8 สัญญาณที่บ่งบอกว่า คุณเป็นโรคไบโพล่าร์ (โรคอารมณ์สองขั้ว)

ปัจจุบันมีคนเป็นโรคไบโพล่าร์หลายล้านคนแต่น้อยคนจะรู้จักโรคนี้ วันนี้ campus star จึงอยากบอกถึงอาการสำคัญต่างๆ ที่อาจเป็นตัวบ่งชี้ถึงอาการของโรคไบโพล่าร์ โรคนี้คือความผิดปกติของสมอง มีอาการพื้นฐานคือการเกิดการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ เรี่ยวแรง และความคล่องตัว อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันเมื่อมีอาการฟุ้งพล่านสลับกับอาการซึมเศร้า

โรคไบโพล่าร์ (โรคอารมณ์สองขั้ว)

อารมณ์ของผู้ที่ป่วยสามารถเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เป็นเรื่องยากที่จะวินิจฉัยโรคเพราะทุกคนต่างก็มีทั้งวันที่ดีและไม่ดีทั้งนั้น ดังนั้นเราจึงรวบรวม 8 สัญญาณต่างๆ ที่เข้าข่ายการเป็นโรคนี้มาให้ดูกัน

1. มีปัญหาในการทำงานให้สำเร็จ

จากปกติทำได้สบายมากแต่เมื่ออารมณ์เริ่มเปลี่ยนแปลง การทำงานให้สำเร็จจะเป็นเรื่องที่ยากขึ้นเรื่อยๆ แม้รูปแบบงานจะเหมือนเดิมที่เคยทำแต่ก็มีปัญหาในการจัดการตัวเองจนงานเป็นดินพอกหางหมู

2. มีอาการของโรคซึมเศร้า

ในช่วงของโรคไบโพล่าร์ ผู้ป่วยจะมีอาการลักษณะเดียวกับคนที่กำลังป่วยเป็นโรคซึมเศร้า เช่น รู้สึกชีวิตไร้ค่า ความอยากอาหารลดลง มีปัญหาเรื่องการนอนหลับ ไม่ค่อยมีสมาธิ ไม่มีเรี่ยวแรง

3. พูดเร็ว

การที่คนส่วนใหญ่พูดเร็วขึ้นเมื่อพวกเขารู้สึกตื่นเต้นถือว่าเป็นเรื่องที่ปกติมาก แต่คนที่เป็นไบโพล่าร์จะพูดแทรกคนอื่นและไม่สนใจบท สนทนาของคนรอบข้าง เขามักเปลี่ยนหัวข้อสนทนาอยู่บ่อยๆ ทำให้เป็นเรื่องยากสำหรับคนรอบข้างที่จะเข้าใจว่าเขากำลังพูดถึงอะไรอยู่

4. หงุดหงิดง่าย

เขาจะหงุดหงิดง่ายมากและความหงุดหงิดเริ่มส่งผลเสียต่อการใช้ชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะในเรื่องของความสัมพันธ์ต่างๆ กับคนรอบข้าง อาจจะสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมตัวเองแต่รู้สึกว่าไม่สามารถควบคุมสิ่งที่เกิดขึ้นได้

5. ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

การดื่มเพื่อช่วยคลายอาการซึมเศร้าระหว่างที่อยู่ในช่วงซึมเศร้า แต่พอใช้วิธีการแบบนี้บ่อยๆ เพื่อบำบัดความซึมเศร้าให้ตัวเองมันก็มักจะนำไปสู่ภาวะการติดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จนยากที่จะเลิกได้

6. อารมณ์ดีมากเกินไป

การอารมณ์ดีมากเกินไปมักจะสลับกับภาวะซึมเศร้า ผู้ป่วยจะหัวเราะเก่งกับทุกเรื่องจนผิดปกติบางครั้งก็อยากร้องไห้ในเวลาอันรวดเร็ว อาการสุดโต่งแบบนี้เรียกว่าฟุ้งผล่าน

7. นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ

นอนไม่เพียงพอแต่จะไม่เคยรู้สึกเหนื่อยล้ากลับรู้สึกสดชื่นอารมณ์ดีด้วยซ้ำ แต่ในช่วงที่ซึมเศร้าจะนอนหลับมากขึ้นแต่ยังรู้สึกเหน็ดเหนื่อยมากจนไม่อยากทำอะไรเลยต้องการนอนทั้งวัน

8. มีพฤติกรรมที่สม่ำเสมอไม่คิดหน้าคิดหลัง

มักจะมีความเชื่อมั่นในตัวเองสูงมากจนทำแสดงพฤติกรรมาโอ้อวด ซึ่งจะเป็นสาเหตุทำให้ผู้ป่วยแสดงออกโดยที่ไม่คำนึงถึงผลกระทบต่างๆ ทำให้เขาทำในสิ่งพวกเขาไม่มีทางทำแน่ๆ หากอยู่ในภาวะปกติ อีกทั้งยังมีพฤติกรรมทาที่เสี่ยงหรือใช้เงินฟุ้มเฟือยอย่างน่ากลัว

ลักษณะพฤติกรรมและอาการต่างๆ ที่ได้ระบุไว้ข้างต้นคือสิ่งที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไปในผู้ป่วยโรคไบโพล่าร์ แต่อาการต่างๆ เหล่านี้ก็อาจเป็นสัญญาณของโรคอื่นได้ด้วยเช่นกัน โรคไบโพล่าร์สามารถรักษาได้หากได้รับการรักษาที่ตรงจุดและถูกวิธีจากผู้เชี่ยวชาญซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตตามปกติได้อย่างมีความสุขค่ะ

ขอบคุณข้อมูลจาก www.thecabinbangkok.com

บทความแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง