หลายๆ คนที่ได้ชมตัวอย่างภาพยนตร์เรื่อง Fanday แฟนกันแค่วันเดียว อาจจะเกิดความสงสัยว่า อาการความจำเสื่อมชั่วคราว หรือ TGA ใน 1 วัน ที่นางเอกเป็นในเรื่องนั้น เป็นเพียงอาการสมมติ หรืออาการแบบนี้มีอยู่จริงๆ วันนี้แคมปัส-สตาร์ มีข้อมูลมาให้ทุกคนได้อ่านกันค่ะ มาไขข้อสงสัยไปพร้อมๆ กันเลย
ไขข้อสงสัย อาการความจำเสื่อมชั่วคราว มีจริงมั้ย
ขอบคุณภาพจาก: GDH
นอกจากภาพยนตร์เรื่อง Fanday แฟนกันแค่วันเดียว ที่นางเอกได้รับผลกระทบจากอุบัติเหตุ แล้วส่งผลให้มีอาการความจำเสื่อมหนึ่งวันแล้ว ยังเคยมีภาพยนตร์อีกหนึ่งเรื่องคือ 50 First Dates (50 เดท จีบเธอไม่เคยจำ) ที่นางเอกมีอาการแบบเดียวกัน คือมีความทรงจำแค่เพียงวันเดียว ตื่นขึ้นมาก็จำอะไรไม่ได้อีก
ภาพของ “มิเชล ฟิลพอต” ( เครดิต :: www.mirror.co.uk)
โดยหนังเรื่อง 50 เดท จีบเธอไม่เคยจำ นี้ สร้างจากเรื่องจริงของหญิงชาวอังกฤษ “มิเชล ฟิลพอต” ในวัย 46 ปี เธอป่วยเป็นโรคความจำเสื่อม ชนิดจดจำสิ่งต่าง ๆ ได้เพียง 1 วัน สาเหตุมาจากเธอได้รับความกระทบกระเทือนทางสมอง จากการประสบอุบัติเหตุถึง 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อปี 1985 จากมอเตอร์ไซค์ชน และครั้งที่สองเมื่อปี 1990 อุบัติเหตุทางรถยนต์
อุบัติเหตุทั้งสองครั้งส่งผลให้เธอจำอะไรได้ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป จนกลายเป็นคนที่จำอะไรได้เพียงวันเดียวอย่างสมบูรณ์เมื่อปี 1994 และหลังจากนั้น ความทรงจำของเธอก็หยุดอยู่แค่ปี 1994 เท่านั้น!! เรื่องราวของเธอได้นำมาถูกสร้างเป็นภาพยนตร์ด้วยค่ะ ลองไปหาชมกันดูนะคะ
ขอบคุณภาพจาก: GDH
อาการความจำเสื่อมชั่วคราว หรืออาการลืมชั่วคราว
Transient global amnesia หรือ TGA เป็นหนึ่งในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการความจำเสื่อมชั่วคราว โดยผู้ป่วยจะมีอาการลืมเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั้งในส่วนเหตุการณ์ปัจจุบัน และเหตุการณ์ที่ผ่านมาแล้ว ซึ่งอาการจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และหายได้เองโดยไม่มีอาการผิดปกติอย่างอื่นๆ เกิดร่วมด้วย
สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการลืมชั่วคราวนั้นยังไม่ทราบแน่ชัด แต่ในสหรัฐอเมริกาพบประมาณ 5.2 รายต่อประชากร 100,000 ราย แต่จะพบบ่อยในผู้มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปโดยพบสูงเป็น 5 – 10 เท่าของประชากรกลุ่มอื่นๆ พบได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชายในอัตราส่วนใกล้เคียงกัน โดยอาจจะเกิดจากสาเหตุต่อไปนี้
– สมองขาดเลือดชั่วคราว (Transient ischemic attack)
– โรคปวดศีรษะไมเกรน (Migraine variant)
– โรคลมชัก (Temporal lobe epilepsy)
– การคั่งของเลือดดำ (Venous congestion) ในสมองเนื่องจากมีการขัดขวางการไหลเวียนของเลือดดำ (Cerebral venous outflow) ทำให้มีการขาดเลือดบริเวณสมองส่วนธาลามัส (Thalamus) หรือสมองส่วนกลีบขมับ (Mesial temporal lobe) ซึ่งสมองส่วนดังกล่าวทำหน้าที่เกี่ยวกับความจำ
มีการศึกษาที่พบว่าอาจเกิดจากสมองส่วน Hippocampus มีการขาดเลือด ตรวจพบได้จากการตรวจสมองด้วยเอมอาร์ไอ/MRI
การรักษา
– ไม่จำเป็นต้องให้การรักษาอะไรเพราะอาการต่างๆ หายเองได้ และส่วนใหญ่หายเป็นปกติไม่มีความผิดปกติเหลืออยู่ จึงมีการพยากรณ์โรคที่ดีและมักไม่เกิดเป็นซ้ำ
ขอบคุณข้อมูลจาก::haamor.com