ไข้มาลาเรีย (Malaria) หรือที่เรามักจะเรียกกันว่า ไข้ป่า ไข้จับสั่น ไข้ป้าง ไข้ร้อนเย็นหรือไข้ดอกสัก โดยโรคนี้เกิดจากเชื้อโปรโตซัว ที่มีชื่อว่า พลาสโมเดียม (Plasmodium) แพร่เข้าสู่ร่างกายของคนที่โดนยุงก้นปล่องเพศเมียกัดหรือดูดเลือด ซึ่งผู้ที่โดนยุงกัดนั้นจะมีอาการไข้ขึ้นสูงและหนาวสั่น
สาเหตุของโรคไข้มาลาเรีย หรือไข้จับสั่น
ซึ่งถ้าใครที่ได้ติดตามละครเรื่องบุพเพสันนิวาส จะเห็นได้เลยจากฉากที่มีบ่าวในบ้านของคุณพี่หมื่นสุนทรเทวาหรือขุนศรีวิสารวาจาได้มีไข้ขึ้นสูง มีอาการจับสั่น อาเจียน และเสียชีวิตในเวลาต่อมา โดยในสมัยกรุงศรีอยุธยายังคงเรียกว่า “ไข้จับสั่น” แต่ก็ไม่ผู้ใดที่จะสามารถหาวิธีการป้องกันโรคนี้ได้
จนแม่หญิงการะเกดมาเห็นจึงได้บอกให้ทุกคนถึงสาเหตุของการเกิดโรคนี้ขึ้นมา โดยที่โรคไข้จับสั่น หรือในปัจจุบันจะมีชื่อว่า ไข้มาลาเรีย เกิดจากที่มีน้ำขังอยู่ในโอ่ง ขัน หรือกะลามะพร้าว ที่ไม่ได้ใช้งานแล้ว และยังรวมถึงโอ่งน้ำที่มีไว้ใช้งานด้วยก็ต้องทำการปิดฝาโอ่ง เมื่อยังไม่ได้ใช้งาน เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ยุงก้นปล่องไปวางไข่อีกด้วย
และสำหรับวิธีการป้องกันง่ายๆ ที่แม่หญิงการะเกดขึ้นมาได้นั่นก็คือ การทำให้ไม่มีน้ำขังในโอ่ง ขัน หรือกะลามะพร้าว และยังรวมถึงกางมุ้งเวลานอนด้วย ก็ถือได้ว่าเป็นวิธีการป้องกันขั้นพื้นฐานที่ใครๆ ก็สามารถทำได้ และในยุคปัจจุบันจะมีวิธีการป้องกัน รักษาอาการไข้มาลาเรียอย่างไรกันได้บ้างนั้น แคมปัส-สตาร์ มีคำตอบมาฝากกันค่ะ
มารู้จักอาการของไข้มาลาเรียกันก่อนเลย
อาการของไข้มาลาเรียจะแตกต่างกันไป ระยะเวลาที่เกิดจะขึ้นอยู่กับชนิดของโปรโตซัวที่เป็นสาเหตุ โดยอาการของไข้มาลาเรียที่พบบ่อยๆ มีดังนี้
- มีไข้สูง หนาวสั่น
- เหงื่อออกมาก
- ปวดศีรษะ
- คลื่นไส้ อาเจียน
- ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
- ท้องเสีย
- ภาวะโลหิตจาง
- อุจจาระเป็นเลือด
- อาการหมดสติไม่รับรู้ต่อการกระตุ้นต่างๆ หรืออาการโคม่า
อย่างไรก็ตาม อาการของไข้มาลาเรียจะไม่รุนแรงและบางอาการระบุโรคได้ยาก ดังนั้นผู้ป่วยคนไหนที่มีไข้ขึ้นสูง ควรไปพบแพทย์โดยเร็ว สำหรับเชื้อโปรโตซัวพลาสโมเดียม (Plasmodium) มีอยู่หลายชนิดด้วยกัน แต่ชนิดที่ทำให้เกิดโรคไข้มาลาเรียในคนนั้นมีอยู่ 5 ชนิดด้วยกัน ได้แก่
- พลาสโมเดียม ฟัลซิพารัม (Plasmodium Falciparum)
- พลาสโมเดียม ไวแว็กซ์ (P.Vivax)
- พลาสโมเดียม มาลาริอี่ (P.Malariae)
- พลาสโมเดียม โอวาเล่ (P.Ovale)
- พลาสโมเดียม โนว์ไซ (P. Knowlesi)
ส่วนเชื้อที่บ่อยในประเทศไทย คือ พลาสโมเดียม ฟัลซิพารัม (Plasmodium Falciparum)
ภาวะแทรกซ้อนของไข้มาลาเรียที่เราควรรู้
- ภาวะโลหิตจาง (Anaemia) เป็นภาวะที่เม็ดเลือดแดงไม่สามารถลำเลียงออกซิเจนไปยังกล้ามเนื้อและอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย เนื่องจากเซลล์เม็ดเลือดแดงถูกทำลาย
- มาลาเรียขึ้นสมอง (Cerebral Malaria) เชื้อมาลาเรียส่งผลกระทบต่อสมอง ทำให้หลอดเลือดในสมองบวม ซึ่งสร้างความเสียหายให้สมองได้อย่างถาวร และอาจทำให้เกิดอาการชักหรือโคม่าได้
- ปอดบวมน้ำ (Pulmonary Oedema) เกิดการสะสมของเหลวในปอดทำให้มีปัญหาในการหายใจ
- อวัยวะภายในล้มเหลว เช่น ตับ ไต หรือม้าม ฯลฯ
- ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycaemia)
- ภาวะการหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน (Acute Respiratory Distress Syndrome: ARDS)
- อาการช็อกเนื่องจากความดันโลหิตลดลงอย่างรวดเร็ว
- ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่กำลังตั้งครรภ์ ได้แก่ คลอดก่อนกำหนด, ทารกแรกเกิดมีน้ำหนักตัวน้อยกว่าปกติ, แท้งบุตร ฯลฯ
วิธีการป้องกันและรักษาไข้มาลาเรีย
สำหรับการป้องกันตัวเองไม่ให้โดนยุงกัดถือได้ว่าเป็นวิธีที่เราสามารถทำเองได้ง่ายๆ และยังเป็นการช่วยลกการแพร่เชื้อไข้มาลาเรียจากผู้ที่ป่วยไปยังผู้อื่นได้อีกด้วย ซึ่งมีวิธีดังต่อไปนี้
- การนอนในมุ้ง
- การสวมเสื้อผ้าปกปิดร่างกายให้มิดชิด
- การใช้ยาทากันยุงกัด
- การใช้ยาจุดกันยุง
- การใช้ตาข่ายกันยุงกัด
บทความที่น่าสนใจ
- แม่หญิงการะเกด ผู้นำเทรนด์นวัตกรรมเครื่องกรองน้ำ จากเครื่องปั้นดินเผา แห่งอยุธยา
- ไขข้อสงสัย? เมื่อแม่หญิงการะเกดมีรอบเดือน ทำไมต้อง “ขี่ม้า”
- ไพเราะ งดงาม เปิดความหมายโคลง-กลอน อีกหนึ่งฉากสุดละมุน ในละครบุพเพสันนิวาส
- ธรรมดาที่ไหน เปิดโปรไฟล์ 5 บ่าว บุพเพสันนิวาส ที่ชีวิตแต่ละคนเก่งไม่ธรรมดาเลย
- สมเด็จพระเพทราชา กษัตริย์ผู้ทรงปฏิรูปการปกครองขึ้นใหม่ ในสมัยกรุงศรีอยุธยา
- ก๊อต-จิรายุ ผู้ที่มารับบท หลวงสรศักดิ์ | เกร็ดน่ารู้เกี่ยวกับ หลวงสรศักดิ์หรือพระเจ้าเสือ
- โกษาปาน จากหัวหน้าคณะราชทูตไทย สู่เทียดในรัชกาลที่ 1 ราชวงศ์จักรี แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ข้อมูลและภาพจาก IG @bellacampen, https://mello.me, https://th.wikipedia.org, http://odpc5.ddc.moph.go.th,
www.pobpad.com