อาหารเป็นพิษ โรคอาหารเป็นพิษ

วิธีป้องกันโรคอาหารเป็นพิษ โรคยอดฮิตที่มักจะเป็นเวลาเดินทาง

Home / สุขภาพทั่วไป / วิธีป้องกันโรคอาหารเป็นพิษ โรคยอดฮิตที่มักจะเป็นเวลาเดินทาง

ช่วงนี้ใกล้จะถึงวันหยุดยาวเดือนธันวาคมแล้ว หลายคนคงจะคงจะวางแผนไปเที่ยวกันแล้ว แต่ถ้าไปเที่ยวแล้วเกิดไม่สบายขึ้นมาก็แย่เลย การไปเที่ยวก็คงหมดสนุกไปด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการป่วยเพราะอาหาร ก็จะยิ่งทำให้นอยด์มากขึ้น เพราะนอกจากจะไม่ได้เที่ยวแล้วก็ยังอดกินของอร่อยอีก

วิธีป้องกันโรคอาหารเป็นพิษ

เวลาที่เราเดินทางอาหารการกินที่เราได้รับ เราอาจจะไม่ได้ทันระวัง หรือไม่รู้ว่าอาหารเหล่านั้นสะอาดหรือไม่ ทำให้มีโอกาสที่จะก่อให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษได้ ดังนั้นในวันนี้เราเลยจะมาแชร์ความรู้เกี่ยวกับวิธีป้องกันโรคอาหารเป็นพิษ เวลาที่เราเดินทางไปเที่ยวจะได้เที่ยวอย่างสนุก ไม่มีสะดุด

อาหารเป็นพิษ

รู้จักกับโรคอาหารเป็นพิษ

 อาหารเป็นพิษ เป็นโรคที่เกิดจากการกินอาหาร หรือดื่มน้ำที่มีการปนเปื้อนของแบคทีเรีย ไวรัส ฯลฯ นอกจากนี้อาหารที่ปรุงสุกไม่พอ อาหารค้างคืนที่ไม่ได้เอาไปแช่เย็นเอาไว้ ก็มีผลทำให้เราเป็นโรคอาหารเป็นพิษได้ ซึ่งลักษณะอาการของผู้ที่ป่วยเป็นโรคอาหารเป็นพิษได้แก่  อาเจียน มีไข้ ปวดท้อง ถ่ายอุจจาระเป็นน้ำ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว เป็นต้น

แต่ถ้าหากมีอาการถ่ายบ่อย หรือถ่ายอุจจาระเป็นน้ำ หรือถ่ายบ่อย อาจทำให้ร่างกายขาดน้ำและเกลือแร่ หรือรุนแรงถึงขั้นติดเชื้อในกระแสโลหิตได้

เมนูที่ควรระวังเป็นพิเศษ

  • ลาบ/ก้อยดิบ
  • ยำกุ้งเต้น
  • ยำหอยแครง/ยำทะเล
  • ข้าวผัดโรยเนื้อปู
  • อาหาร หรือขนมที่มีส่วนประกอบของกะทิสด
  • ขนมจีน
  • ข้าวมันไก่
  • ส้มตำ
  • สลัดผัก
  • น้ำแข็งที่ผลิตไม่ได้มาตรฐาน

วิธีป้องกันโรคอาหารเป็นพิษ

1. เลือกอาหารที่ผ่านการเตรียมเป็นอย่างดี

2. กินอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ

3. ระมัดระวังการปนเปื้อนที่ติดมาในจานอาหาร

4. อาหารที่กินไม่หมด แล้วจะเก็บไว้กินวันถัดไปให้นำไปแช่เย็น เมื่อจะกินก็เอามาอุ่นอีกครั้งก่อนกิน

5. แยกอาหารดิบ ออกจากอาหารสุก

6. ล้างมื้อให้สะอาดก่อนกิน หรือปรุงอาหาร

7. เก็บอาหารให้ปลอดภัยจากหนู แมลง และสัตว์อื่นๆ

8. ปรุงอาหารด้วยน้ำสะอาด

เกลือแร่

แล้วถ้าเกิดอาการอาหารเป็นพิษขึ้นมา จะทำยังไง?

วิธีการรักษาโรคอาหารเป็นพิษให้รักษาไปตามอาการที่เกิดขึ้น ถ้าผู้ป่วยยังพอกินข้าวได้ก็ให้ดื่มน้ำเปล่า และจิบเกลือแร่เพื่อป้องกันปัญหาร่างกายขาดน้ำ และพยายามกินเป็นอาหารที่ย่อยง่ายๆ แต่ถ้ามีอาการอาเจียน ถ่ายเป็นมูกเลือดหรือถ่ายเป็นน้ำและมีไข้ ควรรีบนำส่งโรงพยาบาล

ซึ่งเกลือแร่ที่เรากินเวลาที่ท้องเสียนั้นจะต้องเป็น เกลือแร่(ORS) เพราะโดยทั่วไปแล้วเกลือแร่มีอยู่ 2 ประเภทคือ เกลือแร่สำหรับคนที่ท้องเสีย (Oral Rehydration Salt : ORS) และเกลือแร่สำหรับผู้ที่เสียเหงื่อจากการออกกำลังกาย (Oral Rehydration Therapy : ORT) ซึ่งเกลือแร่ทั้งสองชนิดนี้จะให้ผลลัพธ์ที่ต่างกัน ดังนั้นเลือกซื้อเกลือแร่พกติดไปให้ถูกชนิดด้วยนะ

ที่มา : สสส.  ภาพ : medthai

บทความแนะนำ