เมาค้าง แก้แฮงค์ แอลกอฮอล์

วิธีแก้แฮงค์ ที่ถูกต้อง – คำแนะนำจากคุณหมอ

Home / สุขภาพทั่วไป / วิธีแก้แฮงค์ ที่ถูกต้อง – คำแนะนำจากคุณหมอ

เข้าสู่ช่วงปลายปี เทศกาลแห่งการเฉลิมฉลอง สำหรับสายปาร์ตี้ทั้งหลายที่เตรียมดริงท์เพื่อฉลอง ในบทความนี้เรามี คำแนะนำ วิธีแก้แฮงค์ หรืออาการเมาค้าง ที่ถูกต้องจาก นพ. ไพศิษฐ์ ตระกูลก้องสมุท มาให้อ่าน (ทางที่ดีก็อย่าดื่มจนหนักเกินไป และถ้าหากเมาจริง ๆ ไม่ควรขับรถเด็ดขาด เพราะจะก่อให้เกิดอันตรายได้นะ)

วิธีแก้แฮงค์ ที่ถูกต้อง – คำแนะนำจากคุณหมอ

อาการ เมาค้าง เกิดขึ้นได้อย่างไร ?

เมื่อแอลกอฮอล์เข้าสู่ร่างกายแล้ว จะเปลี่ยนไปอยู่ในรูปของ อะซิตัล แอลดีไฮด์ (Acetal aldehyde) โดยเอนไซม์ alcohol dehydrogenase แต่ อะซิตัล แอลดีไฮด์ มีพิษต่อเซลล์ร่างกาย ร่างกายจึงมีเอนไซม์ Acetal dehydrogenase มาเปลี่ยนให้เป็นสารอะซีเตต ( Acetate) ที่ไม่มีพิษและร่างกายสามารถนำไปใช้เป็นพลังงานได้ แต่ในร่างกายคนเราบางคนผลิตเอนไซม์ Acetal dehydrogenase ได้ในปริมาณที่จำกัด จึงเกิดการสะสมของ Acetal aldehyde ซึ่งเป็นพิษต่อเซลล์ ทำให้ระบบประสาทและสมอง ระบบการย่อยและระบบการดูดซึมอาหาร การนอนหลับ ผิดปกติได้

วิธีแก้แฮงค์ ที่ถูกต้อง

พูดให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ เมื่อดื่มเข้าไปฤทธิ์แอลกอฮอล์ทำให้ร่างกายเกิดภาวะขาดน้ำ ระดับฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง และเกิดอาการอักเสบในร่างกาย บางคนสามารถเกิดอาการเมาค้างได้แม้ดื่มไม่มาก ส่วนบางคนอาจต้องดื่มในปริมาณมากถึงจะเกิดอาการเมา โดยปริมาณแอลกอฮอล์ที่ได้รับเข้าไปนั้นส่งผลต่อการทำงานของร่างกาย และทำให้เกิดอาการเมาค้างต่าง ๆ ซึ่งเกิดได้หลายอาการเช่น

วิธีแก้แฮงค์

จากงานวิจัยมากมาย ระบุว่า ไม่มียาลดการเมาใดๆ หรือยาสูตรสำเร็จแก้อาการเมาค้างได้ผล 100%  แต่มีวิธีที่มักนิยมใช้แก้อาการ เมาค้าง เช่น

– ดื่มน้ำเปล่าครั้งละ 1-2 แก้ว บ่อยๆ เพื่อให้ร่างกายปวดปัสสาวะ และน้ำจะพาสารตกค้างจากแอลกอฮอล์ออกมากับปัสสาวะ บางคนอาจดื่มชาร่วมด้วย เพราะชามีฤทธิ์ขับปัสสาวะอ่อนๆ
– รับประทานอาหารอ่อนๆ เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก อาจพอช่วยลดอาการเมาค้างได้บ้าง
– ดื่มน้ำผักและผลไม้ปั่น รสออกเปรี้ยวหวาน อาจช่วยได้ เนื่องจากเราจะสูญเสียวิตามินแร่ธาตุจากการดื่มแอลกอฮอล์ จนทำให้มีอาการอ่อนเพลียได้ หรืออาจใช้วิตามินชนิดเม็ดฟู่ละลายน้ำดื่มก็สามารถทำได้ไม่มีข้อห้าม
– ดื่มน้ำขิง ชามินต์ สำหรับผู้ที่มีอาการคลื่นไส้อาเจียน อาจช่วยลดอาการเหล่านี้ได้
– วิตามินอาหารเสริม ที่อาจช่วยบรรเทาอาการได้ เช่น วิตามินบีรวม วิตามินซี แมกนีเซียม และกรดอะมิโนแอล-ซีสเทอีน (L-Cysteine)
– ทานยาแก้ปวดกลุ่มที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ได้ เช่น แอสไพริน ไอบูโพรเฟ่น หรือยาตัวอื่นๆ ในกลุ่มเดียวกัน หากมีอาการปวดหัว ตัวร้อน ร่วมด้วย ทั้งนี้ควรปรึกษาเภสัชกร หรือแพทย์ก่อนซื้อยา เพื่อซักถามประวัติการแพ้ยาอย่างละเอียดก่อนที่จะทาน
– ดื่มกาแฟ อาจไม่ได้ช่วยทำให้อาการแฮงค์ดีขึ้น แต่อาจทำให้ตื่นตัว แต่ถ้าร่างกายยังพักผ่อนไม่เพียงพอ หรือนอนน้อย เมื่อหมดฤทธิ์กาแฟ จะทำเพลียหนักมากกว่าเดิมถ้ายังฝืนทำงานต่อ

ทางที่ดีที่สุดควรดื่มแบบพอดี ไม่มากเกินไป จนส่งผลให้เมาไม่ได้สติ เพื่อสุขภาพและลดการเกิดอุบัติเหตุด้วย

ขอบคุณข้อมูลจาก : samitivejhospitals, pobpad

ภาพจาก : unsplash.com/s/photos/drink-party

บทความแนะนำ