันธุ์ คิดเป็นร้อยละ 36.9 ของผู้ป่วยทั้งหมด ตอนนี้ถือว่าเป็นโรคที่กำลังระบาดหนักในกลุ่มวัยรุ่น ถือเป็นเรื่องที่ทุกคนควรรู้นะคะเพื่อป้องกันให้ห่างไกลจากโรคนี้
อย่ามักง่ายไม่งั้น โรคซิฟิลิส จะถามหา
โรคซิฟิลิส เป็นโรคที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า Treponema Pallidum ซึ่งเชื้อนี้จะไม่แสดงอาการออกมาแต่มันสามารถแพร่เชื้อได้ และเป็นเรื้อรังได้นานกว่า 2 ปีเลยทีเดียว แถมเมื่อเป็นแล้วยังสามารถเป็นซ้ำได้อีกต่างหาก
โรคซิฟิลิส ติดต่อกันได้ยังไง
- ทางเพศสัมพันธ์
- สัมผัสแผลที่มีเชื้อผ่านผิวหนัง เยื่อบุตา ปาก
- จากแม่สู่ลูก
อาการของ โรคซิฟิลิส
ส่วนใหญ่โรคนี้มักพบในผู้ชาย ซึ่งผู้ป่วยโรคซิฟิลิสจะมีอาการหลายแบบขึ้นอยู่กับระยะของโรค ซึ่งจะแบ่งได้ออกเป็น 4 ระยะ ดังนี้
ระยะแรก Primary Syphilis เมื่อเชื้อซิฟิลิสเข้าสู่ร่างกายแล้ว หลังจากนั้นซัก 10-90 วัน จะเกิดตุ่มแตกแตกออกเป็นแผลที่อวัยวะเพศ ซึ่งจะเป็นแผลอยู่ 1-5 สัปดาห์แล้วก็จะหายไปเอง แต่ถึงแม้แผลจะหายแล้วเชื้อซิฟิลิสก็จะอยู่ในเลือด
ระยะที่สอง Secondary Syphilis 6-8 สัปดาห์ต่อไปผู้ป่วยจะมีอาการปวกศรีษะ เป็นไข้ ปวดเมื่อยตามข้อ และอาการที่สำคัญคือ ผมร่วงเป็นหย่อมๆ มีผื่นสีน้ำตาลขึ้นที่ฝ่ามือและฝ่าเท้า หรืออาจจะทั่วตัวเลย แต่ไม่มีอาการคันนะ รวมทั้งอาจจะพบผื่นสีเทาในปาก คอ ปากมดลูก และอาจจะพบหูดในบริเวณจุดอับชื้นของร่างกาย เช่น รักแร้ ทวารหนัก ขาหนีบ อาการในระยะนี้จะอยู่ประมาณ 1-3 เดือน และก็จะหายไปและกลับมาใหม่
ระยะที่สาม Latent Stage หรือ ระยะแฝง ระยะนี้จะกินเวลาหลายปีเลยทีเดียว โดยอาการจะมีแค่อาการของระยะที่สอง ถ้าไม่ไปตรวจผู้ป่วยจะไม่รู้เลยว่า ตัวเองเป็นโรคซิฟิลิส และถ้าหากผู้หญิงที่ได้รับเชื้อเข้าไปแล้วอยู่ในระยะที่สามตั้งท้อง ลูกก้จะติดเชื้อไปด้วย
ระยะที่สี่ Late Stage ระยะนี้จะกินเวลาถึง 2-30 ปี โดยเชื้อจะเข้าไปทำลายอวัยวะภายในต่างๆ ทำให้เกิดอาการผิดปกติต่อระบบต่างๆ ทั้งระบบหัวใจ ระบบประสาท ซึ่งอาจจะทำให้ตาบอด หูหนวก หรือกระดูกหักได้ ถ้ารักษาไม่ทันก็จะทำให้อวัยวะนั้นไม่สามารถกลับเป็นปกติได้ ส่วนเด้กในท้องถ้าได้รับเชื้อมาจากแม่เด้กก็จะ พิการ เสียชีวิตในท้อง หรือไม่ก้เสียชีวิตหลังคลอด
จะรู้ได้ไงว่าเป็น โรคซิฟิลิส
ต้องนำน้ำเหลืองจากแผลหรือผื่นที่อยู่บนตัวผู้ป่วยไปตรวจ หหรือไม่ก็ต้องเจาะเลือดเพื่อหาเชื้อซิฟิลิส
โรคซิฟิลิส รักษายังไง
หากคุณไปพบแพทย์แล้วตรวจพบว่าตัวเองเป็นโรคซิฟิลิสขั้นต้นนั้น ก็ค่อยเบาใจหน่อย เพราะขั้นแรกยังสามารถรักษาให้หายขาดได้ โดยหมอจะให้ยาปฏิชีวนะ เพนนิซิลิน เป็นเวลา 1-3 สัปดาห์ ถึงแม้ว่าจะรักษาแล้วแต่ผุ้ป่วยก็ควรกลับมาตรวจอีกครั้งทุกๆ 3 เดือน จนครบ 3 ปี เพราะเชื้ออาจจะหลบในอยู่ และในระหว่างนี้ผู้ป่วยควรทำตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งคัด
วิธีป้องกันโรคซิฟิลิส
- หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์
- ไม่สำส่อนทางเพศ
- สวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
ทนพ.ญ. กัญจนา สาเอี่ยม ผู้อำนวยการห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ทางการแพทย์ บริษัท เนชั่นแนล เฮลท์แคร์ ซิสเท็มส์ (N Health) กล่าวว่า การป้องกันโรคซิฟิลิสเบื้องต้น สามารถทำได้โดยการตรวจเลือดเพื่อวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ ซึ่งมีหลากหลายวิธี
แต่ที่นิยมปฏิบัติพอจะแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มคือ
1. การตรวจชนิดไม่เฉพาะเจาะจงต่อโรคซิฟิลิส
2. การตรวจชนิดเฉพาะเจาะจงต่อโรคซิฟิลิส
สำหรับ การตรวจชนิดไม่เฉพาะเจาะจงต่อโรคซิฟิลิส นิยมใช้เป็นการตรวจคัดกรองเบื้องต้น โดยวิธีการตรวจที่เรียกว่า RPR
ส่วน การตรวจชนิดเฉพาะเจาะจงต่อโรคซิฟิลิส เป็นการตรวจซึ่งมีความแม่นยำสูงเฉพาะสำหรับโรคซิฟิลิสเท่านั้น การตรวจดังกล่าวนี้จะมีขั้นตอนที่ยุ่งยาก และต้องอาศัยความชำนาญมากกว่าในกลุ่มแรกมาก
แต่ก็มีประโยชน์มาก ในการยืนยันการวินิจฉัยโรคซิฟิลิส
ในกรณีที่อาการแสดงของโรคไม่ชัดเจน เช่น โรคซิฟิลิสในระยะแฝง โรคซิฟิลิสของหัวใจ โรคซิฟิลิสระบบประสาทและโรคซิฟิลิสแต่กำเนิด เป็นต้น การตรวจในกลุ่มนี้ได้แก่ การตรวจวิธี FTA-ABS
ทั้งนี้ในปัจจุบัน ได้มีการพัฒนาการทดสอบด้วยเครื่องวิเคราะห์อัตโนมัติ เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยแพทย์วินิจฉัยโรคได้ มีความไวและแม่นยำต่อโรคซิฟิลิส คือ การตรวจ Syphilis Ab
การทดสอบทางห้องปฏิบัติการนั้นช่วยวินิจฉัยโรคซิฟิลิสเบื้องต้นเท่านั้น
หากพบการตรวจว่าติดเชื้อ ไม่ว่าจะเป็นการตรวจด้วยวิธีไหน ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อที่จะได้รักษาให้หายขาด และติดตามการรักษาโรคได้ทันท่วงที ทั้งนี้วิธีการป้องกันที่ดีที่สุดคือการ ป้องกันด้วยการสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อจะมีเพศสัมพันธ์ และไม่ควรเปลี่ยนคู่นอนบ่อย โดย N Health เปิดให้บริการตรวจคัดกรองและวินิจฉัยการติดโรคซิฟิลิส
หากต้องการข้อมูล หรืออยากตรวจ
หากสงสัยว่า ตัวเองจะเป็นโรคซิฟิลิส สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 02 7624000 หรือ
Email: Customerservices@nhealth-asia.com และ @Nhealth
ดูคลิป เรื่องเล่า เรากับหมอ ตอน โรคซิฟิลิส
บทความแนะนำ
- โรคเริม ที่ปาก เกิดจากอะไร มีวิธีดูแลรักษา และป้องกันอย่างไร?
- เจาะลึก! ช่วงเวลา การเดิน ในแต่ละนาที จะเกิดอะไรกับร่างกายบ้าง?
- ออกกำลังกายให้ต้นขากระชับ ก้นงามงอน ด้วยท่า สควอช (Squat)
- 10 ท่าทะลายพุง ออกกำลังกาย บอกลาไขมันหน้าท้อง
- 6 การออกกำลังกายแบบ Anti-Aging ที่จะทำให้คุณกลายเป็นคนใหม่ อ่อนวัยลงกว่าเดิม