โนโมโฟเบีย (Nomophobia)

โนโมโฟเบีย (Nomophobia) โรคของคนยุคใหม่ที่อยู่กับ social media ทั้งวัน

Home / สุขภาพทั่วไป / โนโมโฟเบีย (Nomophobia) โรคของคนยุคใหม่ที่อยู่กับ social media ทั้งวัน

เสียงแจ้งเตือนข้อความในแอปพลิเคชั่นไลน์ยังคงดังอย่างต่อเนื่องในยามค่ำคืนขณะที่ใครหลายคนกำลังจะล้มตัวลงนอน ก็ยังมีแสงสว่างรอดออกมาจากหน้าจอเล็กๆ พร้อมกับเสียงกดแป้นพิมพ์ต็อกแต็กดังขึ้นในห้องนอนที่ปิดไฟมือสนิท จากนั้นไม่นาน ‘เธอ ’ก็หลับไปพร้อมกับวางโทรศัพท์เอาไว้ข้างตัว เมื่อถึงยามเช้าอันสดใสสิ่งแรกที่เธอทำคือ การหยิบโทรศัพท์ขึ้นมาเช็คข้อความ อัพเดตข้อมูลข่าวสาร วันทั้งวันเธอหยิบโทรศัพท์ขึ้นมาดูนับครั้งไม่ถ้วน แล้วถ้าหากวันไหนที่เธอออกจากบ้านแล้วบังเอิญลืมหยิบโทรศัพท์ออกไปด้วย เธอก็จะมีความรู้สึกกังวลใจไปต่างๆ นานา

โนโมโฟเบีย (Nomophobia) โรคของคนยุคใหม่ที่อยู่กับ social media ทั้งวัน

เธอคนที่ถูกกล่าวถึงคือใครกันหรือ? เธอคนนั้นก็คือ คนส่วนหนึ่งในสังคมยุคดิจิตอล4G ยังไงล่ะ อาจเพราะพฤติกรรมเหล่านี้เป็นสิ่งที่พวกเราทำกันจนชิน จนไม่รู้สึกถึงสัญญาณเตือนของโรค “ โนโมโฟเบีย (Nomophobia) ” หรืออาการหวาดกลัว วิตกกังวลเมื่อขาดโทรศัพท์มือถือเพื่อติดต่อสื่อสาร

โรคนี้มีที่มาจากงานวิจัยของบริษัท YouGov ในปี 2010 ซึ่ง youGov เป็นบริษัทที่จัดทำการสำรวจความคิดเห็นทางอินเทอร์เน็ตในเรื่องต่างๆ โดยงานวิจัยนี้ได้ศึกษาผู้ที่ใช้โทรศัพท์มือถือจำนวน 2,163 คนในสหราชอาณาจักร และพบว่า 53% ของผู้ใช้โทรศัพท์มือถือในสหราชอาณาจักรจะเกิดอาการวิตกกังวลเมื่อพบว่าโทรศัพท์หาย แบตเตอรี่หมด หรืออยู่ในสถานที่ที่ไม่มีสัญญาณ

โรคโนโมโฟเบียน่ากลัวยังไง?

โรคโนโมโฟเบียเป็นจุดเริ่มต้นที่จะก่อให้เกิดผลเสียต่อร่างกายตามมาอย่างคาดไม่ถึง ไม่ว่าจะเป็นอาการนิ้วล็อกจากการใช้นิ้วมือกดสไลด์ หน้าจอติดต่อกันนานเกินไป หรือการสัมผัสแสงสีฟ้าจากหน้าจอโทรศัพท์ไปนานๆ อาจส่งผลให้วุ้นในตาเสื่อม จอประสาทตาเสื่อมหรือตาบอดได้ นอกจากนี้อาจทำให้หมอนรองกระดูกเสื่อมสภาพก่อนวัยอันควร เนื่องจากท่าทางการใช้โทรศัพท์ที่ไม่ถูกสุขลักษณะ โดยเฉพาะการก้มหน้า อาจทำให้กล้ามเนื้อไม่สามารถพยุงกระดูกได้ดี

ถ้าเป็นโนโมโฟเบียแล้วจะทำยังไงดี?

ไม่ยากเลยแค่ลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคุณเล็กน้อย เช่น ทดลองคุยกับเพื่อนในชีวิตจริงของคุณให้มากขึ้น เพื่อลดการแชทในโลกออนไลน์ ลองกำหนดเวลาเล่นโทรศัพท์ของตัวเอง เพื่อที่จะได้มีเวลาไปทำอย่างอื่นในชีวิตมากขึ้น นอกจากนั้นก็ลองเอาโทรศัพท์วางไว้ให้ไกลจากเตียงนอนเพื่อที่เราจะได้ไม่นอนหลับไปพร้อมโทรศัพท์ และตอนตื่นนอนจะไม่คว้าโทรศัพท์ขึ้นมาเช็คเป็นสิ่งแรก แค่นั้นอาการโนโมโฟเบียของคุณก็ค่อยๆ จะหายไป

ที่มา : www.psychologytoday.com , www.bangkokhealth.com

บทความแนะนำ