ไม่ใช่แต่ประเทศไทยเท่านั้นที่มีปัญหาคุณภาพอากาศเลวร้าย ยังมีประเทศอื่น ๆ อีก ที่เกิดปัญหานี้ขึ้น ลองไปดูกันค่ะว่า นอกเหนือจากการประกาศให้ประชาชนใส่หน้ากากอนามัยแบบในประเทศไทย ประเทศอื่น ๆ เขามีวิธีการจัดการกับปัญหาฝุ่นละอองมลพิษนี้อย่างไรบ้าง?
วิธีการแก้ปัญหา มลพิษทางอากาศ ประเทศอื่น ๆ
วิธีการแก้ปัญหา คุณภาพอากาศเลวร้าย ของประเทศอื่น ๆ
1. ประเทศเกาหลีใต้
- เพื่อลดมลพิษทางอากาศ รัฐบาลสั่งปิดโรงไฟฟ้าถ่านหินในเกาหลีใต้ 8 แห่งชั่วคราว
- ก่อนหน้านี้ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ก็เคยสั่งปิดโรงไฟฟ้าถ่านหินชั่วคราวเป็นเวลา 4 เดือน
- มีแผนการจะปิดโรงไฟฟ้าถ่านหินโรงเก่าถาวรภายในเดือนพฤษภาคมปี พ.ศ.2563 ถึงแม้ว่าโรงไฟฟ้าถ่านหินนี้ผลิตไฟฟ้าให้กับประเทศถึงร้อยละ 40
2. กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย
- เกิดแฮชแท็ก #smong เรียกร้องให้รัฐบาลแก้ปัญหามลพิษทางอากาศอย่างจริงจัง
- รัฐบาลอินเดียจึง “ห้ามรถยนต์” ที่มีเครื่องยนต์ขนาดใหญ่, รถ SUV ที่มีเครื่องยนต์แรงม้ามากกว่า 2000 ซีซี และเครื่องยนต์ดีเซลหลายพันคันหยุดวิ่ง โดยไปกระตุ้นการใช้รถสาธารณะ รถตู้อูเบอร์ให้มากขึ้น
- มีการทดลองการให้รถยนต์หยุดวิ่งวันคี่ หรือวันคู่
3. เมืองไฟรบวร์ค ประเทศ เยอรมนี
- มีทางปั่นจักรยาน รวมระยะทางกว่า 500 กิโลเมตร (สนับสนุนให้คนใช้จักรยานสามรถช่วยลดมลพิษจากควันรถได้)
- มีรถราง และมีระบบขนส่งสาธารณะที่มีประสิทธิภาพและราคาถูก (ทำให้ประชาชนสะดวกสบายไม่จำเป็นที่ต้องออกรถเอง)
- ในย่านชานเมืองบางแห่งห้ามประชาชนจอดรถยนต์ใกล้ ๆ บ้าน ทำให้คนที่จะจอดต้องเสียเงินเช่าพื้นที่จอดรถกว่า 18,000 ยูโร หรือ ประมาณ 660,162 บาท (เมื่อเสียเงินแพงก็อาจจะทำให้ประชาชนมีรถยนต์ในปริมาณที่ไม่ฟุ่มเฟือยจนเกินไป)
4. กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส
- ประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง สนับสนุนให้ประชาชนใช้ระบบขนส่งสาธารณะให้มากขึ้น ด้วยวิธีการต่อไปนี้
- ไม่อนุญาตให้รถยนต์ส่วนตัว วิ่งในย่านศูนย์กลางเมืองในช่วงสุดสัปดาห์
- ห้ามใช้รถยนต์ในย่านฌ็องเซลิเซ่ 1 ครั้งต่อเดือน
- สนับสนุนการใช้จักรยาน จัดทำโครงการยืมจักรยาน หรือเรียกกันว่า ธนาคารจักรยาน
- มีแนวคิดจะเก็บภาษีน้ำมันในอัตราสูง แต่แนวคิดนี้ทำให้เกิดการประท้วงอย่างรุนแรง
5. เมืองโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก
- มีแนวคิดการใช้ “จักรยาน” เทียบกับรถยนต์ โดยการขี่จักรยาน 1 ไมล์ ให้มูลค่ากับชุมชนประมาณ 0.42 ดอลล่าสหรัฐ
- ในขณะที่การขับรถยนต์ส่วนตัวเป็นระยะทาง 1 ไมล์ให้มูลค่ากับชุมชนประมาณ 0.20 ดอลล่าสหรัฐ
- เมืองส่วนใหญ่ในเดนมาร์ก ทยอยหยุดใช้รถยนต์ มาเป็นเวลากว่า 10 ปี เพื่อทำตามนโยบายมุ่งจะเป็นเมือง Carbon Neutral หรือเมืองที่มีกิจกรรมการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเท่ากับศูนย์ภายในปี พ.ศ.2568 หรืออีก 6 ปีข้างหน้า
6. ออสโล ประเทศนอร์เวย์
- มีแผนที่จะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงครึ่งหนึ่งภายในปี พ.ศ.2563
- โดยวางโซน “ปลอดรถคันใหญ่” และเริ่มทำทางจักรยานใหม่ที่มีระยะทางรวมกว่า 40 ไมล์
- นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มค่าธรรมเนียมรถติดกับผู้ใช้รถยนต์ในชั่วโมงเร่งด่วน และลดพื้นที่ลานจอดรถหลายแห่ง
7. ประเทศ เนเธอร์แลนด์
- รัฐบาลเสนอนโยบายห้ามการขายรถยนต์ดีเซล และหากร่างนโยบายนี้ผ่านการอนุมัติก็จะมีผลบังคับใช้ภายในปีพ.ศ. 2568 โดยการขายรถยนต์ที่ใช้น้ำมันถูกแทนที่ด้วยรถยนต์ไฟฟ้า หากนโยบายผ่านการอนุมัติและมีผลบังคับใช้ก็จะอนุโลมให้ประชาชนที่มีรถยนต์ดีเซลอยู่ก่อนสามารถใช้รถต่อไปได้
จะเห็นได้ว่าหลาย ๆ ประเทศ มีการจัดการปัญหาที่ต้นเหตุเพื่อลดมลพิษทางอากาศ เช่น การลดใช้รถยนต์ สนับสนุนการใช้จักรยานและก็ทำให้การใช้จักรยานนั้นน่าใช้ด้วยการทำเส้นทางเฉพาะ การทำธนาคารจักรยาน มีการจัดระบบขนส่งที่ดีและมีประสิทธิภาพ เป็นต้น
ที่มา: greenpeace, ภาพจาก: www.flaticon.com
บทความแนะนำ
- หน้ากากอนามัย มีแบบไหนบ้าง ใช้อย่างไรให้ถูกวิธี – ใส่ยังไงให้ถูกด้าน
- ฝุ่นพิษ PM2.5 คืออะไร? – ภัยเงียบ ที่ทำลายสุขภาพของคนเมือง เราสามารถป้องกันได้
- เตือนภัยชาวกรุง !! การวิ่งกลางแจ้งอาจทำให้ป่วยได้ แนะให้เลี่ยงพื้นที่ฝุ่นเยอะ
- วิธีดูแลตัวเอง จากการสูดดมฝุ่นขนาดเล็ก ฝุ่น กทม. เกินค่ามาตราฐาน
- ตอนนี้ขาดตลาด ! ไม่มี หน้ากากอนามัย N95 ใช้อะไรแทนได้บ้าง ?