ท้องเสีย หน้าร้อน โรคอาหารเป็นพิษ

10 เมนูเสี่ยง โรคอาหารเป็นพิษ ในช่วงหน้าร้อน ต้องระวังเป็นพิเศษ !

Home / สุขภาพทั่วไป / 10 เมนูเสี่ยง โรคอาหารเป็นพิษ ในช่วงหน้าร้อน ต้องระวังเป็นพิเศษ !

กรมควบคุมโรค เตือนประชาชนให้ระวังเรื่องอาหารการกินในช่วงหน้าร้อนนี้เป็นพิเศษ เพราะสภาพอากาศที่ร้อนจะส่งผลให้อาหารบูดเสียได้ง่าย หากเผลอกินเข้าไปจะทำให้ส่งผลเสียต่อสุขภาพทำให้เสี่ยงเป็นโรคอาหารเป็นพิษได้ แนะประชาชนให้ “กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ” และควรหลีกเลี่ยง 10 เมนูอาหารดังต่อไปนี้

10 เมนูเสี่ยง โรคอาหารเป็นพิษ ในช่วงหน้าร้อน

1.ลาบ/ก้อยดิบ
2.ยำกุ้งเต้น
3.ยำหอยแครง/ยำทะเล
4.ข้าวผัดโรยเนื้อปู
5.อาหารหรือขนมที่มีส่วนประกอบของกะทิสด
6.ขนมจีน
7.ข้าวมันไก่
8.ส้มตำ
9.สลัดผัก
10.น้ำแข็งที่ผลิตไม่ได้มาตรฐาน

พบประชาชนเป็นโรคอาหารเป็นพิษกว่า 20, 000 ราย

ข้อมูลจากสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค เกี่ยวกับการ พบประชาชนเป็นโรคอาหารเป็นพิษตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม – 26 กุมภาพันธ์ 2561 พบผู้ป่วยแล้ว 22,950 ราย ไม่พบผู้เสียชีวิต กลุ่มอายุที่พบมากที่สุด คือ 15 – 24 ปี รองลงมา อายุ 25 – 34 ปี และ 45 – 54 ปี ส่วนจังหวัดที่มีอัตราป่วยสูงสุด 5 อันดับแรก คือ ลำพูน อำนาจเจริญ ตราด อุบลราชธานี และร้อยเอ็ด ตามลำดับ

สาเหตุ โรคอาหารเป็นพิษ

– เกิดจากการกินอาหารหรือดื่มน้ำ น้ำแข็ง ที่อาจปนเปื้อนเชื้อโรค (แบคทีเรีย ไวรัส และพยาธิ) สารพิษ หรือสารเคมี ซึ่งมักพบในอาหารที่ปรุงสุกๆ ดิบๆ อาหารไม่สะอาด ฟรืออาหารที่ปรุงไว้นานแล้ว ไม่ได้แช่เย็น ไม่นำมาอุ่นก่อน

– เกิดจากน้ำแข็ง อาจมีการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรียและไวรัส จากภาชนะเก็บที่ไม่ได้มาตรฐาน สกปรก หรือวิธีการผลิตที่ไม่ได้คุณภาพ

ข้อควรปฏิบัติให้ห่างไกลจากโรค

  • ก่อนกิน  หากอาการ มีกลิ่น รส หรือรูปเปลี่ยนไป ไม่ควรรับประทาน
  • อาหารที่มีกลิ่น รส ไม่เปลี่ยน ควรอุ่นอาหารให้ร้อนก่อนรับประทาน ยึดหลัก “กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ”
  • รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ด้วยความร้อนและสะอาด
  • ใช้ช้อนกลางเมื่อรับประทานอาหารร่วมกัน
  • ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ ทั้งก่อนและหลังปรุงประกอบอาหาร และหลังขับถ่าย

อาการของผู้ป่วยโรคอาหารเป็นพิษ

วิธีสังเกต หากมีผู้ป่วย มีอาการโรคอาหารเป็นพิษ จะมีอาการดังต่อไปนี้

  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • ปวดท้อง ถ่ายอุจจาระ
  • ปวดหัว คอแห้ง กระหายน้ำ อาจมีไข้ ร่วดฃมด้วย เป็นต้น

การช่วยเหลือเบื้องต้น

  • ควรให้ผู้ป่วยจิบสารละลายเกลือแร่ (โออาร์เอส) ผสมน้ำสะอาดบ่อยๆ เพื่อป้องกันการขาดน้ำ และถ่ายเหลวมากกว่าปกติ
  • หากอาการไม่ดีขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422

ที่มา : สำนักโรคติดต่อทั่วไป /สำนักสื่อสารความเสี่ยงฯ กรมควบคุมโรค, สสส

บทความแนะนำ