กรมสุขภาพจิต การดูแลจิตใจ สภาวะโศกเศร้า

กรมสุขภาพจิต แนะ 4 แนวทาง การดูแลจิตใจในสภาวะโศกเศร้า

Home / สุขภาพทั่วไป / กรมสุขภาพจิต แนะ 4 แนวทาง การดูแลจิตใจในสภาวะโศกเศร้า

หลังจากมีประกาศการเสด็จสวรรคตของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ประชาชนทั่วประเทศต่างโศกเศร้าเสียใจกันเป็นอย่างมากที่ต้องสูญเสียพระมหากษัตริย์อันเป็นที่รักยิ่ง ทั้งนี้หลายๆ คนอาจเกิดความตึงเครียด และส่งผลต่อสภาวะจิตใจได้ กรมสุขภาพจิตได้แนะ 4 แนวทางการดูแลสภาวะจิตใจในช่วงนี้ว่าควรทำอย่างไรบ้าง?

4 แนวทาง การดูแลจิตใจในสภาวะโศกเศร้า

1. ควรส่งเสริมให้แสดงออกอารมณ์เศร้าให้เหมาะสม

ให้กำลังใจซึ่งกันและกัน ไม่ควรปิดกั้นการแสดงออก อยากร้องไห้ให้ร้องและพยายามพูดคุยทางด้านบวก สร้างแรงจูงใจ เช่น การจูงใจให้คนช่วยกันทำดีถวายในหลวง การเจริญรอยตามพระบาทที่พระองค์ทำเพื่อประชาชน

2. มีสติ และ สังเกตอาการเสี่ยง ของตนเอง และ คนรอบข้าง

เช่น หูแว่ว ความคิดอยากฆ่าตัวตาย ต้องรีบมาพบจิตแพทย์

sad2

3. คัดกรองดูแลกลุ่มเสี่ยง

เช่น ผู้ป่วยเรื่อรัง ผู้พิการ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยจิตเวช เน้นว่า “ต้องถามว่า ช่วงนี้มีความคิดอยากฆ่าตัวตายไหม ” เพราะมีงานวิจัยแล้วว่า การถามช่วยลดความเสี่ยงได้มากกว่าการไม่ถาม

4. พยายามลดบทบาทของ “ตัวชี้นำทางลบ” (inducer) หรือตัวกระตุ้น

เช่น พวกที่กรีดร้องโวยวายเสียงดังเกิน ให้จับแยกไปร้องในที่ๆ เหมาะสม , พวกที่เกิดอาการผีเข้า หรือ อาการชักเกร็งอื่นๆ …ให้รีบพาแยกออกไปจากกลุ่มชนแล้วพามาพบจิตแพทย์ เพื่อป้องกันการเกิดอุปทานหมู่

ที่มา:: siclinpsy