มีรายงานข่าวคุณภาพอากาศในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ว่ามีค่าฝุ่นละอองที่เกินค่ามาตรฐาน จากการตรวจสอบข้อมูลของกรมควบคุมมลพิษ สถานการณ์คุณภาพอากาศในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล (วันที่ 24 มกราคม 61) พบค่า PM 2.5 เกินค่ามาตรฐานในบางพื้นที่ โดยพบสูงสุดที่ ต.มหาชัย อ.เมือง จ.สมุทรสาคร กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข จึงได้มีการประกาศเตือนประชาชนกลุ่มเสี่ยงถึงวิธีการดูแลตนเองและคนใกล้ชิด
วิธีดูแลตัวเอง จากการสูดดมฝุ่นขนาดเล็ก
สองวันมานี้ตั้งแต่เมื่อวาน (24 ม.ค. 61) เพื่อนๆ ได้สังเกตกันบ้างมั้ยว่าสภาพอากาศใน กทม. เหมือนมีหมอกลง จริงๆ แล้วไ่ม่ใช่หมอก หรือสภาพอากาศครึ้มๆ โดยกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขคุณภาพได้ออกมาเตือนประชาชนว่า อากาศในพื้นที่กรุงเทพมหานคร มีค่าฝุ่นละอองที่เกินค่ามาตรฐาน นั้นจากการตรวจสอบข้อมูลของกรมควบคุมมลพิษ พบค่า PM 2.5 เกินค่ามาตรฐานสูงสุดที่ ต.มหาชัย อ.เมือง จ.สมุทรสาคร โดยเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น การจราจร อุตสาหกรรม และการเผาในที่โล่ง เป็นต้น
กลุ่มเสี่ยงที่น่าเป็นห่วง ได้แก่ 1.โรคระบบทางเดินหายใจ 2.โรคหัวใจและหลอดเลือด 3.โรคเยื่อบุตาอักเสบ และ 4.โรคผิวหนัง รวมถึงผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ เด็กเล็ก และผู้ที่มีโรคประจำตัว ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงที่อาจเกิดอาการกำเริบได้ง่ายจากการสูดดมฝุ่นขนาดเล็ก แนะวิธีดูแลตัวเอง และคนใกล้ชิดดังต่อไปนี้
วิธีดูแลตัวเอง จากการสูดดมฝุ่นขนาดเล็ก
1.ให้อยู่ภายในอาคารบ้านเรือน ถ้าไม่จำเป็นอย่าออกนอกบ้าน โดยเฉพาะประชาชนกลุ่มเสี่ยง
2.อาคารบ้านเรือน ให้ปิดประตูหน้าต่างป้องกันฝุ่นเข้า หากปิดไม่ได้ ให้ใช้ผ้าชุบน้ำทำเป็นม่านปิดแทน เพื่อเป็นตัวกั้นฝุ่นไม่ให้เข้าบ้าน
3.หากจำเป็นต้องออกนอกอาคาร ให้ใช้ผ้าชุบน้ำบิดพอหมาดๆ ปิดจมูกและปาก ถ้าอยู่ในที่ที่มีฝุ่นหนาแน่นให้ใช้หน้ากากกรองฝุ่นหรือหาผ้าเปียกมาปิดจมูก
4.หลีกเลี่ยงการออกกำลังกาย และการทำงานหนักที่ออกแรงมาก เพราะการหายใจเร็วในระหว่างการออกกำลังกายจะทำให้ร่างกายรับฝุ่นละอองเข้าไปมาก
5.ให้ดื่มน้ำมากๆ และไม่สูบบุหรี่ในช่วงที่มีปัญหาฝุ่นขนาดเล็ก
6.ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ และเด็กเล็ก จะต้องดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ โดยปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ ในการรับประทานยา การรักษาพยาบาลอย่างต่อเนื่อง และรีบปรึกษาแพทย์ทันทีเมื่อมีอาการทรุดลง และหลีกเลี่ยงไม่ให้สัมผัสกับอากาศที่มีฝุ่นละออง หรือมีการใช้หน้ากากกันฝุ่น
7.ไม่เผาขยะ โดยเฉพาะขยะที่เป็นสารพิษ เช่น พลาสติก ยางรถยนต์ รวมทั้งขยะทั่วไป
8.ลดการใช้รถยนต์ หรือใช้เท่าที่จำเป็น เพื่อไม่ให้มลพิษจากท่อไอเสียรถยนต์ก่อปัญหาซ้ำเติม หรือทำให้คุณภาพอากาศแย่ลงอีก
9. ผู้ที่มีโรคประจำตัว โดยเฉพาะผู้ป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจ หอบหืด ภูมิแพ้ ถุงลมโป่งพอง และโรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด หากพบอาการผิดปกติให้รีบนำตัวส่งสถานพยาบาลใกล้บ้านเพื่อรับการรักษาพยาบาลอย่างทันท่วงที
10. ประชาชนในกลุ่มเสี่ยงพักผ่อนอยู่ในบ้าน ที่สำคัญควรเตรียมยาและอุปกรณ์ที่จำเป็นให้พร้อม หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422
ข้อมูลจาก: www.thaihealth.or.th , ภาพ: au.be.yahoo.com
ข้อมูลสภาพอากาศ : กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง กรมควบคุมมลพิษ , Facebook : PCD.go.th
บทความแนะนำ
- เชิญชวน สวมหน้ากากอนามัยชนิด N95 ป้องกันมลพิษที่ปกคลุมกทม. ในขณะนี้
- หน้ากากอนามัย มีแบบไหนบ้าง ใช้อย่างไรให้ถูกวิธี – ใส่ยังไงให้ถูกด้าน
- ไขข้อสงสัย ฤดูฝนประเทศไทย พร้อมสาเหตุที่ฝนชอบตกในป่า (บนภูเขาสูง)
- เตือนภัยชาวกรุง !! การวิ่งกลางแจ้งอาจทำให้ป่วยได้ แนะให้เลี่ยงพื้นที่ฝุ่นเยอะ
- ฝุ่นพิษ PM2.5 คืออะไร? – ภัยเงียบ ที่ทำลายสุขภาพของคนเมือง เราสามารถป้องกันได้