การป้องกันโรคหูดับ โรคหูดับ

กินอาหารสุกๆ ดิบๆ ระวังเป็น โรคหูดับ!!

Home / สุขภาพทั่วไป / กินอาหารสุกๆ ดิบๆ ระวังเป็น โรคหูดับ!!

จากข้อมูลของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค 1 ม.ค. – 3 เม.ย. 60 มีรายงานผู้ป่วยโรคไข้หูดับ 60 ราย เสียชีวิต 3 ราย ส่วนข้อมูลในปี 2559 ที่ผ่านมา พบผู้ป่วยโรคไข้หูดับ 300 ราย เสียชีวิต 16 ราย กลุ่มอายุที่ป่วยมากที่สุด คือ อายุ 65 ปีขึ้นไป รองลงมา คือ 45-54 ปี และ 55-64 ปี ซึ่งพบว่าเป็นกลุ่มวัยทำงานและสูงอายุ รวม 83% โดยหนึ่งในสาเหตุคือการกินอาหารสุกๆ ดิบๆ ปรุงไม่สุก ยังมีสาเหตุอื่นๆ อีกนะคะ แคมปัส-สตาร์ ขอนำสาระความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้มาให้ทุกคนได้รู้เท่าทันกันค่ะ

รู้เท่าทัน โรคหูดับ

“โรคหูดับ” (Sudden Hearing Loss SHL) คือการได้ยินเสียงน้อยลงหรือไม่ได้ยินเสียงเลย อาจเป็นข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้ ถือเป็นภาวะสูญเสียการได้ยินอย่างกะทันหัน ระดับการได้ยินลดลงมากกว่า 70 เดซิเบล เป็นเวลานานเกินกว่า 72 ชั่วโมง แต่อาการจะปรากฏเด่นชัดในช่วง 2 – 3 ชั่วโมแรก รุนแรงมากน้อยต่างกัน และระดับเสียงที่ไม่ได้ยินอาจเป็นระดับเสียงที่ความดังเท่าใดก็ได้ อาการของโรคหูดับอาจเป็นเพียงแค่ชั่วคราวหรือเกิดขี้นได้อย่างถาวร

อาการของโรคหูดับ

ผู้ป่วยหนึ่งในสามมักจะมีอาการหูดับในช่วงเช้า โดยเฉพาะหลังตื่นนอนใหม่ ๆ และมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ปวดศีรษะ เวียนหัว อาเจียน บ้านหมุน และมีเสียงดังในหูร่วมด้วย

4 สาเหตุ โรคหูดับ

1. เส้นประสาทหูเสื่อม

สาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัสบางชนิด ซึ่งพบมากถึงร้อยละ 60 โดยสามารถตรวจพบการเปลี่ยนแปลงทางน้ำเหลืองในปฏิบัติการ ไวรัสที่เป็นสาเหตุได้แก่ ไวรัสไข้หวัดใหญ่ (Influenza type B) ซัยโตเมกาโลไวรัส (CMV) ไวรัสคางทูม (mumps) รูบิโอลา (rubeola) ไวรัสสุกใส – งูสวัด (varicella – zoster) ซึ่งไวรัสเหล่านี้จะไปทำให้หูชั้นในอักเสบได้

2. รับประทานอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ

รับประทานอาหารปรุงไม่สุก หรือสุกๆ ดิบๆ จะมีเชื้อแบคทีเรีย สเตร็พค็อกคัสซูอิส ปนเปื้อนอยู่ เช่น ลาบดิบ ก๋วยเตี๋ยวน้ำตกที่ปรุงโดยใช้เลือดดิบ เป็นต้น ซึ่งส่งผลทำร้ายหูได้

3. ได้ยินเสียงดังมาก ๆ ในทันที

เช่น เสียงระเบิด เสียงฟ้าผ่า นอกจากนี้ ผู้ป่วยบางรายเป็นโรคหูดับเพราะความเครียด ไม่ได้นอนพักผ่อนอย่างเพียงพอ อดหลับอดนอนเพราะโหมงานหนักมากเกินไป ก็เป็นสาเหตุให้เกิดโรคหูดับได้เช่นกัน

4. เกิดจากการผิดปกติของเลือด

เป็นโรคหลอดเลือด เช่น ความดันสูง การไหลเวียนกระแสโลหิตบกพร่อง หลอดเลือดอักเสบหรืออุดตัน การติดเชื้อไวรัสแบคทีเรีย การฉีกขาดของเยื่อปิดหน้าต่างของหูชั้นในซึ่งเกิดจากการไอ จามรุนแรง การผ่าตัดหู หรือความผิดปกติทางฮอร์โมนและต่อมไร้ท่อ เช่น โรคไทรอยด์ จากการผิดปกติของการเผาผลาญ เช่น โรคเบาหวาน รวมทั้งการได้รับแรงกระทบกระแทกของศีรษะ เป็นต้น

การป้องกันโรคหูดับ

ไม่รับประทานอาหารที่ปรุงสุก ๆ ดิบ ๆ เพื่อไม่ให้เชื้อ “สเตร็พโตค็อกคัส ซูอิส” เข้าสู่ร่างกาย หลีกเลี่ยงเสียงดัง อาทิ ไม่ควรเปิดเพลงจากเครื่องเล่น MP3 ใส่หูฟัง ฟังในระดับเสียงที่ดังจนเกินไป หรือฟังเป็นระยะเวลานานติดต่อกัน

ที่มา: www.thaihealth.or.th, คู่มือรู้ทันโรคและภัยสุขภาพสำหรับประชาชน โดยสำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ