กระเพาะ อาหาร แก๊ส

ระวัง! อาหาร 9 ประเภท ที่ทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร

Home / สุขภาพทั่วไป / ระวัง! อาหาร 9 ประเภท ที่ทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร

อาหารแต่ละประเภทมีทั้งประโยชน์และโทษ ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์แก่ร่างกายจริงๆ ต้องศึกษาหาข้อมูลที่ถูกต้องและเหมาะสม เพื่อสุขภาพที่แข็งแรงของร่างกาย

อาหาร 9 ประเภท ที่ทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร

วันนี้แคมปัส-สตาร์ มีข้อมูลของอาหาร 9 ประเภท ที่สามารถทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหารได้ ซึ่งนำไปสู่อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นท้อง ไม่สบายตัว จึงควรรู้ไว้เพื่อระมัดระวังการรับประทานอาหารเหล่านี้ให้มากขึ้น

แตงโม

แตงโม เป็นผลไม้ที่มีน้ำตาลฟรุกโตสสูง ซึ่งเป็นน้ำตาลที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ส่วนใหญ่จะถูกดูดซึมโดยระบบทางเดินอาหารโดยไม่สมบูรณ์ เป็นสาเหตุทำให้เกิดแก๊สและอาการท้องอืด

แอปเปิ้ล

แอปเปิ้ล อาจเป็นตัวกระตุ้นในผู้ที่มีการดูดซึมฟรุกโตสผิดปกติ ซึ่งเกิดจากร่างกายไม่สามารถดูดซึมได้ ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการท้องอืด ท้องเสีย และปัญหาทางเดินอาหารอื่นๆ

มะม่วง

มะม่วง เป็นผลไม้ที่มีน้ำตาลฟรุคโตสมากกว่าน้ำตาลกลูโคส ความไม่สมดุลของน้ำตาลทั้ง 2 ชนิดนี้ ทำให้ฟรุคโตสซึมเข้าสู่ร่างกายได้ยากขึ้น จึงทำให้เกิดแก๊ส ท้องอืด และปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับกระเพาะอาหารได้

หัวหอม

หัวหอมมีน้ำตาลจากธรรมชาติ (ฟรักโทส) เป็นส่วนประกอบ จากรายงานของเว็บไซต์ Healthline.com รายงานว่าเมื่อน้ำตาลฟรักโทสถูกย่อยโดยแบคทีเรียในกระเพาะอาหาร (แบบไม่สมบูรณ์) จะทำให้เกิดแก๊สขึ้น นอกจากนี้หัวหอมยังเป็นอาหารในกลุ่ม FODMAP (อาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรตที่ร่างกายดูดซึมได้ไม่ดีหรือไม่ดูดซึม) อีกด้วย

แบล็คเบอร์รี่

แบล็คเบอร์รี่ เป็นผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ แต่ก็เต็มไปด้วยโพลีออลล์ (Polyols) สารประเภทหนึ่งที่ให้ความหวานแทนน้ำตาล มีฤทธิ์เป็นยาระบาย เกิดแก๊ส ทำให้ท้องอืด เมื่อรับประทานในปริมาณมาก อาจจะทำให้ท้องเสียได้

ต้นหอม

ตรงส่วนที่มีสีขาวของต้นหอม เป็นผักที่มีฟรุกแทน (พอลิเมอร์ของน้ำตาลฟรุคโตส) ซึ่งจะทำให้เกิดแก๊ส เนื่องจากมนุษย์ไม่มีเอนไซม์ในการย่อยฟรุกแทนได้อย่างสมบูรณ์ ทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารได้ในอนาคต

กระเทียม

กระเทียมเป็นหนึ่งในอาหารอยู่ในกลุ่ม FODMAP (อาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรตที่ร่างกายดูดซึมได้ไม่ดีหรือไม่ดูดซึม) เมื่ออาหารถูกดูดซึมได้น้อยและผ่านเข้าใบสู่ลำไส้ใหญ่ ก็จะกลายเป็นอาหารของแบคทีเรีย ซึ่งจะทำให้เกิดแก๊ส และนำไปสู่อาการท้องอืดท้องเฟ้อในที่สุด

ถั่วลันเตา

ถั่วลันเตา มี Galacto-oligosaccharides (GOS) มาก ซึ่งเป็นสายของน้ำตาลที่มีความยาว ยากต่อการย่อย จึงเป็นสาเหตุของอาการท้องอืด นอกจากนี้ถั่วลันเตายังมีฟรุกแทน (Fructans) และโพลีออลล์ (Polyols) ซึ่งร่างกายสามารถดูดซึมได้เพียงบางส่วน นำไปสู่ปัญหาของกระเพาะอาหารต่างๆ มากมาย

ลูกพลัม

ลูกพลัม เป็นผลไม้ที่มีโพลีออลล์ (Polyols) หรือ น้ำตาลแอลกอฮอลล์ เป็นคาร์โบไฮเดรตชนิดหนึ่งที่ถูกดูดซึมได้ช้ากว่าน้ำตาลปกติ มีฤทธิ์เป็นยาระบาย ทำให้เกิดแก๊ส นำไปสู่อาการท้องอืดได้

ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก rd.com

บทความแนะนำ