social media โซเชียล

อันตรายจากการเสพติด Social Network ภัยเงียบที่ควรระวัง !!

Home / สุขภาพทั่วไป / อันตรายจากการเสพติด Social Network ภัยเงียบที่ควรระวัง !!

อันตรายจากการเสพติด Social Network – ปัจจุบันนี้ ทุกคนมีสมาร์ทโฟน ซึ่งหลายคนมักจะก้มหน้าก้มตาจ้องมองโทรศัพท์ของตัวเองมากกว่าการมีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบตัว และการที่ผู้คนใช้เวลาอยู่กับสิ่งต่างๆ ในโทรศัพท์นานเกินไป อาจทำให้เกิดภาวะการเสพติด Social Network (Social Network Addiction) ได้

อันตรายจากการเสพติด Social Network

ภาวะการเสพติด Social Network (Social Network Addiction) หมายถึง อาการหมกมุ่นอยู่กับการเข้าเว็บไซต์ แอปพลิเคชัน ต่างๆ ผ่าน Social Network อยู่เป็นประจำ อีกทั้งความคิดและการกระทำต่างๆ ก็จะเกี่ยวข้องกับ Social Network ที่ใช้ เช่น หัวข้อที่คุยกับเพื่อนก็เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นอยู่ใน Social Network เป็นต้น

ซึ่งผู้ที่เสพติด Social Network  จะไม่สามารถควบคุมการใช้งาน Social Network ของตนเองได้ เช่น การเล่นเฟซบุ๊กจนไม่ได้หลับได้นอน หรือไถทวิตเตอร์จนไม่ได้ทำกิจวัตรประจำวันที่ควรทำ อย่างการอาบน้ำหรือกินข้าวตามเวลาปกติที่เคยทำ

สัญญาณเตือนภัยอาการเสพติด Social Network

ถ้าอยากรู้ว่าเราเข้าข่ายอาการเสพติด Social Network หรือไม่? ลองเช็คพฤติกรรมของคุณดูว่าตรงกับพฤติกรรมเหล่านี้หรือไม่

สัญญาณเตือนภัยอาการเสพติด Social Network

ถ้าหากว่าคุณมีพฤติกรรมใด พฤติกรรมหนึ่ง หรือมีหลายพฤติกรรมที่คุณทำตรงกับข้อความใน Check list ก็หมายความว่าคุณเสพติด Social Network เข้าแล้ว

ภัยเงียบที่มาจากการเสพติด Social Network

น.ต.นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต ได้กล่าวถึงผลกระทบจากการใช้การใช้สื่อโซเชียลมากเกินไปนั้นจะมีผลเสียต่อสุขภาพร่างกาย อาทิ สายตาสั้น อ้วน ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อเรื้อรัง นอนหลับยาก

อีกทั้งยังมีผลเสียต่อสุขภาพจิต อาทิ วิตกกังวล ซึมเศร้า ส่งผลให้มีอารมณ์รุนแรง หงุดหงิดง่าย โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่น ย่อมส่งผลกระทบต่อ สมาธิ ความจำ การควบคุมตนเอง และมีผลการเรียนที่แย่ลง

วิธีป้องกันอาการเสพติด Social Network

1. จำกัดเวลาในการเล่น Social Network และไม่ควรใช้เวลาเล่นติดต่อกันนานเกิน 30 นาที – 1 ชั่วโมง

2. เพิ่มเวลาอยู่กับครอบครัวและเพื่อนๆ ในชีวิตจริงให้มากขึ้น นอกจากนั้นอาจจะหางานอดิเรกที่ไม่จำเป็นต้องทำผ่านSocial Network เช่น ทำงานศิลปะ ปลูกต้นไม้ ทำขนม เป็นต้น

ที่มา : เพจ FB สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย , springnews สสส.

บทความแนะนำ