เมืองหลวงในหลายๆ ประเทศเกิดมลพิษ ทางอากาศ รวมถึงประเทศไทยด้วยเรามาดูกันว่า ในต่างประเทศเขามีวิธีจัดการมลพิษทางอากาศกันอย่างไร ? .. ปักกิ่ง,จีนและนิวเดลี อินเดีย เป็นเมืองที่มีการเติบโตของเศรษฐกิจสูง และมีผู้คนอาศัยเป็นจำนวนมากในช่วงปีที่ผ่านมา ประชากรในเมืองเป็นโรคทางเดินหายใจ เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก เนื่องจากมลพิษทางอากาศในเมือง ลามไปถึงปัญหาการลงจอกของไฟลท์บินต่างๆ และผู้ปกครองได้เตือนไปให้ลูกๆ ของพวกเขาออกไปเลยนอกบ้าน
มลพิษทางอากาศ และเมืองหลวง ..
หมอกควันที่หนาทึบนั้นเกิดขึ้นพร้อมๆ กับการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ ซึ่งส่งผลให้ยานพาหนะเพิ่มมากขึ้นและการเผาไหม้เชื้อเพลิงโดยเฉพาะถ่านหิน อากาศที่เลวร้ายที่เต็มไปด้วยมลพิษ สามารถทำให้เราตายได้ มลพิษทางอากาศทั้งในเมืองและในชนบทได้ฆ่าคนไปแล้ว 3.7 ล้านคนทั่วโลกในปี 2012 ซึ่งตามรายงานขององค์การอนามัยโลก 2 ใน 3 ของประชากรที่คาดว่าจะอาศัยอยู่ในเมืองภายใน ค.ศ. 2050 มลพิษในเมืองจะเพิ่มมากขึ้นและรุนแรงขึ้น
ปัญหาที่มากกว่าสุขภาพทางเดินหายใจ และคุณภาพชีวิต
นักวิจัยได้ศึกษาและตีพิมพ์ในรายงานของ National Academy of Sciences พบว่า ในอินเดียมีมลพิษทางอากาศน้อยลง ได้แก่ โอโซน และ คาร์บอนแบล็ก พร้อมกับสภาพทางอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปจากปี 2010
ลอสแองเจลิส เมืองตัวอย่างที่ลดมลพิษได้สำเร็จ
รัฐลอสแองเจลิส ประเทศสหรัฐอมเริกา ถูกยกให้เป็นเมืองตัวอย่างในการลดมลพิษทางอากาศ ซึ่งรัฐนี้เป็นเมืองที่มีหมอกควันมาอย่างยาวนาน ยานพาหนะในเมืองในปล่อยมลพิษทางอากาศถึง 98 เปอร์เซ็น ใน 50 ปีที่ผ่านมา คือมลพิษที่เกิดจากน้ำมัน กฏต่างๆที่บังคับให้ใช้ยานพาหนะและลดการใช้น้ำมันลง เพื่อลดมลภาวะทางอากาศ
ในปี 2014 ลอสแองเจลิส เกิดหมอกควันเนื่องจากความร้อนและภัยแล้ง ได้แนะนำว่า การต่อสู้กับมลพิษทางอากาศยังคงเป็นเรื่องที่ท้าทายเสมอ เพราะเมืองหลวงเป็นเมืองที่สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และประชากรที่เพิ่มมากขึ้น
ในเมืองหลวงที่มีประชากรอยู่อย่างหนาแน่นทั่วโลก รัฐบาลควรใส่ใจกับการลดมลพิษทางอากาศ ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญสำหรับคุณภาพประชากร
ที่มา : www.nationalgeographic.com
ประเทศอื่น ๆ มีวิธีการแก้ปัญหา มลพิษทางอากาศ อย่างไร ?
ตอนนี้ขาดตลาด ! ไม่มี หน้ากากอนามัย N95 ใช้อะไรแทนได้บ้าง ?