นิสัย ผลวิจัย มหาวิทยาลัยต่างประเทศ โกหก

มาดูผลการทดสอบ! คนที่ชอบโกหกบ่อยๆ จะเกิดอะไรขึ้นกับสมอง?

Home / สุขภาพทั่วไป / มาดูผลการทดสอบ! คนที่ชอบโกหกบ่อยๆ จะเกิดอะไรขึ้นกับสมอง?

เคยสงสัยกันมั้ยว่า ตอนที่เรากำลัง โกหก หรือคนอื่นๆ ที่ชอบ โกหก อยู่เป็นประจำ เขาจะมีความคิด ความรู้สึกอย่างไรในช่วงเวลาที่กำลังทำผิด? ล่าสุด! University College London ประเทศอังกฤษ ได้ทำการศึกษาเรื่อง คนโกหก กันอย่างจริงจัง ว่าเวลาที่พวกเขากำลังโกหกนั้น กระบวนการทางสมองจะมีการทำงานอย่างไร?

คนที่ชอบ โกหก จะเกิดอะไรขึ้นกับสมองบ้าง?

University College London ได้ใช้วิธีการเล่นเกมมาทดสอบ คนโกหก ด้วยการนำโถมาใส่เหรียญให้เต็ม จากนั้นให้เพื่อนอีกคนพยายามบอกกับเพื่อนร่วมทีมของเขาว่าในโถมีเหรียญอยู่กี่เหรียญ โดยมีรางวัลเป็นสิ่งล่อใจ ซึ่งรางวัลก็จะแตกต่างออกไป หากร่วมมือกันก็จะได้รางวัลที่ดีกว่า แต่ในบางครั้ง ถ้าคนหนึ่งเลือกที่จะโกหกเพื่อน รางวัลก็อาจจะดีมากกว่านั้นไปอีก

ขณะที่กระบวนการ และเกมดำเนินไปเรื่อยๆ เหล่านักวิจัยก็จะใช้เครื่องสแกนสมอง fMRI เพื่อดูปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นในสมองของแต่ละคน ถ้าหากใครโกหก สมองในส่วนของ Amygdala ก็จะเรืองแสงขึ้นบนเครื่องสแกน ทั้งนี้ก็เพราะว่าสมองส่วนนี้เป็นเหมือนศูนย์ควบคุมอารมณ์ ดังนั้นเมื่อสมองเกิดความรู้สึกกดดัน หรือเครียด หรืออะไรก็ตามที่ส่งผลกระทบต่อความรู้สึก มันจะเรืองแสงขึ้นมาทันทีในเครื่องสแกน

lies-2
ภาพ:: www.pinterest.com/pin/448248969141939900/

แต่สิ่งที่น่าสนใจคือ สมองส่วนดังกล่าวไม่ได้เรืองแสงตลอดระหว่างที่เล่นเกมโกหก ทุกๆ ครั้งที่อาสาสมัครโกหกเพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง สมองส่วนนี้จะเรืองแสงน้อยลงเรื่อยๆ และจะยิ่งลดลงไปถ้าเรื่องโกหกนั้นเป็นเรื่องที่ใหญ่ขึ้น

นั่นอาจหมายถึงว่า การโกหกครั้งแรกๆ อาจทำให้คุณรู้สึกผิดอยู่บ้าง จึงส่งผลกระทบต่ออารมณ์ทำให้เกิดความตึงเครียด แต่พอได้โกหกไปเรื่อยๆ หลายๆ ครั้ง ความรู้สึกผิดก็ดูจะน้อยลงไป (แสงจึงลดน้อยลงเรื่อยๆ ) จึงทำให้คุณรู้สึกโกหกได้ง่าย และสามารถทำบ่อยๆ ขึ้นได้ไปอีก

การโกหก หลายๆ คนต้องทราบกันอยู่แล้วว่าเป็นสิ่งไม่ดี ดังนั้นแล้วอย่าทำติดจนเป็นนิสัยดีกว่านะคะน้องๆ หากมารู้ความจริงกันทีหลังอาจจะทำให้เสียความเชื่อมั่น ไว้วางใจต่อกันได้ ทางที่ดีควรพูดความจริง แต่ก็ต้องมีวิธีที่รู้จักพูดในกรณีต่างๆ ตามความเหมาะสมด้วยค่ะ

ที่มา :: www.upworthy.comwww.catdumb.comwww.sciencedaily.com