How to… วิธีหยุดนอนน้ำลายไหล

ต่อมน้ำลาย ทำหน้าที่ผลิตน้ำลายเพื่อย่อยอาหารบางส่วนในช่องปาก น้ำลายจะถูกผลิตโดยเฉลี่ยประมาณ 0.75 – 1.5 ลิตรต่อวันในขณะตื่น และจะผลิตน้อยลงหรือหยุดผลิตขณะนอนหลับ ซึ่งปกติเราจะกำจัดน้ำลายที่ถูกผลิตออกมาโดยการกลืน แต่ในขณะหลับเราจะไม่สามารถควบคุมน้ำลายที่สะสมอยู่ในช่องปากได้ เพราะในขณะหลับไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อใบหน้าได้ บางครั้งเราอาจจะนอนอ้าปาก ทำให้น้ำลายที่ถูกสะสมไหลออกมาได้ (วิธีหยุดนอนน้ำลายไหล)

วิธีหยุดนอนน้ำลายไหล

ซึ่งการมีน้ำลายมากเกินไปหรือที่เรียกว่า ‘Hypersalivation’ อาจเป็นสัญญาณของโรคทางระบบประสาทที่กระตุ้นการผลิตน้ำลาย หรือปัญหาทางสุขภาพ เช่น โรคหลอดเลือด คัดจมูก กล้ามเนื้ออ่อนแรง ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เป็นต้น วันนี้แคมปัส-สตาร์มีวิธีการแก้ไขปัญหาการนอนน้ำลายไหล มาฝากกันค่ะ

ทำความสะอาดจมูกก่อนนอน

หนึ่งในสาเหตุทำให้น้ำลายไหลคือการที่จมูกอุดตันไม่สามารถหายใจได้ ทำให้ต้องเปิดปากเพื่อหายใจ ซึ่งเป็นการเปิดทางให้น้ำลายไหลออกมานั่นเอง การทำความสะอาดรูจมูกไม่ให้อุดตันและหายใจสะดวกถือเป็นวิธีที่ สามารถทำได้หลายวิธี อาทิ การล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ สูดดมน้ำมันหอมระเหยที่มียูคาลิปตัส ทาวิคส์ (Vick) เป็นต้น

เปลี่ยนท่านอน

การนอนตะแคงและนอนคว่ำ เป็นท่าที่เสี่ยงต่อการที่น้ำลายจะไหลออกมาทางปากมากที่สุด หากลองเปลี่ยนท่านอนเป็นท่านอนหงาย น้ำลายที่อยู่ในช่องปากก็ไม่สามารถไหลออกมาได้

นอนบนหมอนสูง

การนอนบนหมอนสูง จะช่วยให้หายใจสะดวกขึ้นและทำให้ไม่อ้าปากขณะหลับ สามารถช่วยลดปัญหาการนอนน้ำลายไหลได้

เช็คว่าเป็นมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับหรือไม่

การนอนกรนหรือน้ำลายไหล เป็นอาการบ่งชี้ของโรคภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ซึ่งเป็นโรคที่มีผลกับการนอนและพักผ่อน ซึ่งหากมีอาการรุนแรงอาจอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ อ่านเพิ่มเติมได้ที่ >> ระวัง! ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ…ผลพวงจากการนอนกรน

ลดน้ำหนักส่วนเกิน

น้ำหนักส่วนเกิน มีผลโดยตรงกับปัญหาการนอนหลับ จากผลการค้นคว้าพบว่ามากกว่าครึ่งของประชากรในสหรัฐอเมริกาประสบภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เพราะมีน้ำหนักส่วนเกิน หากลองลดน้ำหนักส่วนเกิน จะช่วยให้ปัญหาในการนอนหลับต่างๆ หายไปได้

ใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ช่วย

บางครั้งการปรึกษาแพทย์ อาจเป็นสิ่งที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหาการนอนน้ำลายไหล โดยอาจจะได้รับอุปกรณ์ทางทางทันตกรรม ที่ช่วยให้ปากปิดสนิทหรือช่วยในการกำจัดน้ำลายได้ดีขึ้น

ตรวจเช็คยาที่คุณรับประทานเป็นประจำ

บางครั้งการที่น้ำลายไหลออกมามากเกินไป อาจมีสาเหตุเกิดจากผลข้างเคียงของยาที่รับประทาน อาทิ Clozapine, Pilocarpine, Ketamine, Potassium Kolate เป็นต้น ควรอ่านฉลากและคำเตือนหรือปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาดังกล่าว

การผ่าตัด

บางครั้งการนอนน้ำลายไหล อาจเป็นผลมาจากการโรคหรือความผิดปกติที่เกิดขึ้น ซึ่งอาจส่งผลต่อการดำเนินชีวิตในอนาคตได้ อาทิ ต่อมทอนซิลอักเสบหรือโต, คางทูม, ผนังกั้นช่องจมูกคด ลิ้นใหญ่เกินขนาด เป็นต้น ซึ่งการผ่าตัดอาจเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการแก้ไขโรคเหล่านี้

ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก brightside.medt2.mahidol.ac.th

บทความแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง