ติดโทรศัพท์ มือถือ

อาการที่คิดว่ามือถือสั่นตลอดเวลา เป็นโรคแบบหนึ่ง พฤติกรรมอีกด้านของมนุษย์

Home / สุขภาพทั่วไป / อาการที่คิดว่ามือถือสั่นตลอดเวลา เป็นโรคแบบหนึ่ง พฤติกรรมอีกด้านของมนุษย์

นักวิจัยชี้ในโลกแห่งยุคเทคโนโลยีนี้ผู้คนเกิดอาการ phantom vibration syndrome คือ อาการที่คิดว่า เสียงโทรศัพท์ของตัวเองดังอยู่เสมอ แต่อันที่จริงแล้วมันไม่มีอะไรเกิดขึ้นเลย ซึ่งเห็นได้ชัดว่า ผู้คนส่วนใหญ่เป็นกังวลกับสารเรียกเข้าที่ไม่ได้รับ และข้อความที่เราไม่เห็น …. อาการที่คิดว่ามือถือสั่นตลอดเวลา

นี่ใช่เสียงมือถือเราหรือป่าวนะ ?

อาการที่คิดว่ามือถือสั่นตลอดเวลา

ดร.โรเบิร์ต โรเซนเบิร์ค ได้ศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบของเทคโนโลยี ต่อพฤติกรรมของผู้ใช้ระบุว่า เกิดจากความกังวลว่าโทรศัพท์จะสั่นจนกลายเป็นนิสัย จนลามไปถึงการไหวของเสื้อผ้าเป็นการสั่นของโทรศัพท์ด้วย

ซึ่งจากผลการศึกษากว่า 90% มีความรู้สึกดังกล่าว ซึ่งถ้าย้อนไปในปี ค.ศ.1990 คนต่างก็เกิดอาการแบบนี้เช่นเดียวกัน ซึ่งเรียกว่า phantom pager syndrome ซึ่งจะเกิดขึ้นกับคนที่มีเพจเจอร์ ซึ่งก่อนจะเรียกว่า phantom vibration syndrome นั้น นักวิจัยได้ตั้งชื่อว่า ringxiety ที่หมายว่าตามตัวเลยก็คือ โรคที่มีความกังวลเกี่ยวกับเสียงโทรศัพท์

อาการที่คิดว่ามือถือสั่นตลอดเวลา

ความเคยชิน …

มีการเปรีบเทียบจากนักวิจัยว่า เทคโนโลยีนั้นก็เหมือนการที่เราใส่แว่นตา ซึ่งเราใส่ทุกวันจนกลายเป็นเรื่องเคยชิน การที่เรานำโทรศัพท์ไปใส่ไว้ในกระเป๋าก็เช่นเดียวกัน ทำให้เราเคยชินกับการได้ยินเสียงโทรศัพท์และหยิบมันขึ้นมาดูบ่อยๆ จนกลายเป็นนิสัยซึ่งนำไปสู่การเป็น อาการที่คิดว่าโทรศัพท์ของเรา จะสั่นและมีเสียงเรียกเข้าตลอดเวลา

อาการที่คิดว่ามือถือสั่นตลอดเวลา

การรอคอย…

ซึ่งการที่เราตรวจเช็คโทรศัพท์ตลอดเวลานั้น นักวิจัยได้เปรียบเทียบกับ พฤติกรรมอีกด้านหนึ่งของมนุษย์ นั่นก็คือ เวลาจะมีแขกมาที่บ้าน หรือ เวลาที่รถไฟกำลังจะมาถึงชานชาลา เราจะรอคอยสิ่งต่างๆ เหล่านี้ ซึ่งนี่ก็ถือว่าเป็น พฤติกรรมอีกด้านของมนุษย์ด้วย ส่วนใครที่คิดว่าตัวเองกำลังเข้าข่ายที่จะเป็นโรคนี้แล้วล่ะก็ ต้องรีบหางานอดิเรกทำ ไม่ให้ใจจดจ่ออยู่แต่กับมือถือแล้วล่ะ

ที่มา https://www.webmd.com

บทความแนะนำ