ถ้ำหลวง วิทยาศาสตร์

กฎ 333 ของการเอาชีวิตรอด ขาดแสง ขาดอากาศ ขาดน้ำ ขาดอาหาร ได้นานสุดเท่าไหร่?

Home / สุขภาพทั่วไป / กฎ 333 ของการเอาชีวิตรอด ขาดแสง ขาดอากาศ ขาดน้ำ ขาดอาหาร ได้นานสุดเท่าไหร่?

จากกรณีที่มีเด็ก ๆ และโค้ชฟุตบอล 13 ชีวิตที่ไปติดอยู่ในถ้ำหลวง หลายคนอาจจะได้ยินคนพูดถึง กฎ 333 ของการเอาชีวิตรอด ที่บอกไว้ว่า “ขาดอากาศได้ 3 นาที ขาดน้ำได้ 3 วัน ขาดอาหารได้ 3 สัปดาห์” วันนี้เรามีคำอธิบายเรื่องของ กฎ 333 ของการเอาชีวิตรอด ขาดแสง ขาดอากาศ ขาดน้ำ ขาดอาหาร ได้นานสุดเท่าไหร่? มาฝากกัน ไปดูกันได้เลยจ้า

กฎ 333 ของการเอาชีวิตรอด แต่ทุกกฎมีข้อยกเว้น

ขาดอากาศ

จากกฎ 333 ที่บอกว่าคนเราสามารถอยู่ได้ 3 นาที หากขาดอากาศหายใจ ถ้ามากกว่านั้นสมองจะขาดออกซิเจน และทำให้สมองพิการได้ แต่ก็ไม่จริงเสมอไป เพราะมีหลายคนที่สามารถกลั้นหายใจได้นานกว่า 3 นาที อย่างเช่นกรณีของการดำน้ำ ที่ได้รับการฝึกฝนมา อย่างสถิติโลกล่าสุด เมื่อปี 2009 Stéphane Mifsud สามารถกลั้นหายใจใต้น้ำ ได้เป็นเวลาทั้งหมด 11 นาที 35 วินาที

ในความเป็นจริงแล้วมนุษย์เราจะสามารถกลั้นหายใจใต้น้ำได้นานกว่ากลั้นหายใจบนบก เพราะกลไกของร่างกายที่เรียกว่า Mammalian Diving Response หรือการดํานํ้าตามลักษณะสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม โดยที่อวัยวะต่าง ๆ จะมีปฏิกิริยาตอบสนองอัตโนมัติ เพื่อปรับร่างกายให้เป็นสภาวะที่เหมาะกับการอยู่ในน้ำได้

ขาดน้ำ

ร่างกายคนเราประกอบด้วยน้ำถึง 70% แล้วจะเกิดอะไรขึ้น ถ้าร่างกายขาดน้ำ? ในสภาพแวดล้อมที่อยู่ในขั้นวิกฤต อย่างเช่นการออกกำลังกายกลางแดดเป็นเวลานาน ๆ  ร่างกายของเราจะขับเหงื่อออกมา 1.5 ลิตร ใน 1 ชั่วโมง และถ้าร่างกายไม่ได้รับน้ำชดเชยเข้าไปจะทำให้ปริมาณเลือดต่ำลง ร่างกายหยุดขับเหงื่อ ทำให้อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้น อาจเป็นอันตรายจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ แต่ถ้าในสภาพแวดล้อมที่ปกติ อยู่แบบสบาย ๆ คนเราสามารถอดน้ำได้นานเป็นอาทิตย์ ๆ หรือมากกว่านั้น

Andreas Mihavecz ชายชาวออสเตรเลียวัย 18 ปี อาจจะเป็นคนที่อดน้ำได้นานที่สุดในโลก ในปี 1979 ตำรวจเผลอทิ้งเขาไว้ในคุก เป็นเวลา 18 วัน แต่มีชีวิตรอดมาได้ เพราะเขาใช้วิธีเลียไอน้ำที่เกาะตามกำแพงคุก

ขาดอาหาร

จากกฎที่บอกว่า ร่างกายขาดอาหารได้นาน 3 สัปดาห์ อาจไม่จริงเสมอไป แต่สถิติของคนที่สามารถอดอาหารได้ยาวนานที่สุดเป็นของนักโทษชาวไอริช Terence MacSwiney ที่อดอาหารได้นานถึง 74 วันก่อนจะสิ้นลมหายใจในปี 1920

เมื่อร่างกายขาดอาหาร ร่างกายจะใช้ glycogen ในตับและกล้ามเนื้อเพื่อผลิตน้ำตาลกลูโคส ตามมาด้วยอะมิโนบางชนิด แล้วหลังจากนั้นร่างกายจะดึงไขมันและโปรตีนออกมาใช้ตามลำดับ

ถ้าอดอาหารเป็นเวลานาน ๆ และเมื่อร่างกายได้รับอาหารเข้าไปอีกที ถ้าไม่ควบคุมอาหารให้ดี ร่างกายได้รับโซเดียมมากเกินไป อาจทำให้หัวใจวายได้

ขาดแสง

แล้วแสงสว่างล่ะ คนเราสามารถอยู่ในที่มืดสนิทได้นานแค่ไหนกันเชียว? เมื่อร่ไม่ได้รับแสงแดด นั่นหมายความว่าร่างกายจะขาดวิตามินดี ที่เป็นตัวช่วยสำคัญในการดูดซึมแร่ธาตุต่าง ๆ ยิ่งไปกว่านั้นยังส่งผลต่อการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ พูดง่าย ๆ ก็คือ นาฬิกาชีวิต (Biological Clock) จะทำงานผิดปกติ

แต่ตราบใดที่คุณยังได้รับวิตามินดี คุณก็สามารถมีชีวิตอยู่ได้ถึงแม้จะอยู่ในที่มืด แต่ระดับของสารเซโรโทนินในร่างกายทีทำหน้าที่ควบคุมอารมณ์ ความโกรธ และความก้าวร้าว จะแปรปรวน ทำให้อารมณ์ของคุรแปรปรวน และส่งผลกระทบกับการนอนหลับอีกด้วย

ขาดการพักผ่อน

อย่างที่รู้ ๆ กันว่าการนอนหลับพักผ่อนเป็นสิ่งที่ร่างกายขาดไม่ได้ การอดหลับอดนอนมาก ๆ จะทำให้สมองทำงานได้แย่ลง แต่เมื่อปี 1963 Randy Gardner นักเรียนวัย 17 ปี อดหลับอดนอนเป็นเวลายาวนานถึง 11 วัน หรือ 264 ชั่วโมงเต็ม เพื่อทำโปรเจกต์วิทยาศาสตร์ และเขาก็ทำมันออกมาได้ดีซะด้วย

นักวิทยาศาสตร์ยังไม่มีคำตอบที่แน่ชัดว่า ทำไมคนเราถึงต้องนอนหลับ อาจจะเป็นการกำจัดสารพิษออกจากสมอง หรือให้สมองได้พักเพื่อจัดการกับข้อมูลที่อยู่ในสมอง แต่ที่รู้ ๆ คือ การีอดหลับอดนอนถือเป็นเรื่องอันตราย

ขอบคุณที่มาจาก: urbansurvivalsite, businessinsider, thirdnuntawat

Written by: Typrn