วิธีป้องกัน โรคไทรอยด์

รู้จักอาการของ“โรคไทรอยด์”และวิธีป้องกันที่ถูกต้องจากแพทย์

Home / สุขภาพทั่วไป / รู้จักอาการของ“โรคไทรอยด์”และวิธีป้องกันที่ถูกต้องจากแพทย์

โรคไทรอยด์มักจะไม่แสดงอาการให้เห็นเด่นชัดเหมือนกับโรคอื่นๆ ผู้ป่วยโรคนี้จำนวนมากจึงไม่รู้ว่าตัวเองกำลังป่วยอยู่ เราจึงหาอาการที่บ่งบอกว่ามีสิทธิ์จะเป็นไทรอยด์ สาเหตุของโรคนี้ และวิธีป้องกันมาให้อ่านกันค่ะ เพื่อจะได้เตรียมตัวป้องกันและรักษาได้อย่างถูกต้อง

อาการของ“โรคไทรอยด์”และวิธีป้องกัน

ต่อมไทรอยด์ เป็นอวัยวะที่มีรูปร่างคล้ายผีเสื้อครอบอยู่ด้านหน้าของหลอดลม ต่อมไทรอยด์มีความสำคัญในการสร้างและพัฒนาเซลล์สมองให้เจริญเติบโต โดยเฉพาะช่วงทารกในครรภ์และเด็กเล็ก ส่วนวัยผู้ใหญ่นั้นต่อมไทรอยด์มีความสำคัญในการควบคุมการเผาผลาญพลังงาน เพื่อให้ร่างกายทำงานได้ปกติค่ะ

แชร์ประสบการณ์เป็นไทรอยด์ น้ำหนักขึ้น 10 โล!

คลิปแชร์ประสบการณ์เป็นไทรอยด์

สาเหตุของโรค

โรคไทรอยด์เป็นโรคที่พบบ่อยทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โดยส่วนใหญ่มักพบในผู้หญิงช่วงอายุ 20-50 ปี สาเหตุหลักๆ มีดังนี้…

1.พันธุกรรม คนที่มีญาติสายตรงเป็นโรคไทรอยด์ จะมีโอกาสเป็นโรคนี้ได้มากกว่าคนอื่น

2.สิ่งแวดล้อม มีด้วยกันหลายสาเหตุ ได้แก่ ภาวะขาดไอโอดีน เป็นสาเหตุที่พบมากที่สุด เพราะไอโอดีนเป็นแร่ธาตุที่มีความสำคัญต่อการทำงานของต่อมไทรอยด์ การขาดไอโอดีนทำให้เกิดคอพอกและมีภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ได้ง่าย

อาการมี 2 รูปแบบ คือ…

1.ต่อมไทรอยด์มีขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่งปกติแล้วต่อมไทรอยด์มีขนาดเล็ก ไม่สามารถคลำได้ แต่ถ้ามีขนาดโตขึ้น อาจโตเป็นก้อนเดี่ยวหรือโตทั้งต่อม ซึ่งเรียกว่า “คอพอก” แต่ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการแสดงให้เห็นเด่นชัด บางคนตรวจพบโดยบังเอิญจากการตรวจร่างกายประจำปี หรือมีคนทักว่าบริเวณคอโตขึ้น

2.ฮอร์โมนไทรอยด์สูงหรือต่ำผิดปกติ ถ้าสูงเกินไป เรียกว่าไทรอยด์เป็นพิษ คนไข้จะมีอาการเหนื่อยง่าย ใจสั่น น้ำหนักลดทั้งที่กินอาหารได้มาก เหงื่อออกง่าย ส่วนระดับฮอร์โมนต่ำเกินไป เรียกว่าภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ จะมีอาการอ่อนเพลีย ง่วงนอนง่าย ชีพจรเต้นช้า ขี้หนาว น้ำหนักเพิ่มและบวม

การป้องกัน

วิธีป้องกันโรคไทรอยด์ที่ดีที่สุด ก็คือการรักษาสุขภาพให้แข็งแรง ถ้ามีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์ทันที กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ เน้นอาหารที่ปรุงสุกสะอาด ไม่สูบบุหรี่ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หากพบว่าเป็นโรคไทรอยด์ก็ต้องหมั่นตรวจและติดตามผลการรักษาอย่างสม่ำเสมอไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มเหล้าหรือใช้สารเสพติดอื่นๆ ค่ะ

 

ขอบคุณข้อมูล-ภาพ :หนังสือไทรอยด์ โดย พญ. ชุตินธร ศรีพระประแดง