คำชม คำพูด

หนังสือ ชมลูกให้ถูก ติลูกให้เป็น – ควรชมและตำหนิลูกอย่างไรดีนะ

Home / สุขภาพทั่วไป / หนังสือ ชมลูกให้ถูก ติลูกให้เป็น – ควรชมและตำหนิลูกอย่างไรดีนะ

เคยไหม กับการชมลูกน้อยของคุณเมื่อสอบได้คะแนนดีด้วยคำว่า “เก่งมาก! ฉลาดจริงๆ!”

และเคยไหม กับการตำหนิพวกเขาเมื่อคะแนนตกด้วยคำว่า “ครั้งนี้คะแนนแย่มาก ทำไมทำไม่ได้!”

มองเผินๆ ประโยคแรกฟังดูเป็นคำพูดแง่บวกที่น่าจะทำให้ลูกรู้สึกดีและภูมิใจในตัวเอง แต่ความจริงแล้วประโยคนี้คือยาพิษเคลือบน้ำตาลดีๆนี่เอง คุณอาจไม่ได้ตั้งใจ แต่วิธีพูดแบบนี้เป็นการควบคุมพฤติกรรมและแรงจูงใจของลูก อีกทั้งยังอาจขัดขวางสิ่งที่เขาอยากทำจริงๆ กล่าวคือ เขาจะพยายามทำดี แค่เพื่อให้ได้รับคำชมหรือรางวัลเท่านั้น และหากวันไหนทำได้ไม่ดีเท่าเดิม จนโดนตำหนิ ด้วยประโยคที่สอง ก็จะเสียความมั่นใจ และกลายเป็นคนที่กลัวความล้มเหลวจนไม่กล้าทำอะไรใหม่ๆ

หนังสือ ชมลูกให้ถูก ติลูกให้เป็น

คุณอาจไม่รู้เลยว่าคำพูดที่ออกมาจากปากผู้ใหญ่ ส่งผลต่อพัฒนาการและอุปนิสัย ของลูกน้อยอย่างมาก เพราะเด็กๆ เปลี่ยนแปลงตามคำพูดของผู้ใหญ่ พวกเขาจะเติบโตไปเป็นเด็กที่ฉลาด ทั้งทางด้านสติปัญญาและอารมณ์ หรือจะเติบโตไปเป็นเด็กที่กลัวความล้มเหลวและไม่กล้าเผชิญหน้ากับความท้าทายใหม่ๆก็ขึ้นอยู่กับวิธีพูดของผู้ใหญ่รอบตัว โดยเฉพาะคุณพ่อคุณแม่ ไม่เพียงเท่านั้น หากเลือกใช้คำพูดผิด อาจส่งผลต่อความสัมพันธ์ภายในครอบครัวและความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลได้เลย

ด้วยเหตุนี้ คุณชิมะมุระ ฮะนะโกะ อาจารย์ด้านการศึกษาเด็ก ในมหาวิทยาลัยที่ประเทศแคนาดา จึงเขียนหนังสือ “ชมลูกให้ถูก ติลูกให้เป็น” ขึ้นมา เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงดูเด็กแบบไม่ชักจูง และเพื่อเป็นแนวทางสำหรับคุณพ่อคุณแม่และผู้ใหญ่ที่ต้องคลุกคลีกับเด็ก ปรับเปลี่ยนวิธีพูดที่ส่งเสริมให้เด็กๆมีความภาคภูมิใจในตนเอง และเติบโตไปเป็นตัวของตัวเองอย่างเหมาะสมกับช่วงวัยและพัฒนาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กวัย 3-12 ปี โดยเน้นนำทฤษฎีแรงจูงใจ ทักษะ EF การเรียนรู้การเข้าสังคมและอารมณ์ แนวทางการสอนแบบมอนเตสซอรี (Montessori Method) และเรจโจ เอมีเลีย (Reggio Emilia Approach) ที่เธอเชี่ยวชาญมาถ่ายทอดลงในหนังสือเล่มนี้ ด้วยสไตล์การเขียนแบบเข้าใจง่ายที่ให้คุณนำไปใช้ได้ทันที

ถ้าอย่างนั้น เราควรชมและตำหนิลูกอย่างไรดีนะ

ขอตอบว่าสิ่งสำคัญที่สุดคือการเคารพตัวตนของเด็ก เข้าใจว่าพัฒนาการของเขามีมากน้อยแค่ไหน ขีดจำกัดความสามารถของแต่ละวัยคืออะไร คำพูดแบบไหนที่ผู้ใหญ่จะพูดกับเด็ก เพื่อให้พัฒนาความสามารถ หรือปรับปรุงตัวต่อไปได้อย่างแท้จริง เช่น ถ้าลูกสอบได้คะแนนดี เราอาจชมลูกว่า “เพราะหนูพยายามมาตลอดเลยสอบได้คะแนนดี” คำพูดนี้จะทำให้เด็กให้ความสำคัญกับกระบวนการมากกว่าผลลัพธ์ที่ได้ ซึ่งช่วยให้เขาพัฒนาตัวเองต่อไปได้อย่างดี เป็นต้น

ตัวอย่างเนื้อหาในหนังสือ

หลักการ 3 ข้อ ในการชมเชย

หลักการ 3 ข้อ ในการชมเชย

ชมเชย เมื่อลูกแสดงความสามารถได้ดี

วิธีตำหนิอย่างชาญฉลาด

วิธีตำหนิอย่างชาญฉลาด

วิธีตำหนิ เมื่อลูกสอบได้คะแนนไม่ดี

วิธีตำหนิ เมื่อลูกสอบได้คะแนนไม่ดี

พฤติกรรมปรองดอง และ พฤติกรรมขัดแข้ง กับเด็ก

เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้ 5 บท ดังนี้

บทที่ 1 เด็กเปลี่ยนแปลงเพราะคำพูดของผู้ใหญ่
บทที่ 2 วิธีชมเชยเพื่อให้เด็กเก่ง
บทที่ 3 วิธีตำหนิเพื่อให้เด็กเก่ง
บทที่ 4 การฟังให้เข้าถึงใจเด็ก
บทที่ 5 Q&A แบบนี้ต้องทำอย่างไร

นอกจากเนื้อหาสาระที่อัดแน่นอยู่ภายในตัวเล่มแล้ว เมื่อเปิดหนังสือมาหน้าแรก คุณจะเจอกับแผ่นพับ “คำที่ควรและไม่ควรพูดในการเลี้ยงลูก” รวมถึง “ตารางพัฒนาการและลักษณะเด่นตามช่วงวัย (0-17 ปี) และ ‘ความในใจของเด็ก’” เพื่อให้ตัดออกมาแปะที่ผนังหรือเก็บไว้ในกระเป๋าเมื่อต้องการคำแนะนำแบบเร่งด่วนอีกด้วย

เพราะเด็กในวันนี้คือผู้ใหญ่ในวันหน้า เรามาเลี้ยงดูลูกน้อยอย่างถูกวิธีเพื่อให้เขาเติบโตขึ้นอย่างงดงามกันเถอะ

สั่งซื้อ โทร. 0-2622-3000 กด 0 หรือ www.nanmeebooks.com , www.facebook.com/nanmeebooksfan

ภาพจาก https://unsplash.com