เมื่อพูดถึงการใช้ชีวิตร่วมกับโต๊ะทำงาน เป็นระยะเวลายาวนาน สามารถส่งผลกระทบในด้านลบต่อสุขภาพร่างกายได้อย่างที่ทุกคนคาดไม่ถึงกันเลยทีเดียว โดยเฉพาะ คนทำงานที่โต๊ะ หรือพนักงานออฟฟิศ ที่ต้องนั่ง ๆ นอน ๆ เป็นเวลานาน แม้ว่าเรื่องพวกนี้จะหลีกเลี่ยงได้ยาก แต่ก็มีหลากหลายวิธี ที่จะช่วยลดผลกระทบที่เกิดจากการนั่ง วันนี้เรารวบรวมข้อมูลจากการ ระวัง ! นั่งทำงานเป็นเวลานาน เสี่ยงโรครุมเร้า ทำร้ายสมอง อ้วนลงพุง มาดูกันเลยว่ามีอะไรที่สามารถนำมาดัดแปลงใช้ในชีวิตประจำวันกันได้บ้าง ไปดูกันเลยค่ะ
นั่งทำงานเป็นเวลานาน เสี่ยงโรครุมเร้า
อาการปวดคอ
การมองหน้าจอคอมพิวเตอร์สามารถเพิ่มความตึงเครียดให้กระดูกสันหลัง การยกศีรษะทำมุม 30 องศา จำเป็นต้องใช้กล้ามเนื้อมากกว่าตอนยกศีรษะให้ตั้งตรง 3 – 4 เท่า
ทำให้ไม่มีสมาธิ
การนั่งเป็นเวลานานจะไปขัดขวางการไหลเวียนของเลือด และทำให้ สมองได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ ส่งผลให้สมองตื้อ และไม่สามารถจดจ่อกับสิ่งต่าง ๆ ได้
—
เกิดภาวะซึมเศร้า
มีงานวิจัยที่ถูกเผยแพร่ใน American Journal of Preventative Medicine ระบุว่า ผู้หญิงวัยกลางคนที่ นั่งมากกว่า 7 ชั่วโมงต่อวัน มีแนวโน้มที่จะตกอยู่ในภาวะซึมเศร้า มากกว่าคนที่นั่ง 4 ชั่วโมง หรือน้อยกว่านี้ต่อวัน เพราะ ต้องนั่งจมอยู่ที่โต๊ะทำงานไม่ได้ออกไปใช้ชีวิตข้างนอกมากพอ และไม่ได้รับแสงอาทิตย์ที่เพียงพอ ทำให้ร่างกายขาดวิตามินดี ที่จะนำไปสู่อาการซึมเศร้าได้ในที่สุด
อินซูลินมีปัญหา
เพียงแค่คุณใช้ชีวิตแบบนั่ง ๆ นอน ๆ เพียงวันเดียว มันก็สามารถทำให้อินซูลินลดลง เมื่อร่างกายไม่ได้ใช้อินซูลินอย่างเหมาะสม คุณมีความเสี่ยงที่จะเป็น โรคเบาหวานประเภท 2 มากยิ่งขึ้น
เกิดอาการปวดหลังช่วงล่าง
สามารถทำให้เกิดอาการปวดเพียงเล็กน้อยในช่วงเริ่มแรก แต่สุดท้ายแล้วอาการก็อาจแย่จนถึงขั้นที่ทำให้คุณปวดหลัง การจัดท่าทางนั่งที่ไม่ดี สามารถทำให้เกิดปัญหากับกระดูกสันหลังได้ และเกิดอาการบาดเจ็บบริเวณหลัง และกระดูกสันหลัง เพราะมีแรงกดทับที่หลังส่วนล่างทำให้กล้ามเนื้อและข้อต่อโดยรอบตึงตัว
—
ปวดขา
เมื่อเราไม่ได้เหยียดขา หรือเคลื่อนไหว มันก็จะทำให้คุณเริ่ม ปวดกล้ามเนื้อ และถ้าหากละเลยปัญหานี้ อาการปวดก็จะยิ่งแย่ลงเรื่อย ๆ
ไขมันสะสมมากขึ้น
การมีไลฟ์สไตล์ที่ไม่ค่อยได้เคลื่อนไหวร่างกาย มีความเชื่อมโยงกับการลดลงของกิจกรรมการเผาผลาญไขมัน
กระดูกอ่อนแอ
การนั่งอยู่กับที่สามารถทำให้กระดูกเสื่อมสภาพและทำให้ แร่ธาตุในกระดูกลดลง
โรคในกลุ่มอาการเมตาบอลิก
ได้แก่ กลุ่มความผิดปกติที่เป็นปัจจัยเสี่ยง ต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ลักษณะสำคัญ ได้แก่ อ้วนลงพุง ค่าไขมันในเลือดผิดปกติ (ไตรกลีเซอไรด์สูง, HDL ต่ำ) น้ำตาลในเลือดสูง และความดันโลหิตสูง
โรคในกลุ่มรูมาตอยด์
เช่น โรคข้อเสื่อม จากการที่ข้อต่อต่าง ๆ ถูกใช้งานเป็นเวลานาน
เกิดอาการท้องผูกเป็นโรคริดสีดวงทวาร
เนื่องจากการนั่งเป็นระยะเวลานาน เกิดการกดทับเส้นเลือดบริเวณเชิงกราน ส่งผลกระทบต่อการไหลเวียนโลหิต ทำให้เลือดอวัยวะอุ้งเชิงกรานและช่องท้องไหลเวียนช้าลง ส่งผลให้เส้นเลือดบริเวณทวารเกิดการโป่งขด เมื่อเกิดแรงดันบริเวณผนังหลอดเลือดดำก็ก่อให้เกิดโรคริดสีดวงทวารและความผิดปกติอื่น ๆ ที่บริเวณทวารหนัก
—
ง่ายต่อการเป็นมะเร็งลำไส้
การขยับตัวน้อยนั้น ส่งผลให้ลำไส้ในร่างกายมีการขยับน้อยด้วย เช่น เกิดการสะสมของเสีย หรือสารก่อมะเร็งจนเกิดการกระตุ้นเยื่อบุในลำไส้ใหญ่ ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งสำไส้
เสี่ยงต่อการเป็นโรคทางนรีเวชและภาวะการมีบุตรยาก
สำหรับผู้หญิงที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ชื้น บวกกับนั่งอยู่กับที่เป็นเวลานานทำให้เกิดเลือดบริเวณกระดูกเชิงกราน และปากมดลูกไหลเวียนไม่ดี ไม่มีการระบายอากาศของบริเวณอวัยวะเพศหญิง จึงง่ายต่อการเป็นโรคทางนรีเวช นอกจากนี้การนั่งทำงานนานเกินไปยังทำให้ เลือดไปหล่อเลี้ยงรังไข่ไม่เพียงพอ ขาดออกซิเจน ส่งผลให้เกิดภาวะการมีบุตรยาก
การนั่งเป็นเวลานานทำร้ายสมองและกระเพาะอาหาร
การนั่งอยู่กับที่เป็นเวลานาน จะทำให้กระเพาะอาหารและลำไส้อ่อนตัว ลดการหลั่งน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร หากเป็นเช่นนี้เวลานาน จะเป็นผลให้ร่างกายสูญเสียความอยากอาหาร และเกิดอาการแน่นท้อง นอกจากนี้แล้วหากนั่งเป็นระยะเวลานานเกินไปโดยไม่มีการขยับ อาจทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ ส่งผลให้อ่อนเพลียง่าย และความจำไม่ดี
เส้นเลือดขอด
มักเกิดกับหญิงมีครรภ์ เพราะการนั่งนาน ๆ ทำให้ เลือดคั่งบริเวณน่อง
เอ็นนิ้วมืออักเสบ
เกิดเนื่องจากการทำงานพิมพ์บนแป้นพิมพ์ตลอดเวลาเป็นระยะเวลานาน ๆ ทำให้นิ้วมือมีอาการเจ็บปวด ชา บริเวณข้อนิ้วไม่มีกำลังในการยึดจับสิ่งของ
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
- 7 นิสัยที่คุณควรเลี่ยง ถ้าอยากให้หลังกลับมามีสุขภาพที่ดีอีกครั้ง
- 8 วิธีดูแลสุขภาพ ป้องกันโรคร้าย เมื่อต้องทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ
- 8 ข้อดีของการฝึกสมาธิ คนรุ่นใหม่ควรอ่าน – ทำได้แล้วชีวิตจะดีขึ้น
- ท่าที่ถูกต้องในการนั่งทำงาน หรือเมื่อใช้คอมพิวเตอร์ – การดูแลสุขภาพ
- มิน่า! 7 พฤติกรรม ที่ทำเป็นนิสัย จนเกิดอาการ ‘ปวดหลัง’ แสนจะทรมาน!!