ผลเสียของการนอนมากจนเกินไป เรื่องที่อยากให้ คนขี้เซาต้องอ่าน

ผู้มีอาการนอนมากจนเกินไป หรือโรคนอนเกิน เป็นโรคที่หลับเกินพอดี ขี้เซา ที่ยิ่งนอนมากเท่าไหร่ก็รู้สึกว่ายังไม่พอ และจะนอนหลับยาวนานเกิน 8 ชม.ขึ้นไป จะมีอาการดูเฉื่อยชา, ไร้ชีวิตชีวา, ทานน้อยแต่กลับอ้วนง่าย เพราะการนอนทำให้กระเพาะอาหารไม่ย่อยจึงเกิดไขมันสะสม นอกจากนี้ยังทำให้เกิดอาการโรคซึมเศร้าได้ง่ายเป็นผลเสียระยะยาวตามมา ดังนี้..

ผลเสียของการนอนมากจนเกินไป

1. ทำร้ายสมอง

เพราะจะทำให้สมองเฉื่อยชา ส่งผลให้ทำอะไรและคิดอะไรเชื่องช้า กลายเป็นคนไร้ชีวิตชีวาขยับตัวน้อยลงจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคกระดูกพรุนได้

2. อ้วนง่าย

น้ำหนักเกินที่จะส่งผลให้เป็นโรคอื่นๆ ตามมาอีกมากมายทั้ง โรคหัวใจ, ความดัน, เบาหวาน เป็นต้น และต่อให้ทานน้อยก็สามารถอ้วนได้ เพราะกระเพาะอาหารไม่ค่อยได้ทำงานนั่นเอง

3. กลายเป็นคนซึมเศร้า

อารมณ์แปรปรวนง่ายชีวิตไม่ค่อยมีความสุข โดยในคนที่นอนมากกว่าวันละ 9 ชม. และน้อยกว่าวันละ 5 ชม. สมองจะทำงานแย่ลงเพราะฮอร์โมนในร่างกาย และสารเคมี “ซีโรโทนิน“ และ “เอนดอร์ฟิน“ ที่เป็นสารแห่งความสุขลดต่ำลง

4. ภาวะมีบุตรยาก

ได้มีการศึกษาพบว่าผู้ที่นอนในระยะเวลา 7 – 8 ชม. ต่อวัน จะมีโอกาสติดลูกได้มากกว่า ผู้ที่นอนนานเกินวันละ 9 ชม. เพราะฮอร์โมน และรอบเดือนของผู้หญิงจะเป็นปกติก็ต่อเมื่อต้องได้รับการพักผ่อนที่พอดีอีกด้วย

5. เป็นสาเหตุให้เสียชีวิตเร็ว

ผลวิจัย 16 เรื่อง ที่ตรงกันว่าผู้ที่นอนนานเกินกว่า 9 ชม.ต่อวัน จะเสียชีวิตเร็วกว่าคนที่นอน 7 – 8 ชม. ถึง 1.3 % เพราะผู้ที่นอนมากเกินไปจะหลับง่าย และใช้เวลานานทำให้ร่างกายไม่ค่อยได้ขยับ หรือออกกำลังกายใดๆ จึงไม่สามารถเพิ่มออกซิเจนแก่อวัยวะภายในเป็นสาเหตุทำให้เสียชีวิตได้ง่าย

6. เสี่ยงต่อสภาวะการหยุดหายใจแบบเฉียบพลัน (ไหลตาย)

เพราะเนื้อสมองตาย เนื่องจากการดับไปของสัญญาณสมองที่นานเกินเวลานอนของคนปกติ

วิธีแก้ไขอาการนอนมากเกินไป

1. เข้านอนตรงเวลาทุกวัน และเมื่อตื่นนอนแล้วให้ลุกเลย อย่าต่อเวลาการนอนออกไปอีก

2. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่

3. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีสารคาเฟอีนทุกชนิด

4. หากิจกรรมก่อนนอนง่ายๆ ที่สามารถทำให้คุณทำได้ทุกคืน เช่น หาหนังสืออ่านสักเล่ม เพื่อให้คุณได้ปรับตัว และพัฒนาการนอนหลับที่ดี

5. อย่ากลัวจนกลายเป็นไม่กล้านอน หรือบังคับตัวเองไม่ให้นอน เพราะกลัวว่าตัวเองจะนอนนานเกินไป ถ้าทำแบบนั้นจะยิ่งทำให้พฤติกรรมการนอนผิดรูปแบบ จนอาจกลายเป็นนอนไม่หลับ หรือหลับยาวกว่าเดิม ซึ่งจะส่งผลเสียต่อสุขภาพทั้งคู่

 

ขอบคุณที่มา : โรคร้ายที่มากับการนอน

บทความแนะนำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง