วิธีปฏิบัติตัว เมื่อมีแมลงเข้าไปอยู่ในรูหู – กรณีแมลงสาบเข้าไปอยู่ในรูหู ของหญิงอเมริกัน

เห็นชื่อหัวข้อแล้วหลายคนอาจจะงง แมลงสาบตัวเบ้อเร่อ จะเข้าไปในรูหูได้ยังไง!? แต่มันเกิดขึ้นแล้วค่ะ คุณผู้อ่านทั้งหลาย นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่เกิดเหตุการณ์แบบนี้ และคุณเองก็อาจจะเป็นรายต่อไป…

วิธีปฏิบัติตัว เมื่อมีแมลงเข้าไปอยู่ในรูหู

แมลงสาบ เข้าไปอยู่ในรูหู ของหญิงอเมริกัน

เคธี ฮอลลี ตื่นขึ้นมาในกลางดึกคืนหนึ่ง เพราะเธอรู้สึกเหมือนมีอะไรบางอย่างอยู่ในรูหูของเธอ ทีแรกสามีของเธอก็ช่วยดูให้ แต่ก็ไม่สำเร็จ จึงต้องพากันไปโรงพยาบาล และเธอแทบช็อค เมื่อหมอบอกว่า สิ่งที่อยู่ในหูของเธอตอนนี้มันคือ แมลงสาบ! และการที่จะเอามันออกมาได้นั้นต้องทำการฉีดยาชา แล้วค่อย ๆ คีบมันออกมา

วันต่อมาเธอก็ยังรู้สึกเจ็บ ๆ ในหู จึงกลับไปหาหมออีกรอบ และพบว่ายังมีชิ้นส่วน (หัว) ของแมลงสาบตัวดีหลงเหลืออยู่ในรูหูของเธอ

โชคร้ายที่เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นบ่อยกว่าที่คุณคิด

จากการศึกษาหนึ่ง พบว่า ในช่วง 2 ปี โรงพยาบาลไทเกอร์เบิร์ก ในเมืองเคปทาวน์ แอฟริกาใต้ ได้ทำการเอาแมลงออกจากหูคนไข้ไปทั้งสิ้น 23 ตัว มีทั้งผึ้ง แมลงวัน และที่เด็ดที่สุดคือ 10 ใน 23 ตัวนั้น เป็นแมลงสาบ!

เมื่อปี 2014 ในห้องฉุกเฉินแห่งหนึ่งในไต้หวัน หมอพบแมลงวันจำนวนหนึ่งอยู่ในหูของหญิงวัย 48 ปี อีกเคสหนึ่งในไต้หวันเช่นเดียวกัน มีชายคนหนึ่งรู้สึกคันหู ไม่รู้เป็นอะไร๊ มานานกว่า 2 เดือน พอไปตรวจก็พบว่าเขาใช้ชีวิตกับตัวไร ที่อยู่ในรูหูของเขามาตลอด 2 เดือนที่ผ่านมา

วิธีเอาตัวรอดเมื่อมีแมลงเข้าไปอยู่ในรูหู

ใช้แรงโน้มถ่วงให้เป็นประโยชน์

เอียงหูข้างที่รู้สึกว่ามีตัวอะไรอยู่ลงพื้น แล้วเขย่าหัวให้มันหลุดออกมา

ใช้แหนบคีบ

ถ้าพอมองเห็นส่วนใดส่วนหนุ่งของแมลงง ไม่ว่าจะขา หรือหนวดที่ยื่นออกมา ลองใช้แหนบมาคีบออก

ล่อให้แมลงออกมา

โดยการเข้าไปในห้องมืด เอาผ้าห่มคลุมตัว ส่องไฟฉายเข้าไปในรูหูเพื่อล่อให้แมลงออกมา เพราะโดยธรรมชาติของแมลงแล้วมักจะเข้าหาแสงไฟสว่าง

หยอดหูด้วย น้ำมันมะกอก หรือน้ำมันมะพร้าว

นอนตะแคง ค่อย ๆ หยอดทีละนิด จะทำให้แมลงจมน้ำตาย รอสัก 30 นาที ถ้ารุ้สึกว่าไม่มีการขยับของแมลงในหูแล้ว ให้เอียงหูข้างนั้นลงเพื่อให้น้ำมันที่หยอดลงไปไหลออกมา

อย่าแคะหูเด็ดขาด

เพราะยิ่งแคะ ก็จะเป็นการดันให้แมลงหนีเข้าไปลึก อาจเกิดอันตรายร้ายแรงกับเยื่อแก้วหูได้

ถ้าทำทุกวิธีแล้ว ยังเอาแมลงออกมาไม่ได้ ก็ควรจะรีบไปหาหมอนะจ๊ะ

ขอบคุณข้อมูลจาก: livescience, honestdocs, pobpad

บทความแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง