นายแพทย์บรรจบ ชุณหสวัสดิกุล คณบดีวิทยาลัยการแพทย์บูรณาการ (CIM) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ชี้ว่า สถานการณ์ฝุ่นละออง PM 2.5 ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีผลกระทบและเป็นอันตรายต่อสุขภาพ หากร่างกายสูดดมฝุ่นละออง PM 2.5 เข้าไปในปริมาณมากอย่างต่อเนื่อง จะเป็นเหตุทำให้เกิดการอักเสบในช่องทางเดินหายใจ เป็นโรคหืดหอบ หลอดเลือดอักเสบเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจได้ .. น้ำบรอกโคลี่ปั่น ช่วยขับพิษ
น้ำบรอกโคลีปั่น ช่วยขับสารพิษได้
การศึกษาในมหาวิทยาลัยเซาเปาโล พบว่าการใช้ชีวิตในเมืองท่ามกลางมลภาวะอากาศเพิ่มอัตราการเกิดโรคหัวใจเฉียบพลันมากขึ้น 75% เทียบกับเมืองที่มีอากาศสะอาด ผลจาก PM2.5 ทำให้เกิดการอักเสบทั่วร่างกาย ไขมันเลือดสูงผิดปกติ เกิดการดื้อต่ออินซูลินมากขึ้น และเกิดโรคไขมันพอกตับเพิ่มขึ้น
“ดังนั้นเรามีวิธีป้องกันง่ายๆ คือ พยายามไม่รับฝุ่นละออง PM 2.5 เข้าร่างกาย โดยการใส่หน้ากากกันฝุ่น N95 อย่างถูกวิธี โดยต้องไม่ให้อากาศรอดผ่านด้านข้างของผ้าปิดปากเลย ซึ่งทำได้ยาก แต่อีกทางหนึ่งของการดูแลตนเองก็คือ ใช้อาหารเป็นยา โดยการรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ เพื่อขจัดสารพิษในร่างกาย”
งานวิจัยของมหาวิทยาลัยจอห์น ฮอปกินส์ ในจีนเมื่อปี 2014 พบว่าการกินน้ำบรอกโคลีสามารถเพิ่มอัตราการขับสารพิษออกทางปัสสาวะ เพราะบรอกโคลีมีสารซัลโฟราเฟน (Sulforaphane) ซึ่งออกฤทธิ์ช่วยให้ตับและเซลล์เยื่อบุสลายสารพิษไป จึงสามารถช่วยขับสารก่อมะเร็งเพิ่มขึ้น 61% และขับสารระคายเคืองเพิ่มขึ้น 23% สารนี้ไม่ทนความร้อน การกินสุกจึงไม่มีประสิทธิภาพ
วิธีการทำ น้ำบรอกโคลีปั่น
โดยสารซัลโฟราเฟนจะอยู่ในบล็อกโคลี่สดเท่านั้น ดังนั้นวิธีการทำน้ำบรอกโคลี โดยให้สารซัลโฟราเฟนยังคงอยู่ คือ
1. นำบรอกโคลีสดล้างน้ำให้สะอาด จากนั้นนำไปแช่ช่องฟรีซเพื่อรักษาคุณค่าสารอาหาร
2. และนำมาปั่นแยกกาก
3. อาจนำผลไม้ชนิดอื่นมาผสมรวมเช่น แอปเปิ้ล ฝรั่ง ฯลฯ อาจบีบมะนาวลงไปเพื่อปรุงรส
ทำดื่มเป็นประจำวันละ 1 ถ้วยตวง จะช่วยในการขับสารพิษออกจากร่างกายได้
นอกจากนี้ ยังมีอาหารอื่นที่ช่วยขับสารพิษนี้ได้ แก่อาหารที่อุดมสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น มะขามป้อม แครอท ฟักทอง ปวยเล้ง อาจกินกรดไขมันจำเป็นเช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันงาม้อน อะโวคาโด เพื่อปรับสมดุลของไขมันในเลือด เป็นต้น ลดการกินอาหารปิ้ง ย่าง ทอด สารใส่สี ใส่กลิ่น ผงชูรสซึ่งเร่งปฏิกิริยาอักเสบในร่างกาย
นพ.บรรจบ ชุณหสวัสดิกุล
บทความแนะนำ
- เราเป็นไบโพลาร์หรือเปล่า ? วิธีรับมือ กับอารมณ์แปรปรวนสุดขั้ว Bipolar Disorder
- เช็กด่วน! 6 สัญญาณที่บอกว่า คุณเป็น โรคย้ำคิดย้ำทำ (OCD)
- 7 อาหาร ต้านความเศร้า ช่วยเพิ่ม เซโรโทนิน ในร่างกาย
- อาการที่คิดว่ามือถือสั่นตลอดเวลา เป็นโรคแบบหนึ่ง พฤติกรรมอีกด้านของมนุษย์
- 10 นิสัยการกินที่ควรแก้ไข กินถูกหรือผิดวิธีกันอยู่มั้ย? ลองอ่าน